บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) เดินหน้าผลิตและพัฒนารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า “ยามาฮ่า E01” ในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ 2019 และได้เริ่มทำการทดสอบการใช้งานจริง POC (Proof of Concept) ภายในประเทศญี่ปุ่น ก่อนส่งต่อแผนการทดสอบสมรรถนะ “ยามาฮ่า E01” มายังประเทศไทยเป็นที่แรก รวมถึงอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไต้หวัน และในทวีปยุโรป เพื่อพัฒนาและต่อยอดทางการตลาดในภูมิภาคต่างๆ
นายพงศธร เอื้อมงคลชัย รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ยามาฮ่ามอเตอร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะโลกร้อน และการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองนั้นทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ที่จะส่งผลกระทบต่างๆ ขึ้นในโลกของเรา โดยยามาฮ่ามีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่ปี 2020 ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากผลิตภัณฑ์ยามาฮ่าลง 16% และภายในปี 2050 เราตั้งเป้าที่จะลดลงให้ได้ถึง 90% ซึ่งแผนการที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ ยามาฮ่าในระยะยาวนั้น ยามาฮ่าจะส่งเสริมการใช้ยานพาหนะขนาดเล็ก รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มาใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ EV ทั้งผลิตภัณฑ์ทางเรือ และจักรยานยนต์จึงได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จากจุดเริ่มต้นด้วยจักรยานแม่บ้านติดระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าครั้งแรกในปี 1991 หรือเมื่อ 31 ปีก่อนหน้ามากมายหลายโมเดล ล่าสุดกับ “ยามาฮ่า E01” รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าขนาด 125 ซีซี ที่บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ได้ทำการเผยโฉมสู่สายตาชาวไทยเป็นครั้งแรกที่มีประสิทธิภาพการขับขี่เทียบเท่ารถจักรยานยนต์ภายในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมชมภายในงาน พร้อมกันนี้ ทางยามาฮ่า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ยังได้มีการจัดงาน Global Press Conference YAMAHA E01 เพื่อเชิญสื่อมวลชนจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน รวมถึงประเทศไทย เข้าร่วมในการประชุมเพื่อทราบข้อมูลของผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งได้มีการทำ POC (Proof of concept) โดยพัฒนาขึ้นมาเพื่อการทดสอบ และวิเคราะห์การใช้งานในรูปแบบต่างๆ และเพื่อให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ Carbon Neutrality การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หัวข้อ ได้แก่ 1.การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถในคลาส 125 ซีซี ทั้งในระยะทางใกล้และระยะทางไกล ด้วยรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 2.การศึกษา และทำความเข้าใจความเหมาะสมของฟังก์ชันการใช้งานให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า 3.การเก็บข้อมูลความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะตอบสนองและพัฒนาการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต และเพื่อเป็นการริเริ่มนำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตอย่างเต็มระบบ ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่อไป
สำหรับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม E01 POC ในประเทศไทยนั่นคือ เพื่อเป็นการสร้างยามาฮ่า EV แบรนด์ในประเทศไทย การเข้าใจความต้องการของลูกค้าในไทย และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำเสนอความพิเศษของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจากยามาฮ่า ผ่านกิจกรรม E01 POC เพื่อนำข้อมูลจากการทดสอบขับขี่ มาพัฒนาและต่อยอดต่อไปภายในอนาคต
โดยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ได้เริ่มทำการทดสอบ “ยามาฮ่า E01” ในรูปแบบการใช้งานจริงขึ้น 2 ครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ต บนเส้นทางที่ทำการทดสอบผ่านความสูงชันของสภาพภูมิประเทศทางภาคเหนือที่เป็นภูเขาอยู่ในระดับความชัน 12-15 องศา และระดับความชันที่สูงที่สุดในประเทศไทยในระดับ 19 องศาที่ อำเภอป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่ง “ยามาฮ่า E01” แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการขึ้นทางชันได้เป็นอย่างดี จากการทดสอบโดยขับขี่คนเดียวและมีผู้โดยสาร พร้อมทั้งทำการทดสอบแบบ Stop and Go จอดและเดินรถ ระหว่างทางลาดชัน “ยามาฮ่า E01” ยังคงตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการทดสอบขับขี่ในทางไกลอย่างต่อเนื่อง พร้อมใช้ Power Mode ที่ดึงกำลังสูงสุดของมอเตอร์ไฟฟ้าออกมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบแบตเตอรี่ของ “ยามาฮ่า E01” ยังคงสามารถระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี ไม่ส่งผลให้เกิดความร้อนสูง และตัดกำลังการส่งไฟฟ้าไปยังระบบขับเคลื่อนให้กลายเป็นระบบ Safe Mode อีกด้วย นอกจากนั้น การทดสอบขับขี่ในขณะฝนตกก็ยังคงดำเนินการทดสอบได้อย่างราบรื่น ด้วยจุดเด่นต่างๆ ของ “ยามาฮ่า E01” ที่มีความสะดวกสบายและมีขนาดตัวรถเทียบเท่ารถจักรยานยนต์คลาส 125 ซีซี (อ้างอิงจากยามาฮ่า NMAX 125 ในยุโรป) ตำแหน่งท่านั่งขับขี่ สะดวกสบาย โดยความยาวของรถ 1,930 มิลลิเมตร มีที่เก็บของใต้เบาะ ขนาดความจุ 23 ลิตร สามารถเก็บหมวกกันน็อกได้ ความสูงเบาะ 755 มิลลิเมตร ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถขึ้นลงได้อย่างสะดวก และขาถึงพื้นได้อย่างมั่นใจ เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน สามารถขับขี่ได้ด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะทาง 100 กิโลเมตร ควบคุมการขับขี่ได้อย่างนุ่มนวลเช่นเดียวกับรถจักรยานยนต์ทั่วไป ใช้ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ โดย Vehicle Control Unit, Battery Management System, Motor Control Unit พร้อมระบบเบรก Regenerative Brake ที่จำลองความรู้สึกของ Engine Brake เพื่อให้ลดความเร็วได้อย่างนุ่มนวล มีระบบป้องกันล้อลื่นไถล Traction Control System รวมทั้งยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการทดสอบ POC ผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ E-sim และมี GPS ในตัว โดยข้อมูลที่ถูกเก็บมา จะถูกส่งต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำการวิเคราะห์และพัฒนา EV ในอนาคตต่อไป
“ยามาฮ่า E01” ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไลออน ขนาดใหญ่ 4.9 กิโลวัตต์ชั่วโมงให้กำลังขับเคลื่อนสูงสุด 8.1 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ 5,000 รอบ และแรงบิดสูงสุด 30.2 นิวตันเมตรที่ 1,950 รอบ สามารถวิ่งได้สูงสุด 130 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ตามมาตรฐาน WMTC คลาส 1 ในยุโรป และสามารถเลือกชาร์จแบตเตอรี่ได้ 3 รูปแบบ เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งาน และรองรับการขับขี่ในทุกสถานการณ์ ได้แก่ 1.เครื่องชาร์จแบบเร็ว - เหมาะสำหรับการติดตั้งโดยผู้ให้บริการแบ่งเช่ารถ หรือ ตัวแทนจำหน่าย สามารถชาร์จ จาก 0% ถึง 90% ได้ภายใน 1 ชั่วโมง 2.เครื่องชาร์จแบบปกติ - เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในบ้าน สามารถชาร์จ จาก 0% ถึง 100% ได้ภายใน 5 ชั่วโมง ที่แรงดันไฟฟ้า 200V (เข้ากันได้กับเต้ารับ 200–240V ในประเทศต่างๆ) 3.เครื่องชาร์จแบบพกพา - พกพาสะดวกด้วยขนาดที่พอดีกับช่องเก็บของใต้เบาะนั่ง สามารถชาร์จจาก 0% ถึง 100% ได้ภายใน 14 ชั่วโมง ที่แรงดันไฟฟ้า 100V (200–240V ในประเทศต่างๆ)
