เริ่มต้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนดี เศรษฐกิจโลกพ่นพิษใส่ไทยต้อนรับตรุษจีน
FED ส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะรัดเข็มขัดเมื่อพฤหัสบดีที่แล้ว ทำให้หุ้นเททั้งกระดานทั่วโลก
ภาค real sector ทางการเงินเริ่มได้รับผลกระทบจากการคาดสถานการณ์ผิดเรื่องโรคระบาด แทนที่จะช่วยกันป้องกันรักษาภาค real sector และจัดการความเสี่ยง กลับเอาความเสี่ยงมาเป็นเกมการพนัน บริษัทประกันต้องล้มหรือเลิกกิจการ มีผลกระทบต่อห่วงโซ่ธนาคาร เกิดการล้มละลายใหม่
อีกทั้งภาคก่อสร้างและห่วงโซ่ของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งที่ดินทำกินว่างเปล่ากำลังจะโดนภาษีถ้าไม่พัฒนา และผู้บริโภคที่หมดเงินบริโภค ตลอดจนภาคเอกชนไม่มีเงินลงทุนใหม่ทั้งห่วงโซ่ และการส่งออกสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และการนำเข้าวัตถุดิบประสบกับปัญหาหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
ทั้งหมดนี้จะทำให้การลงทุนต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในกรณีที่เลวร้าย พลาดเป้า การเก็บภาษีไม่เข้าเป้า นำมาสู่การขาดดุลงบประมาณ และดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้ภาคธุรกิจครัวเรือนและภาครัฐสูงไม่สามารถบริโภคและจับจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้กดดันดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นทำให้มีภาระหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจมากขึ้น และในที่สุด
เศรษฐกิจที่เติบโตจาก rent หรือค่าเช่าในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ ด้านการเงิน การธนาคาร การลงทุน การชำระหนี้ การประกันภัย การท่องเที่ยว ร้านอาหารโรงแรม และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ตลอดจนค้าปลีก ยี่ปั๊วซาปั๊วทั้งหมดในห่วงโซ่ของ rent มีหนี้เพิ่ม ต้นทุนหาย กำไรหด
นักเศรษฐศาสตร์ เรียกเศรษฐกิจนี้ว่า เศรษฐกิจ “ไฟ” อันได้แก่ Finance Insurance Real Estate “ FIRE Economy” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใช้เงินในการสร้างความมั่งคั่งให้คนไม่กี่กลุ่ม
ในเศรษฐกิจ FIRE นี้ คิดมูลค่าค่าเช่าเงิน ทรัพย์สินและสินทรัพย์( Rent seeking ) ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เช่นค่าเช่าห้องแถว ช้อปปิ้งมอลล์ ที่ดิน คอนโดที่พักอาศัย การคิด premium ประกันทุกชนิด แม้กระทั่งอัตราดอกเบี้ยสุดโหดจากการเช่าเงินและการมียี่ปั๊วซาปั๊ว ต่างๆ รวมทั้งการเช่าทำการค้าการทำธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการคอร์รัปชั่นจึงทำให้เศรษฐกิจเกิดความเหลื่อมล้ำอย่างมากทั่วโลก
ประเทศไทยจัดประชุมเอเปคท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านนี้
เศรษฐกิจไฟนี้คงจะเดินหน้าร่าเริงต่อไปเรื่อยๆ ถ้าไม่บังเอิญต้องเจอกับหงส์ดำตัวที่สองคือ โควิด 19 เสียก่อนซึ่งไม่เคยเจอมาก่อน นอกจากฆ่าคนตายไป 5.677 ล้านคนยังอาจส่งผลร้ายเป็น The Great Stagflation ภายในปีนี้และอีกหลายปีข้างหน้า
เศรษฐกิจ FIRE แบบนคราเก่า ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ได้ล่มสลายซ้ำแล้วซ้ำอีกมาหลายครั้งหลายหนใน FIRE Sector ล้มไม่ลุกคลุกไม่คลานมาตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน คือเศรษฐกิจแบบ Rent seeking ของ ภาคการเงินการคลัง( Finance ) ประกันภัย ( Insurance ) และภาคอสังหาริมทรัพย์ ( Real Estate ) มีนายหน้าตัวกลางยี่ปั๊วซาปั๊ว สร้างงานบนระบบผูกขาด ใช้แรงงานที่มีการจ้างงานแบบunderemploymentสูงเพื่อคุมค่าจ้างแรงงานให้ต่ำแต่ดูจ้างงานมาก ตลอดจนสร้างอุปสรรคการทำธุรกิจที่ไม่ยุติธรรม ไม่มีการแข่งขัน มีกฎระเบียบมากมายหยุมหยิมยุบยับและไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการค้าที่เสรีและเป็นธรรม
อันเป็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าเศรษฐกิจนี้จะเลี้ยงมนุษย์โลกที่จะเพิ่มขึ้นจาก 7.8 พันล้านในปีนี้ไปจนถึงปี 2050 คืออีก 30 ปีข้างหน้าเมื่อประชากรโลกเพิ่มเป็น 9.9 พันล้านคนได้อย่างไร และเศรษฐกิจอะไรจะสร้างงานและเงินและเศรษฐกิจโลกได้อย่างไรในอีก 30 ปีข้างหน้า ความเหลื่อมล้ำและความยากจนที่ยังคงมีอยู่จะต้องใช้เศษฐกิจอะไรมาเยียวยา
เศรษฐกิจที่ว่านั้นต้องโตไม่ใช่จากสมการคงที่ของเศรษฐกิจ FIRE หรือ GDP คือ C+I+G+ ( X-M ) แต่น่าจะเป็นเศรษฐกิจ FAIRLESS ของสมการความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างมีระบบในพลวัตรใหม่
เศรษฐกิจพลวัตรใหม่ FAIRLESS ของอีกนครานี้น่าจะมาจากตัวแปรต่างๆด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม และ ความแม่นยำทางผลิตผลและประสิทธิภาพ ด้วยการป้องกันและจัดการความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
