๑๔ ตุลาฯ ที่เกิดขึ้นก่อน ๑๔ ตุลาฯ (ตอนที่ ๔)

 

 

ข้อเรียกร้องประการหนึ่งของการก่อการของคณะกู้บ้านกู้เมือง (กบฏบวรเดช) คือ การต้องการรักษาระบอบการปกครองพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมไว้  เพราะคณะกู้บ้านกู้เมืองมีความเคลือบแคลงใจในรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนากับคณะราษฎรที่อาจจะมีวาระซ่อนเร้นที่จะนำประเทศไปสู่การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ เพราะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เพียงหนึ่งเดือนก็มีการแอบโปรยในปลิวทั้งพระนครและต่างจังหวัดหลายจังหวัดในประชาชนลุกฮือขึ้นมาล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาและเปลี่ยนการปกครองประเทศตามแบบสหภาพโซเวียต  อีกทั้งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรยังจัดตั้งพรรคการเมืองที่เรียกว่า “สมาคมคณะราษฎร” ขึ้นและเมื่อมีคณะบุคคลต้องการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาบ้าง อันได้แก่ สมาคมคณะชาติ คณะราษฎรก็ปฏิเสธไม่ให้มีการตั้งพรรคการเมืองอื่นนอกจากพรรคการเมืองของพวกตน

จากการศึกษาของภูริ ฟูวงศ์เจริญ พบว่า ที่จริงตอนแรก รัฐบาล แกนนำรัฐบาลและสมาชิกคณะราษฎรต่างยอมรับการปรากฎตัวขึ้นของสมาคมคณะชาติ แต่พอเกิดเหตุดักยิง พลตรี พระยาเสนาสงคราม กรรมการสมาคมคณะชาติและอดีตแม่ทัพเคยเป็นกำลังสำคัญในระบอบการปกครองก่อนหน้า สมาชิกคณะรัฐมนตรีฝั่งอนุรักษ์นิยมเริ่มรู้สึกไม่สบายและเปลี่ยนท่าทีมาคัดค้านไม่เพียงการจัดตั้งสมาคมคณะชาติ แต่รวมไปถึงการดำรงอยู่ของสมาคมคณะราษฎรด้วย1 ต่อมา ทางรัฐบาลพระยามโนฯก็ห้ามมิให้ตั้งพรรคการเมืองใดๆขึ้น เพราะเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นได้   (ดูตอนที่ ๒ และ ๓)

กล่าวได้ว่า ทั้งฝ่ายคณะราษฎรและฝ่ายที่ต้องการทัดทานอำนาจของคณะราษฎรต่างระแวงกันและกัน ฝ่ายคณะชาติระแวงว่าคณะราษฎรจะไปไกลเกินกว่าการมีระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและมุ่งสู่ระบอบสาธารณรัฐ  ส่วนฝ่ายคณะราษฎรก็เกรงว่า หากสมาคมคณะชาติมีประชาชนเข้าร่วมสนับสนุนมากก็อาจจะเปลี่ยนการปกครองกลับสู่การปกครองแบบราชาธิปไตย

ความหวาดระแวงกันและกันทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อปัญหากรณี “เค้าโครงเศรษฐกิจ” ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม จากการศึกษาของภูริ ฟูวงศ์เจริญอีกเช่นกัน พบว่า หลังกรณีคณะการเมืองผ่านพ้นไปแค่เพียงสามสี่สัปดาห์ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมลองจัดทำแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยตัวหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเองมีทัศตคติโน้มไปทางสังคม

_________________________________________

1 ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540),  จัดพิมพ์โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: 2563), หน้า 45.