อีกทั้งระบบมอเตอร์ไฟฟ้าของ “ยามาฮ่า E01” ที่พัฒนาและผลิตขึ้นภายใต้ลิขสิทธิ์เฉพาะของ ยามาฮ่า เพื่อสมรรถนะและคุณภาพสูง รวมถึงเฟรมที่ได้รับการออกแบบใหม่โดยเฉพาะ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีจากการพัฒนารถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตมาใช้งาน “ยามาฮ่า E01” มาพร้อมโหมดการขับขี่ 3 ระดับ เพื่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะใช้งาน และไลฟ์สไตล์การขับขี่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ PWR (โหมดเพาเวอร์): กำลังสูงสุด 8.1kW ที่ 5,000rpm แรงบิดสูงสุด 30.2Nm ที่ 1,950 rpm สามารถทำความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับการขับขี่ที่ดึงกำลังสูงสุดของมอเตอร์ออกมา เหมาะสำหรับการขี่ขึ้นเนิน และการเร่งแซง ฯลฯ , STD (โหมดมาตรฐาน): กำลังสูงสุด 8.1kW ที่ 5,000rpm แรงบิดสูงสุด 24.5Nm ที่ 1,500 rpm สามารถทำความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหมาะกับการขับขี่ทั่วไปที่ใช้บ่อยที่สุดในช่วงความเร็ว 30-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง, ECO (โหมดอีโค): กำลังสูงสุด 5.4kW ที่ 4,500rpm แรงบิดสูงสุด 21.4Nm ที่ 1,500rpm ทำให้ประหยัดพลังงานและสามารถเดินทางได้ระยะไกลขึ้น เพื่อจำกัดการใช้พลังงานแบตเตอรี่และจำกัดความเร็วสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ผู้ที่สนใจทดลองขับขี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า “ยามาฮ่า E01” โดยภายในเดือนสิงหาคม ทางยามาฮ่าจะเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อทดลองขับขี่ได้ที่ยามาฮ่า ไรเดอร์ คลับ (Yamaha Riders’ Club) สาขาเกษตรนวมินทร์
โดย นรินทร โชติภิรมย์กุล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Hi-Kool เขย่าวงการฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ปี 68 แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่
“ไฮคูล” ชูความเป็นฟิล์มกรองแสงอันดับ 1 ของประเทศไทย เตรียมเปิดตัวแบรนด์ใหม่ หวังตีตลาดฟิล์มกรองแสงจากจีน
ขับนิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์ และอัลเมร่า กับทริป “Waycation: ขับสนุกตามแสงตะวัน”
นิสสัน พาสัมผัส คิกส์ อี-พาวเวอร์ และอัลเมร่า ขับเพลินในฤดูกาลท่องเที่ยวปลายฝนต้นหนาว ในทริป “Waycation ขับสนุกตามแสงตะวัน
ฉลองปีใหม่กับแคมเปญ “YES! NISSAN Plus Campaign นิสสัน พลัสเพิ่มความสุข กับบริการที่นิสสัน”
นิสสัน มอบความสุขส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เปิดตัวแคมเปญ “YES! NISSAN Plus Campaign นิสสัน พลัสเพิ่มความสุข กับบริการที่นิสสัน”
วัยอนุบาลก็สนุกได้ กับงาน MOTOR EXPO 2024
นักเรียนอนุบาล โรงเรียนกุมุทมาส เข้าร่วมกิจกรรมมากมายในงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41” ทั้งเรียนรู้ขับรถตามกฎจราจร ฝึกทักษะขับรถ F1 ชมรถโบราณ ฯลฯ
‘มิชลิน’ ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ในงาน Asia Pacific Media Day 2024
มิชลิน ผู้นำระดับโลกด้านการผลิตวัสดุคอมโพสิตและการนำเสนอประสบการณ์การเดินทางเพื่อขับเคลื่อนชีวิตที่ดีกว่า จัดกิจกรรมครั้งใหญ่ Michelin Asia Pacific Media Day 2024
โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงาน “โฟตอน คัมมินส์ เอ็นจิ้น” ในไทย
โฟตอน มอเตอร์ (Beiqi Foton) จับมือ คัมมินส์ (Cummins) แบรนด์เครื่องยนต์ดีเซลชั้นนำของโลก ขยายตลาด จัดตั้ง “บริษัท โฟตอน คัมมินส์ เอ็นจิ้น