F คือ Food ที่จะต้องผลิตโดยการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตผลเพื่อเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรในรูปแบบใด ซึ่งได้แก่ แบบ Bio-Circular- Green ที่ประเทศไทยกำลังเสนอให้ การประชุมเอเปค ซึ่งรวม ไบโอ การแพทย์ ยา และสาธารณสุข A คืออุตสาหกรรม ดิจิทัลและเทคโนโลยีเอไอแห่งอนาคตกาล I คือโครงสร้างพื้นฐานใหม่ R คือ Robotics E คือพลังงาน มวลชีวภาพ พลังงานหมุนเวียน ลม แสงอาทิตย์ แทนฟอสซิล L คือ Labor ประชากรโลก ที่จะร่วมสร้างงานและทำงานในพลวัตรใหม่การป้องกันจัดการความเสี่ยงจาก Climate Change ไปด้วยกัน ส่วน ESS คือ ตัวพลวัตร Economy of Scale, Speed, และ Scope
ส่วน APEC ในปีนี้ เจ้าภาพไทยชูเศรษฐกิจ BCG เป็นธงหลัก หวังประคับประคองประกายไฟการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ให้แผ่วลง แต่ไทยต้องระวังไม่ให้ติดหล่ม เสียเวลาอันมีค่าไปกับการแก้ปัญหาแต่ผิวเผิน หรือพึงพอใจกับชัยชนะเล็กๆ อย่างการเลิกใช้ถุงพลาสติก หรือส่งเสริมการติดแผงโซลาร์เซลล์ในครัวเรือน แต่ควรมุ่งมั่นขับเคลื่อนโลกให้พ้นจากเศรษฐกิจ FIRE ที่ลามไปทั่วระบบเศรษฐกิจโลก ให้ไปสู่เศรษฐศาสตร์นคราใหม่ที่เสรี เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบ ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
สำหรับประเทศไทย เป็นประธานการประชุมระหว่างหน่วยงานกำกับการแข่งขันสมาชิกเอเปคในปีนี้ ซึ่งจะต้องทำหน้าที่กำกับดูแลการแข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้น กฎหมายการแข่งขันก็ต้องมีบทบาทขับเคลื่อนวาระนี้เช่นกัน โดยนอกจากจะมุ่งมั่นผลักดันให้หน่วยงานกำกับการแข่งขันในเอเปคให้ความสำคัญใส่ใจประเด็นการแข่งขันที่มีธุรกิจ MSME เป็นศูนย์กลาง ทั้งในช่วง covid 19 ระบาด และช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว จะจัดให้มีการหารือเกี่ยวกับการเสริมศักยภาพการกำกับการแข่งขันในตลาดดิจิตอล ที่นอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ยังเติบโตและเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้เกิดประเด็นปัญหาการแข่งขันที่ใหม่ๆ ที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องตามให้ทัน
กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประเทศชาติจะเปลี่ยนไป เมื่อคนไทยเปลี่ยนแปลง
ประเทศไทยจะอยู่กับวิกฤติการเมืองที่เลวร้าย หรือจะก้าวต่อไปสู่อนาคตที่ดีกว่า 2เส้นทางเดินสำคัญที่คนไทยจะต้องเลือกเดิน คือ…1.เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป คนไทยต้องเปลี่ยนตาม(When the world changes and we change with it.) หรือ 2.เมื่อคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยก็จะเปลี่ยนตาม(When we change, the world changes.)
ปฎิรูปการศึกษา: กุญแจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ไม่ทราบจะเรียกว่าเป็นวิกฤตได้ไหม เมื่อผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA ประจำปี 2565 ของนักเรียนไทยออกมาต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ในทุกทักษะ ทั้งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน
สังคมไทยภายใต้กระบวน การยุติธรรมหลาย มาตรฐาน
ต้องยอมรับว่าหลายๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ระบบสังคมโดยเฉพาะระบบย่อยหลายระบบ เช่น เศรษฐกิจ ครอบครัว สาธารณสุข ความเชื่อและศาสนามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตด้านวัตถุ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า หรือการนำปัญญาประดิษฐมาประยุกต์ใช้งานและธุรกิจต่างๆ
เศรษฐกิจไทย วิกฤติ หรือ ไม่วิกฤติ
วิกฤติหมายถึงอะไร ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตหรือไม่ ขณะนี้มีความสับสนอย่างมากในสังคมไทยในการใช้คำว่า วิกฤติ
โฉนดเพื่อเกษตรกรรมกับปัญหาการลักลอบเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สืบเนื่องจากนโยบายปัจจุบันของรัฐบาล ที่ได้ผลักดันให้มีการออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมให้กับที่ดินเกษตรกรรม ส.ป.ก. โดยคาดหวังว่า นโยบายนี้จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่งทางทรัพย์สินให้กับเกษตรกรที่ยากจนได้ และในขณะเดียวกัน ก็จะสามารถอนุรักษ์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเกษตรกรรมเอาไว้ด้วยนั้น
นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรรอบใหม่ : ทำอย่างไรไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) รอบใหม่นี้นับเป็นครั้งที่ 14 ในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา คำถามคือการพักชำระหนี้ครั้งนี้จะช่วยลดยอดหนี้คงค้างของเกษตรกรลงสู่ระดับที่เกษตรกรสามารถผ่อนชำระได้ตามปรกติโดยไม่เดือดร้อนได้หรือไม่