_________________________________________

นิยม แถมเชื่อด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองย่อมสูญเปล่า ถ้าไม่ลงมือทำอะไรกับระบบเศรษฐกิจ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงรับเอาภารกิจดังกล่าวไปดำเนินการเอง สำเร็จออกมาเป็น “เค้าโครงเศรษฐกิจ” โดยสาะสำคัญคือสนับสนุนระบบนารวม (collective farming)2

ผู้เขียนขอนำข้อความที่สำคัญบางตอนจากเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูนธรรมที่สะท้อนให้เห็นวิธีคิดการทำนารวมมาให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดังนี้

“…เวลานี้ที่ดินซึ่งทำการเพาะปลูกได้ตกอยู่ในมือของเอกชน นอกนั้นเป็นป่าที่จะต้องก่นสร้าง ที่ดินซึ่งอยู่ในมือเอกชนในเวลานี้ ผลจากที่ดินนั้นย่อมได้แทบไม่คุ้มค่าใช้จ่ายและค่าอาหาร และค่าดอกเบี้ย เพราะชาวนาเวลานี้แทบกล่าวได้ว่า ๙๙% ที่เป็นลูกหนี้เอาที่ดินไปจำนองหรือประกันแก่เจ้าหนี้ ฝ่ายเจ้าของเองก็เก็บดอกเบี้ยหรือต้นทุนไม่ได้ หรือผู้ที่มีนาให้เช่า เช่น นาในทุ่งรังสิตเป็นต้น เจ้าของนาแทนที่จะเก็บค่าเช่าได้กลับต้องออกเงินเสียค่านา เป็นการขาดทุนย่อยยับกันไป ไม่ว่าคนมีหรือคนจน เจ้าของนาเป็นส่วนมากประสงค์ขายนา แม้จะต้องขาดทุนลงบ้าง หรือฝ่ายเจ้าหนี้ให้ชาวนายืมเงิน ก็อยากได้เงินของตนคืน

การบังคับจำนองหรือการเอาที่ดินออกขายทอดตลาดนั้น เวลานี้ราคาที่ดินก็ตกต่ำ ทั้งนี้เป็นผลที่การประกอบเศรษฐกิจ รัฐบาลปล่อยให้เอกชนต่างคนต่างทำ เมื่อการเป็นเช่นนี้แล้ว ถ้ารัฐบาลจะซื้อที่ดินเหล่านั้นกลับคืนมาก็เชื่อว่าชาวนาเจ้าของที่ดิน ผู้รับจำนองที่ดินทั้งหลายคงจะยินดีไม่ใช่น้อย เพราะการที่ตนยังคงมีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดิน หรือยังคงยึดที่ดินไว้เป็นประกัน มีแต่จะขาดทุนอย่างเดียว การซื้อที่ดินกลับคืนมานี้แตกต่างกับวิธีริบทรัพย์ของคอมมิวนิสต์ (เน้นโดยผู้เขียน)

ในเวลานี้รัฐบาลไม่มีเงินจะซื้อที่ดินได้เพียงพอ แต่รัฐบาลอาจออกใบกู้ให้เจ้าของที่ดินถือไว้ตามราคาที่ดินของตน ใบกู้นั้นรัฐบาลจะได้กำหนดให้เงินผลประโยชน์แทนดอกเบี้ย ให้ตามอัตราดอกเบี้ยของการกู้เงินในขณะที่ซื้อ ซึ่งไม่เกินร้อยละ ๑๕ อันเป็นอัตราสูงสุดในกฎหมาย....ที่ดินที่รัฐบาลต้องซื้อกลับคืนนี้ ก็คือที่ดินที่จะใช้ประกอบการเศรษฐกิจ เช่น ที่นาหรือไร่ เป็นต้น ส่วนบ้านที่อยู่อาศัยนั้นไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องซื้อคือ เว้นไว้แต่เจ้าของประสงค์จะขายแลกกับใบกู้  การจัดให้มีบ้านสำหรับครอบครัว (homestead) ซึ่งเมื่อคิดเทียบกับเนื้อที่ทั้งหมดในประเทศแล้ว ไม่มีจำนวนมากมายที่จะเป็นการขัดขวางต่อการดำเนินการเศรษฐกิจ เหตุฉะนี้จะยังคงให้มีอยู่ได้ ก็ไม่เป็นการแปลกประหลาดอันใด

เมื่อที่ดินได้กลับคืนมาเป็นของรัฐบาลเช่นนี้แล้ว รัฐบาลจะได้กำหนดลงไปได้ถนัดว่า การประกอบการเศรษฐกิจในที่ดินนั้นจะแบ่งออกเป็นส่วนอย่างไร และจะต้องใช้เครื่องจักรกลชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใด การทดน้ำจะต้องขุดคูหรือทำคันนาอย่างไร แต่เมื่อที่ดินตกมาเป็นของรัฐบาลเช่นนี้แล้ว ถ้าที่ที่มีระดับเดียวกันก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เช่น การทำคูทำคันนาอาจจะทำน้อยลงได้ นอกจากนั้น การใช้

_________________________________________

2 ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540),  จัดพิมพ์โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: 2563), หน้า 46.

