เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจถึงความก้าวหน้าใหม่ ที่เปลี่ยนผ่านโลกใบเก่าสู่การเป็นโลกใบใหม่วันนี้ให้ละเอียดและประณีตทางความคิด มากกว่าแค่ได้ยินหรือเข้าใจอย่างฉาบฉวยด้วยเหตุว่าการเปลี่ยนผ่านจากโลกเก่าสู่โลกใบใหม่นั้นมีความละเอียด ลุ่มลึก เกินกว่าที่หลายคนคิด และมันส่งผลต่อการพัฒนาคนและการศึกษา ที่มีสถานะบทบาทสำคัญที่จะชี้ชะตาความก้าวหน้า ความล้าหลัง-ถดถอย หรือความรุ่งเรืองของประเทศ จากวันนี้สู่อนาคตอย่างปฏิเสธไม่ได้!!!
ประเด็นความเปลี่ยนแปลงที่กล่าวข้างต้นนั้นมีนัยสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร การศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยรวม หากพิจารณาถึงการบริหารจัดการไม่ว่าจะเรื่องการพัฒนายกระดับคนหรือองค์กร ที่กำลังเคลื่อนอยู่ในกระแสเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยจะพบว่าสภาพที่เปลี่ยนไปโดยรวมนั้นมีความเคลื่อนไหวและการงานราวเหมือนเป็นคนละโลกทีเดียว!
หากปรมาจารย์ด้านการบริหารอย่าง ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ ผู้สร้างคัมภีร์การบริหารที่รุ่งโรจน์อยู่ในช่วงศตวรรษก่อนหน้านี้ ต้องมาเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันขณะ อาจต้องพลิกตำราคิดค้น-วางกรอบแนวทางใหม่ให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าเรื่องขององค์กร สภาพการผลิต-บริการ อาชีพ-การทำงานที่ผุดขึ้นใหม่วันนี้ ซึ่งหมายถึงว่าความคิดฝังลึกในด้านการบริหารจัดการ หรือ mindset ที่ฝังอยู่ในผู้คนตลอดไป จนถึงกระบวนการปฏิบัติการแบบเดิมๆ มีสภาวะแตกต่างอย่างยิ่งกับโลกวันนี้!!!
มิติความเข้าใจโลกยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นนี้ มีข้อกังขาว่าผู้คนจำนวนไม่น้อย รวมถึงผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงาน/สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร-การจัดการศึกษา นั้นเข้าใจความคิด ทิศทาง และกลไกในบริบทการเปลี่ยนแปลงเพียงใด เพราะบทเรียนจากการทำงานและการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาบอกสอนว่า ความเข้าใจที่พร่ามัว-ไม่กระจ่างชัดนำสู่ความคิด ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีและภาคปฏิบัติที่บิดเบี้ยวพิกลพิการ! ซึ่งแน่นอนว่ามันจะสร้างผลลัพธ์ที่พิกลพิการ ไม่ตอบโจทย์ความเคลื่อนไหวของโลกใหม่ยุค 4.0 ได้!!!
สมการที่ว่า การตั้งข้อสังเกตและค้นคว้า – นำไปสู่ความเข้าใจ – ความเข้าใจจะนำสู่การปรับสร้างความคิดฝังลึกในทิศทางใหม่/เปลี่ยนมายเซตใหม่-นำสู่วิสัยทัศน์ใหม่/คอนเซ็ปต์ใหม่-สร้างแนวทางการทำงานใหม่-ปรับกระบวนการปฏิบัติใหม่-เพื่อสร้างผลลัพธ์ในทิศทางและเป้าหมายใหม่ ฯลฯ นั้น สมการนี้ยังมีมนต์ขลังเสมอกับทุกสถานการณ์-ทุกบริบทของความเปลี่ยนแปลง-ทุกการสร้างการเปลี่ยนผ่านให้ทุกองค์กร!!! นี่คือความสำคัญของการตั้งข้อสังเกต-ทำความเข้าใจให้ชัดถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่าน..เพื่อนำสู่การจัดการสร้างคุณภาพคนยุคใหม่ในระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ-สังคมยุคใหม่ ที่กำลังเปลี่ยนไปทุกขณะ!!!
