ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๖)

 

เบนจามิน บัตสัน นักวิชาการตะวันตกเชื่อว่า เอกสารเรื่อง “Democracy in Siam” เป็นพระราชบันทึกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานไปยังคณะองคมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2470  ซึ่งในช่วงแรกมีจำนวน 9 พระองค์ โดยที่มาของพระราชบันทึกนี้  บัตสันได้อธิบายไว้ว่า คณะองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทำหน้าที่คล้ายฝ่ายนิติบัญญัติ และได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายสำหรับการจัดตั้งคณะองคมนตรีเพื่อเป็นที่ปรึกษาพระมหากษัตริยและลงมติให้ความเห็นชอบในการเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามคำแนะนำของฟรานซิส บี. แซร์ (Francis B. Sayre/พระยากัลป์ยาณไมตรี) และในการประชุมร่างกฎหมายดังกล่าว ได้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจของคณะองคมนตรีขึ้น 

ข้อถกเถียงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่มีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างกฎหมายในการจัดตั้งคณะองคมนตรีที่มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นประธานที่ประชุม  หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร  หนึ่งในคณะองคมนตรีได้ถวายหนังสือแสดงความไม่เห็นโดยมีเสียงข้างมากในคณะองคมนตรีสนับสนุน โดยหม่อมเจ้าสิทธิพรได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเป็นองค์คณะที่ “รับให้คำปรึกษา (consulative)” กับ “ให้คำแนะนำ (advisory)”                                         

ในกรณีที่เป็นองค์คณะที่ “ให้คำปรึกษา”  คณะองคมนตรีจะประชุมกันก็ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการจากพระมหากษัตริย์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ขึ้นอยู่กับว่าพระมหากษัตริย์จะทรงขอคำปรึกษา

ส่วนในกรณีของ “ให้คำแนะนำ” นั้น ในบางสถานการณ์ คณะองคมนตรีสามารถเรียกประชุมได้โดยการริเริ่มของคณะองคมนตรีเอง 

หม่อมเจ้าสิทธิพรได้ให้เหตุผลว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศและเป็นที่นิยมในสาธารณะ และยังเป็นการปกครองที่ยังจำเป็นสำหรับประเทศเป็นเวลาอีกนาน แต่กระนั้น หากในการตั้งคณะองคมนตรีในฐานะที่เป็นองค์กรใหม่จริงๆ ก็ควรจะให้เป็นก้าวหนึ่งที่จะไปสู่ประชาธิปไตย และมีศักยภาพในการจำกัดการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ดี คณะองคมนตรีจึงควรมีสถานะของการ “ให้คำแนะนำ” มากกว่าเป็น “รับให้คำปรึกษา” ดังนั้น หม่อมเจ้าสิทธิพรจึงเสนอให้มีการแก้ไขร่างกฎหมายเพื่อให้คณะองคมนตรีสามารถประชุมกันได้หากมีปัญหาสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศโดยไม่ต้องรอพระบรมราชโองการ 

กรมพระนครสวรรค์ฯทรงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอและเหตุผลของหม่อมเจ้าสิทธิพร แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีพระบัญชาด้วยพระองค์เองให้มีการประชุมอีกครั้งเพื่อพิจารณาข้อเสนอของหม่อมเจ้าสิทธิพรที่พระองค์ทรงเห็นว่า “มีความสำคัญอย่างยิ่ง” โดยในพระราชบันทึก “Democracy in Siam” พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นด้วยกับร่างแก้ไขที่หม่อมเจ้าสิทธิพรเสนอ ที่กำหนดว่า หากมีสมาชิกในคณะองมนตรีจำนวน 15 คนเข้าชื่อกัน ก็สามารถขอให้มีการประชุมคณะองคมนตรีเป็นวาระพิเศษได้ ขณะเดียวกัน พระมหากษัตริย์ก็ยังมีพระราชอำนาจที่จะอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอก็ได้            

กรมพระนครสวรรค์ฯ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
หม่อมเจ้าสิทธิพร
พระองค์เจ้าธานี

ต่อมาในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 มีการประชุมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และมีการลงมติ 6 ต่อ 3 เห็นชอบให้คณะองมนตรีมีสถานะ “ให้คำแนะนำ” องค์พระมหากษัตริย์  โดยกรมพระนครสวรรค์ฯและหม่อมเจ้าสิทธิพรอยู่ในฝ่ายเสียงข้างมาก  ในขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมีพระองค์เจ้าธานีนิวัต (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) เป็นผู้นำ ซึ่งในการประชุมครั้งแรกๆ พระองค์ได้ทรงมีข้อสงสัยในประเด็นที่ว่า ระบบประชาธิปไตยที่พัฒนาในประเทศแองโกล-แซกสันได้ก่อให้เกิด “ความจริงของโลก”  (World Axiom)  ที่ใช้ได้เป็นสากลจริงหรือไม่ ?  และการปกครองแบบปิตาธิปไตย (patriarchal rule) ไม่ได้เหมาะสมดีสำหรับชาวตะวันออกหรือ ?