_________________________________________

เครื่องจักรกล เช่น การไถ ก็จะได้ดำเนินติดต่อกัน มิฉะนั้นจะต้องไถที่นี่แห่งหนึ่ง ที่โน่นแห่งหนึ่งเป็นการชักช้าเสียเวลา และการบำรุงที่ดินโดยวิชาเทคนิคย่อมจะทำได้สะดวก เราจะเห็นได้ว่าในเวลานี้ราษฎรยังหลงเชื่อในวิธีโบราณ แม้ผู้ชำนาญการกสิกรรมจะพร่ำสอน ก็ต้องกินเวลานาน เมื่อรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเอง รัฐบาลอาจกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ ราษฎรซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐบาลก็จำต้องปฏิบัติตาม……..”3

จากข้างต้น สรุปความได้ว่า เมื่อชาวไร่ชาวนาที่มีที่ดินหรือเอาไปจำนองหรือค้ำประกันได้ หรือเจ้าของที่ดินที่ให้ชาวนาเช่าทำกินขายที่ดินให้กับรัฐบาลไปแล้ว  ก็เปลี่ยนสถานะไปเป็นลูกจ้างของรัฐบาล  และทำนาให้รัฐบาล หากจะถามว่า ลูกจ้างทำนาได้อะไรเป็นค่าตอบแทนแรงงาน คำตอบคือ ลูกจ้างรัฐบาลได้คะแนนเป็นค่าตอบแทน  ที่ไม่จ่ายเป็นเงินเพราะ “ก็เมื่อรัฐบาลต้องจ่ายเงินเดือนแก่ราษฎรเช่นนี้ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้ ขอเตือนให้ระลึกเสียก่อนว่า เงินเป็นสิ่งที่รับประทานไม่ได้ เงินย่อมเป็นสิ่งที่จะใช้แลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ การจ่ายเงินก็เท่ากับการจ่ายอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ ขอให้ระลึกว่าเงินที่ท่านหาได้ ท่านนำเอาเงินนั้นไปทำไม ท่านก็นำไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เหตุฉะนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบว่าเงินเป็นคะแนนชนิดหนึ่งก็ไม่ผิดด  การจ่ายเงินเดือนก็เท่ากับจ่ายคะแนนให้ราษฎรที่จะจับจ่าย แลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตตามความต้องการของราษฎร ผลที่สุดราษฎรจะพึงได้รับก็คือ ปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เช่น อาหาร สถานที่อยู่ ฯลฯ”4

หลวงประดิษฐ์ฯไม่เพียงแต่จะให้ชาวนามาเป็นลูกจ้างรัฐบาล เท่านั้น แต่ยังมีความคิดที่จะให้ราษฎรทุกคนเป็นลูกจ้างรัฐบาลหรือข้าราชการด้วยซ้ำ  และท่านคิดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ (ในขณะนั้น พ.ศ. 2476/ผู้เขียน) เพราะหลวงประดิษฐ์ฯเห็นว่า “นิสัยของคนไทยชอบทำราชการ คือชอบเอาแรงงานของตนมาแลกกับเงินเดือนของรัฐบาล นิสัยเช่นนี้มีอยู่แน่ชัด...”5

การที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องการให้ประชาชนคนไทยทุกคนเป็นลูกจ้างรัฐลงแรงทำไร่ทำนา

_________________________________________

3 ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477,  โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 248-249.

4 ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477,  โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 243.

5 ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477,  โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 251.

_________________________________________

เพราะเขามีความคิดเรื่อง “แรงงานที่สูญเสียไปและพวกหนักโลก” ที่เขาใช้คำภาษาอังกฤษว่า (social parasite)

“แรงงานที่สูญเสียไปและพวกหนักโลก” นี้เป็นอย่างไรและใครคือพวกหนักโลกในความคิดของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม โปรดติดตามในตอนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490