การเปลี่ยนผ่านจากโลกเก่าสู่โลกใหม่ที่ปรากฏวันนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นผลิตผลของสติปัญญา-การสร้างความก้าวหน้าจากการประดิษฐ์คิดสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี การสื่อสาร และการพัฒนาศักยภาพหลากหลายมิติผสมผสานเข้ากัน จนก่อรูปความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ-สังคมใน 2 ทิศทางคือ การเกิดขึ้นของโอกาสใหม่ๆ หรือไม่ก็การทำลายล้าง! โอกาสใหม่จะเป็นของผู้คน-องค์กรที่เคลื่อนไหวรับรู้เร็วเท่าทันโลกใหม่ ส่วนการทำลายล้าง-วิกฤตการณ์จะเกิดกับกลุ่มที่ปรับตัวยากหรือไม่ปรับตัวเคลื่อนไหวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น! นี่คือสภาวะที่ต้องระมัดระวังยิ่งในการพัฒนาบุคลากรยุคใหม่!
ลองพิจารณาถึงผลสำรวจอย่างง่ายๆ ที่สำนักงาน EEC HDC จัดทำขึ้นเสริมสร้างแนวทางการเปลี่ยนผ่านกระบวนระบบการพัฒนาบุคลากรจากแบบโลกเก่าสู่โลกใหม่ จากการสำรวจเชิงคุณภาพพบว่า การปรับเปลี่ยน ความคิดฝังลึก (mindset) ในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา จากแบบเดิมสู่โลกใหม่ยุค 4.0 พบว่าบุคลากรของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 10 เท่านั้นที่เข้าใจและตระหนักพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการมีมากกว่าร้อยละ 70 เข้าใจและตระหนักถึงการพัฒนาองค์กร-ระบบการผลิต-การบริการที่ต้องการบุคลากรในทิศทางที่ต้องปรับปรุงหรือสร้างขึ้นใหม่ นี่คือช่องว่างที่น่าสนใจว่าบ้านเมืองในสภาวะอย่างนี้จะไปต่อกันยังไง?
ส่วนผลรวมการยกระดับพัฒนาการผลิตระบบเดิมสู่ระบบ 4.0 ของโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ สำรวจพบว่าอัตราส่วนการใช้คนทำงานมูลค่า 1 ล้านบาท เดิมใช้คน 10 คน หลังปรับเป็น 4.0 จะใช้คนเพียง 1 คน และมีการลดลงของต้นทุน-การใช้ทรัพยากร-การสูญเสียโดยเปรียบเทียบระบบเดิมพบว่า อุตสาหกรรม 4.0 มีผลรวมที่ประหยัดค่าใช้จ่าย-เพิ่มศักยภาพการผลิต-หยุดยั้งการเสียหายได้ดีกว่าระบบเดิมสูงถึงร้อยละ 38 ถึง 40 ทีเดียว นี่คือ 3 มิติง่ายๆ ที่หยิบยกมาขยายความให้เข้าใจความเคลื่อนไหวและผลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเปรียบเทียบ!
ส่วนมิติปัญหาอุปสรรคในการปรับตัวเปลี่ยนผ่านนอกจากปัญหาทักษะ-ความรู้โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาจะวนอยู่กับเรื่องใหญ่ๆ 2 เรื่องคือ ระบบระเบียบ-สิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการ ปัญหา-อุปสรรคที่สุดคือ ระบบระเบียบ-แนวปฏิบัติของราชการที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ส่วนที่ 2 ก็คือ ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องวิสัยทัศน์ในการจัดการองค์กรที่มีผลต่อการวางเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการที่ผิดแผกแตกต่างกันไป ส่วนด้านการพัฒนาบุคลากรและศึกษา ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญก็เป็นเช่นเดียวกับภาคเอกชนคือ ระบบระเบียบราชการและความคิดฝังลึก (mindset) ที่เป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/หน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งเป็นอุปสรรคปัญหาในการพัฒนาคน-พัฒนาบ้านเมืองอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว!!!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขบวนการแพทย์ชนบท กับรางวัลแมกไซไซ ปี 2024 ทิศทางพัฒนาระบบสุขภาพไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. คณะผู้แทน”ขบวนการแพทย์ชนบท” ได้เดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2024
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย