๑๔ ตุลาฯ ที่เกิดขึ้นก่อน ๑๔ ตุลาฯ (ตอนที่ ๒)

 

 

๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นวันที่เกิดการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา กับคณะกู้บ้านกู้เมือง ที่ต่อมาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกเรียกว่า “กบฏบวรเดช”

ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ คณะกู้บ้านกู้เมือง---ที่ก่อตัวโดยนายทหารชั้นผู้น้อยและต่อมาได้ทูลเชิญพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชเข้าร่วมทำการและยกให้เป็นหัวหน้าคณะ---ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ๖ ประการต่อรัฐบาลภายใต้การนำของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี

จากข้อเรียกร้อง ๖ ประการของคณะกู้บ้านกู้เมือง ทำให้เกิดคำถามสำคัญ ๓ ข้อดังนี้ โดยจะขอกล่าวถึงข้อแรก

ข้อเรียกร้องข้อที่หนึ่ง: เป็นที่ทราบดีว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎรนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศเป็นการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว  ทำไมคณะกู้บ้านกู้เมืองถึงต้องเรียกร้องให้รัฐบาล “ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปวสาน” ด้วย ?

คำตอบคือ ความระแวงที่คณะกู้บ้านกู้เมืองมีต่อรัฐบาลพันเอก พระยาพหลฯจะไม่มีความจริงใจต่อการรักษาระบอบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ  เพราะคณะกู้บ้านกู้เมืองเห็นว่า  “คณะรัฐมนตรีปล่อยให้คนดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเอาหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกลับมา เพื่อดำเนินการแบบคอมมิวนิสต์ต่อไป…”1

คำถามที่ตามมาคือ

๑. เกิดการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไร ? และ

๒. หลวงประดิษฐ์มนูธรรมไปไหน ถึงมีการเอาตัวกลับมาโดยคณะรัฐมนตรี และ                   

๓. หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเกี่ยวข้องอะไรกับการดำเนินการแบบคอมมิวนิสต์ ?

ในการตอบคำถามสามข้อนี้ คงต้องเริ่มจากข้อ ๓ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อ ๒ โดยตรง และอาจจะเกี่ยวกับข้อ ๓ โดยอ้อม หรืออาจไม่เกี่ยวเลย                                   

เมื่อกล่าวถึงคอมมิวนิสต์ จากการค้นคว้าของ รศ. ดร. ภูริ ฟูวงศ์เจริญ พบว่า หลังการเปลี่ยนแปลง

_________________________________________

1 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ ๓๙/๑๖๓, เรื่องคำขอหรือคำขาดและคำแถลงการณ์หรือใบปลิวของพวกกบฏ อ้างใน นิคม จารุมณี, กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๔๙. 

_________________________________________

การปกครอง ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕   “นับตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ หรือแค่เดือนเดียวหลังการปฏิวัติ เริ่มมีกลุ่มบุคคลแอบโปรยใบปลิวตามท้องถนนในยามวิกาลเป็นระยะ เนื้อความของใบปลิวมุ่งปลุกระดมชาวสยามให้ช่วยกันขับไล่คณะราษฎร เพื่อจะได้เจริญรอยตามสหภาพโซเวียต พฤติกรรมท้าทายทางการเช่นนี้พบได้ไม่เฉพาะแต่ที่พระนคร ทว่ายังรวมต่างจังหวัดด้วย อาทิ นครราชสีมา พิษณุโลก สระบุรี อุบลราชธานี เป็นต้น ทางตำรวจรีบสืบหาตัวการระดับแกนนำ แต่คว้าน้ำเหลวเสมอ สุดท้ายเลยกลายเป็นปัญหาที่คอยกวนใจรัฐบาล (ภายใต้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งมิใช่สมาชิกคณะราษฎร/ผู้เขียน)  โดยเฉพาะเมื่อมีเสียงครหาอยู่แล้วว่าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนบางคนมีหัวฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ มิพักพูดถึงข่าวลือที่แก้ไม่ได้เสียทีว่า รัฐบาลคิดจะยึดทรัพย์คนรวย การแจกใบปลิวจึงเป็นเรื่องอ่อนไหวที่เปิดช่องให้คนโจมตีไม่เพียงแต่รัฐบาล   แต่ยังรวมถึงคณะราษฎร ตลอดจนการปกครองระบอบใหม่”2

อันที่จริงแนวคิดที่ออกแนวคอมมิวนิสต์ได้ปรากฏให้เห็นร่องรอยในสื่อสิ่งพิมพ์มาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้ว ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองห้าปี ในบทความเรื่อง “ทูตพระศรีอาริย์” ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ราษฎร ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่สื่อความว่า

“ความเสมอภาคที่ได้รับจากผู้มีอำนาจเหนือประสิทธิ์ประสาทให้นั้น ไม่ใช่ความเสมอภาคอันแท้จริง เพราะยังมีผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่อยู่...สังคมมนุษย์นี้มีการเบียดเบียนกัน ยิ่งเจริงมากเท่าใด ก็ยิ่งเบียดเบียนกันมากขึ้นเท่านั้น คนที่ฉลาดกว่า มีอำนาจกว่า ก็ใช้ปัญญาและอำนาจสูบเลือดเนื้อผู้ที่โง่กว่า มีกำลังและอำนาจน้อยกว่า สูบกินกันลงไปเป็นชั้นๆ มนุษย์แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ พวกที่มีอำนาจมั่งมีพวกหนึ่ง พวกคนจนอีกพวกหนึ่ง พวกคนจนเห็นว่าทรัพย์สมบัติหรือวัตถุใดๆที่เกิดขึ้นในโลกนี้เป็นของกลางสำหรับโลก มนุษย์ที่เกิดมาในโลกมีสิทธิเป็นเจ้าของด้วยกันทุกคน การที่พวกมีอำนาจมั่งมีหวงกันเอาไปไว้นั้น เป็นการเอาเปรียบต่อเพื่อนมนุษย์ เมื่อพวกคนจนมีความเห็นดังนี้ ต่างก็รวมกำลังกันเข้า พยายามทำลายพวกมีอำนาจมั่งมี...ในที่สุดพวกคนจนก็จะรู้สึกตัวเห็นว่าทรัพย์สมบัติทุกอย่างเป็นของกลางในโลก  ไม่ควรที่จะมาฆ่าฟันกัน เมื่อมีความเห็นเช่นนี้เป็นจุดเดียวกัน ก็จะช่วยกันล้างพวกมั่งมีให้หมดไป ‘วันใดเงินหมดอำนาจ เป็นแร่ธาตุไปตามสภาพเดิมแล้ว วันนั้นเป็นวันเสมอภาค’”3

จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า การที่ผู้เขียนแบ่งคนออกเป็นคนสองกลุ่ม คือ พวกมั่งมี กับ พวกยากจน ไม่ต่างจากแนวคิดของมาร์กซและเองเกลส์เจ้าลัทธิคอมมิวนิสม์ ที่แบ่งคนในสังคมออกเป็นสองชน

_________________________________________

2 ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540),  จัดพิมพ์โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: 2563), หน้า 34.

3 ราษฎร ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑ อ้างใน ชัยอนันต์ สมุทวนิช, ความคิดทางการเมืองการปกครองไทยโบราณ, เอกสารโรเนียว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 320.5 ช451ค ฉ.1), หน้า ๓๒.

_________________________________________

ชั้นใหญ่ นั่นคือ ชนชั้นที่ครอบครองปัจจัยการผลิต กับชนชั้นที่ไม่ได้ครอบครองปัจจัยการผลิต นอกจากนี้ ผู้เขียนยังปฏิเสธการให้ความเสมอภาคที่เกิดจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า เพราะความเสมอภาคที่แท้จริงนั้นจะต้องเกิดจากการที่คนจน “ล้างพวกมั่งมีให้หมดไป”  ซึ่งก็คือคนจนในข้อเขียนนี้ก็น่าจะเทียบเคียงได้กับชนชั้นกรรมาชีพในแนวคิดของมาร์กซและเองเกลส์ 