ในที่สุด การแก้ไขร่างกฎหมายสำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะองคมนตรีก็เป็นไปตามที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ แต่ให้ลดจำนวนสมาชิกองคมนตรีที่มีสิทธิ์ในการร้องขอให้มีการประชุมวาระพิเศษจาก 15 เป็น 5   โดยเหตุผลในการลดจำนวนสมาชิกในการร้องขอให้เปิดประชุมคณะองคมนตรีนั้น ไม่ได้มาจากเหตุผลที่จะทำให้การเรียกประชุมเป็นไปได้สะดวกขึ้น แต่เป็นเหตุผลที่ว่าหากกำหนดจำนวนไว้มากจะทำให้ดูเหมือนว่าจะต้องเป็นเรื่องร้ายแรงมาก               

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ การที่คณะองคมนตรีมีสถานะ “ให้คำแนะนำ” ก็ไม่ได้มีผลจริงจังอะไร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากการอภิปรายในประเด็นที่ว่า “ให้คำปรึกษา” กับ “ให้คำแนะนำ”  ซึ่งมีการให้เหตุผลเกี่ยวกับการเตรียมตัวสู่ประชาธิปไตยได้นำไปสู่การแสดงความคิดเห็นกันอย่างชัดเจนต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศ  และด้วยเหตุนี้ พระราชบันทึก “Democracy in Siam” เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2470 จึงเกิดขึ้นโดยมีที่มาจากการอภิปรายในประเด็นดังกล่าวนี้

ผู้เขียนจะแปลและสรุปความ “Democracy in Siam” โดยมีการปรับภาษาไทยให้อ่านเข้าใจง่ายสำหรับคนในปัจจุบัน เช่น ใช้คำว่าประเทศไทยแทนคำว่า สยาม เป็นต้น  และเสริมข้อมูลเข้าไปบ้างเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ในการอ่าน “Democracy in Siam” ผู้อ่านจะต้องเข้าใจว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯกำลังมีสารที่ต้องการสื่อไปยังคณะองคมนตรี  ดังนั้น ผู้อ่านควรจะสมมุติตัวเองว่าเป็นองคมนตรีที่อยู่ในช่วงของการหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

ใจความสำคัญของ “Democracy in Siam” ในส่วนแรกคือ  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงต้องการบอกแก่คณะองคมนตรีว่า พระองค์ทรงตระหนักดีว่า มีการถกเถียงกันมานานแล้วในหมู่ผู้มีการศึกษาว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยเหมาะสมกับคนไทยหรือไม่ และในรัชสมัยของพระองค์ การถกเถียงดังกล่าวก็ขยายตัวไปยังกลุ่มผู้ที่พอมีการศึกษาบ้าง ดังที่ปรากฏให้เห็นแพร่หลายถึงความเห็นต่างๆตามสื่อสิ่งพิมพ์  แต่ความเห็นโดยทั่วไปดูจะสอดคล้องต้องกันว่า ณ ขณะนี้ ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ถ้าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ก็อาจต้องใช้เวลาอีกนานมาก  ขณะเดียวกัน ก็บางคนที่ยืนยันว่าการปกครองระบบรัฐสภาไม่มีทางที่จะใช้ได้กับคนไทย แต่จะประสบความสำเร็จใช้ได้ดีก็แต่กับเฉพาะชาวตะวันตกเท่านั้น (Anglo-Saxons)

พระองค์ทรงตระหนักดีว่า เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การปกครองแบบประชาธิปไตยประสบความสำเร็จได้จริงๆ อยู่ที่คุณภาพของประชาชนเป็นสำคัญ จะต้องมีการพัฒนาประชาชนอย่างมาก  ขณะเดียวกัน อาจจะต้องรวมไปถึงเรื่องเงื่อนไขคุณสมบัติทางเชื้อชาติ (racial qualities) ด้วยก็เป็นไปได้  ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางเชื้อชาติที่พวกแองโกล-แซกสันมี  ถึงจะทำให้สถาบันต่างๆในการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวมได้ และเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงจริงๆ (really and truly democratic) ไม่เพียงแต่เป็นประชาธิปไตยแค่เพียงรูปแบบ  เพราะประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในหลายประเทศเป็นประชาธิปไตยก็แต่เพียงรูปแบบเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติไม่เป็น

ทำไมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงใช้คำว่า racial qualities  ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับนักรัฐศาสตร์สมัยใหม่จะเห็นว่าน่าจะเป็น วัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) มากกว่า ?                                                   

(ต่อในตอนต่อไป)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490