คณะกู้บ้านกู้เมือง (กบฏบวรเดช) ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ๖ ข้อต่อรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หนึ่งในนั้นคือ ต้องการให้รัฐบาล “ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปวสาน” สาเหตุที่ต้องเรียกร้องเช่นนั้นมีหลายสาเหตุ (ดู ตอนที่ ๑-๔) แต่รวมความได้ว่า คณะกู้บ้านกู้เมืองไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นเป้าหมายสำหรับรูปแบบการปกครองของประเทศอย่างแท้จริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่พันเอก พระยาพหลฯได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา แล้วจัดตั้งรัฐบาลของตนขึ้นและเชิญหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกลับมาประเทศไทย
ก่อนหน้าที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะลี้ภัย เขาได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจที่ได้กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งทั้งในคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร เพราะเค้าโครงเศรษฐกิจของเขามีลักษณะที่คล้ายคลึงกับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยผู้เขียนได้ยกข้อความในเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมาเผยแพร่ไปบ้างแล้ว (ดูตอนที่ ๔, ๕ และ ๖) และในตอนที่เจ็ดได้กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เล่าถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวของตน จากนั้น พระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้นำเอาบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ ๗ เกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม มาเสนอต่อที่ประชุมและให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้อ่าน...” [1]
ผู้เขียนได้กล่าวถึงพระราชวินิจฉัยตอบเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม โดยพระองค์ได้อ้างงานวิจัยของ “โปรเฟซเซอร์ซิมเมอร์แมน” ว่าชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรไทยไม่ได้อดอยากแร้นแค้นอย่างที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้กล่าวไว้ในเค้าโครงเศรษฐกิจ
ในการประเมินงานวิจัยของซิมเมอร์แมนว่ามีคุณภาพน่าเชื่อถือแค่ไหนนั้น ผู้เขียนเห็นว่าควรฟังจากนักวิชาการที่ไม่ได้อยู่ในสถานะคู่ขัดแย้งในบริบททางการเมืองของไทยขณะนั้น ผู้เขียนได้สำรวจการวิจารณ์งานของซิมเมอร์แมน พบว่าผลงานชิ้นนี้ของซิมเมอร์แมนได้รับการวิจารณ์จากเอ็ดมัน เดอ เอส. บรันเนอร์ (Edmund de S. Brunner) ศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย [2] ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญต่างๆบางประการที่บรันเนอร์พบในงานวิจัยของซิมเมอร์แมน และในตอนนี้จะได้กล่าวต่อไปจากส่วนที่ยังค้างอยู่
บรันเนอร์ได้กล่าวว่า “ในการลงภาคสนามตามหมู่บ้านต่างๆในชนบทของทั้งสี่ภาคของประเทศไทย ซิมเมอร์มแมนได้จัดแบ่งชุมชนในชนบทของไทยออกเป็นสามแบบใหญ่ๆ ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการจัดประเภทของชุมชนในชนบทของไท
แบบแรกคือ หมู่บ้านที่อยู่ริมคลอง ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะภายใต้วัฒนธรรมของชุมชนที่ปลูกข้าว
แบบที่สองที่รองลงมา คือ หมู่บ้านที่ทำสวนผลไม้ที่คล้ายกับการทำไร่ในสหรัฐอเมริกาที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย
แบบที่สาม หมู่บ้านที่รวมกลุ่มเข้าด้วยกัน ซึ่งพบมากในประเทศอื่นๆในโลกตะวันออกเช่นกัน โดยคนในหมู่บ้านแบบนี้จะทำการปลูกข้าวรอบๆหมู่บ้าน สมาชิกของครัวเรือนจะมีประมาณห้าหรือหกคนโดยเฉลี่ย และทุกหนึ่งร้อยครอบครัวจากครึ่งหนึ่งหรือสามในสี่ของครอบครัวทั้งหมดจะมีลูกที่อาศัยอยู่ที่อื่นนอกหมู่บ้าน
นอกจากนี้ ยังมีบรันเนอร์ยังชี้ให้เห็นถึงข้อค้นพบในงานวิจัยของซิมเมอร์แมน ดังต่อไปนี้
-ภูมิภาคต่างๆมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน -ไม่มีผลผลิตทางการเกษตรของพื้นที่หรือภูมิภาคเพาะปลูกใดโดยเฉพาะที่จะถือได้ว่าเป็นผลผลิตของประเทศทั้งหมดเหมือนกับในสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างคือ ขนาดของที่เพาะปลูกผันแปรสี่เท่าและอัตราส่วนของครอบครัวที่ไม่มีที่ดินมีตั้งแต่ 14 ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ ที่เช่าที่ทำไร่ทำนามีตั้งแต่ 5 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของชาวไร่ชาวนาทั้งหมด แต่ในหนึ่งหมู่บ้านอัตราส่วนคือ 84 เปอร์เซ็นต์ การจ่ายค่าเช่าจ่ายเป็นเงินสดปรากฎในสองภาคของประเทศ ส่วนอีกสองภาค จ่ายค่าเช่าเป็นส่วนแบ่งของผลผลิต
ในสองภาค มีเพียงสองในห้าของข้าวที่ถูกนำไปขายให้กับคนในท้องถิ่นที่ไม่มีที่ดิน อันได้แก่ พ่อค้าและคนที่ลงแรง ในภาคอื่น มีการขายข้าวในราวสองให้ห้า โดยส่วนใหญ่จะขนส่งทางเรือไปยังเมืองหลวง คือกรุงเทพ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงหนึ่งล้านคน
กระนั้น ข้าวยังถูกส่งออกนับเป็นมูลค่า 68 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
แต่ละนาจะมีควายหรือวัวประมาณสองตัวที่เอาไว้ใช้ไถนาหรือลาก เกือบทุกครอบครัวจะมีหมูหนึ่งตัว และเหมือนกับประเทศจีน จะมีการเลี้ยงเป็ดไก่ ในพื้นที่ที่มีการขายข้าว พื้นที่ทำนาจะมีขนาดตั้งแต่ 12 ถึง 80 เอเคอร์ ( 1 เอเคอร์ = 2.53 ไร่)
อีกทั้งงานวิจัยของซิมเมอร์แมนพยายามที่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ที่เป็นเงินสดของผู้คนในชนบท รวมทั้งแหล่งรายได้และการกระจายรายได้ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขนาดของรายได้และการกระจายรายได้ แต่ไม่ได้มีการสำรวจค่าครองชีพและค่าจัดการไร่นา การบริโภคผลผลิตหรือสิ่งที่ได้ตามธรรมชาติที่บ้านไม่ได้นับว่าเป็นรายได้
อัตราส่วนของรายได้ที่มาจากผลผลิตจากการทำไร่ทำนาที่ผันแปรตั้งแต่หนึ่งในห้าจนถึงครึ่งหนึ่ง ผลผลิตที่ได้จากสัตว์เป็นอัตราส่วนตั้งแต่ 3 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ และการขายปลาตั้งแต่ 1 ถึง 9 เปอร์เซ็นต์รายได้จากผลผลิตในไร่นาและสัตว์สัมพันธ์กันในลักษณะผกผัน
รายได้อื่นๆอยู่ในราวครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่เป็นค่าจ้างและค่าเช่าที่เป็นเงินสดจากไร่นา
รายการใช้จ่ายหลักคือ ต้นทุนในการทำนา ซึ่งอยู่ในราว 5 ถึง 17 เปอร์เซ็นต์
ภาษีในราว 5 เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตทั้งหมดอยู่ในราวสามในสี่ของการใช้จ่ายทั้งหมด เงินออมอยู่ในราวเกือบหนึ่งในห้าของการเบิกจ่ายต่างๆ
ผลการศึกษาดังกล่าวนี้ครอบคลุมผลผลิตในหนึ่งปีก่อนที่จะมีการสำรวจ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้วย
บรันเนอร์กล่าวว่า แม้ว่าในงานของซิมเมอร์แมนจะไม่ได้กล่าวไว้เลยว่า “การเกษตรในประเทศไทยคือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชื่อมแรงงานกับที่ดินที่เป็นการผลิตที่อยู่ในระดับที่ใหญ่กว่าในประเทศที่มีการค้าผลผลิตทางการเกษตรเสียอีก” แต่บรันเนอร์เห็นว่า คนที่อ่านงานวิจัยและตารางข้อมูลต่างๆของซิมเมอร์แมนที่หนาเกือบ 50 หน้า ย่อมจะต้องสรุปได้เช่นนั้น
บรันเนอร์ได้วิเคราะห์ต่อยอดจากงานของซิมเมอร์แมนว่า สภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้ค่อนข้างง่ายที่จะรักษาสภาพเศรษฐกิจแบบเกษตรแบบพื้นฐานนี้ไว้ ชาวนาทุกคนจะบอกได้อย่างถูกต้องว่า เขาสามารถจะได้ข้าวกี่กระสอบ และการใช้จ่ายอะไรที่ถือว่ามีความสำคัญสำหรับพวกเขา”
และนี่คือส่วนหนึ่งของข้อมูลและการตีความข้อมูลที่ซิมเมอร์แมนได้จากการลงวิจัยภาคสนามในพื้นที่ชนบทในภูมิภาคต่างๆในประเทศไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๔
ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะได้นำเสนอส่วนที่เหลือและบทสรุปจากบทวิจารณ์ของบรันเนอร์ที่มีต่องานวิจัยของซิมเมอร์แมนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาศึกษาและมีพระราชวินิจฉัยตอบต่อการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
[1] “พระบรมราชวินิจฉัย ร.7 ต่อเค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี” (ผู้เขียนบทความนี้อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันพระปกเกล้า) ไทยโพสต์, วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562. https://www.thaipost.net/main/detail/33019
[2] Edmund de S. Brunner, “Siam: Rural Economic Survey 1930-31 by Carl C. Zimmerman,” Journal of Farm Economics , Oct., 1932, Vol. 14, No. 4 (Oct., 1932), pp. 707-710.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490