และสิ่งที่น่าพึงสังเกตคือ อีกห้าปีต่อมา ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง “ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ออกประกาศชี้แจงแสดงเหตุผลของการยึดอำนาจ และในตอนท้ายของประกาศก็ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะนำไปสู่ความสุข ความเจริญอย่างประเสริฐ ที่เรียกว่า ‘ศรีอาริย์’”4

ผู้เขียนมีความเห็นต่อทรรศนะของผู้เขียนบทความเรื่อง “ทูตพระศรีอาริย์” ว่า ผู้เขียนบทความดังกล่าวไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคแก่ประชาชน หากการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เกิดจากการปฏิวัติโดยเหล่าคนจน  ดังนั้น แม้ในขณะที่ผู้เขียนบทความดังกล่าวที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จะได้รับทราบถึงแผนการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระรมวงศานุวงศ์เตรียมที่จะนำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยภายใต้การปกครองที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ  ผู้เขียนบทความ “ทูตพระศรีอาริย์”  ก็คงจะยังไม่ยอมรับ  และแม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยคณะราษฎร ผู้เขียนบทความดังกล่าวก็ไม่ยอมรับอยู่ดี

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงเดือนเดียว ในเดือนกรกฎาคม ก็เกิดการ “ปลุกระดมชาวสยามให้ช่วยกันขับไล่คณะราษฎร เพื่อจะได้เจริญรอยตามสหภาพโซเวียต”

และจะด้วยความบังเอิญหรืออย่างไรไม่สามารถทราบได้ ที่ตอนท้ายของประกาศของคณะราษฎรในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  ถึงกล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะนำไปสู่ความสุข ความเจริญอย่างประเสริฐ ที่เรียกว่า ศรีอาริย์”

และถ้าผู้เขียนบทความ “ทูตพระศรีอาริย์”  เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรด้วยแล้ว  เสียงครหาที่ว่าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนบางคนมีหัวฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ดูจะมีน้ำหนักเป็นจริง

และการปฏิวัติและสถาปนาการปกครองภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้นจำต้องทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สิ้นไป ดังนั้น ความหวาดระแวงต่อสมาชิกบางคนในคณะราษฎร จากฝ่ายที่ต้องการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่ในการปกครองของประเทศตามการปกครองพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ขณะเดียวกัน ฝ่ายคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็มีความ

_________________________________________

4 ชัยอนันต์ สมุทวนิช, ความคิดทางการเมืองการปกครองไทยโบราณ, เอกสารโรเนียว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 320.5 ช451ค ฉ.1), หน้า ๓๒.

_________________________________________

ระแวงเช่นกัน เพราะคณะราษฎรเองตระหนักดีว่า พวกตนในฐานะกลุ่มคนเพียงไม่ถึงหนึ่งร้อยคนสามารถก่อการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น จึงเป็นไปได้เช่นกันที่กลุ่มการเมืองอื่น จะใช้กลวิธีเดียวกันต่อต้านการยึดอำนาจของพวกตนและล้มพวกตน 5

ในตอนต่อไป  จะได้กล่าวถึงความหวาดระแวงกันและกันหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระหว่างคณะราษฎรกับคณะชาติ รวมทั้งเรื่องการเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และการออกกฎหมายที่ดินของสหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖

การเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องลี้ภัยออกไปนอกประเทศ และต่อมาหลังรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย (๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖) คณะรัฐมนตรีภายใต้พันเอก พระยาพหลฯได้ให้หลวงประดิษฐ์ฯกลับมา อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นายทหารชั้นผู้น้อยเกิดการรวมตัวเป็นคณะกู้บ้านกู้เมืองและเรียกร้องให้รัฐบาล  “ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปวสาน”

_________________________________________

5 F5920/4260/40 and file in FO371/16261 (แฟ้มข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร---ผู้เขียน) อ้างใน Judith A. Stowe, Siam becomes Thailand: A Story of Intrigue, (Honolulu: University of Hawaii Press: 1991), pp. 26-27: “But they too had their fears; they knew that they must have stirred up antagonism in certain quarters and were afraid of a counter-coup or acts of individual violence against themselves. After all, if they as a mere handful of people could seize power so easily, it would be just as possible for another group using similar tactics to oust them.”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490