หลายคนรู้จักกับนักการเมืองรุ่นใหญ่ อย่าง “ยงยุทธ ติยะไพรัช” อดีตประธานรัฐสภา ที่มีลูกสาว “สส.โฮม” ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่ “สส.โฮม” ได้ตัดสินใจลงเล่นการเมือง จากมาดามสู่สส. มีอะไรต้องเปลี่ยนเยอะ และด้วยภาพลักษณ์ที่สดใส เป็นมิตร เฟรนลี่กับทุกคน จึงได้รับคำเรียกเล่นๆว่า ทูตสันถวไมตรี เพราะ “สส.โฮม” เป็นกันเอง ไม่ถือตัวกับทุกคน แต่ใครจะไปรู้ว่าชีวิตของ “โฮม” นั้น ผ่านอะไรมาบ้าง จึงได้ไปสอบถาม
โดยเจ้าตัวได้เล่าว่า ตอนเด็กอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และช่วงมหาลัยก็ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพกรุงเทพมหานคร ที่บ้านจะให้เรียนตลอด แต่เราไม่ใช่คนเก่ง เรามองว่าลูกสามคนทั้งหมด เราด้อยที่สุด และเมื่อเรียนจบกลับมาทำสโมสรฟุตบอลกับพี่ชาย (มิตติ ติยะไพรัช) เราเป็นตำแหน่งรองประธานสโมสรฟุตบอลเชียงรายยูไนเต็ดดูหลังบ้านของสโมสร แต่ตอนนี้เราปล่อยให้พี่ชายจัดการทั้งหมด และเราอยู่ในแวดวงการเมืองตั้งแต่เด็ก จนเรามีความอินกับความเป็นนักการเมืองและได้โอกาสที่คุณพ่อทำพรรคเพื่อชาติพอดี จึงได้มาเป็นสส.บัญชีรายชื่อ ของพรรคเพื่อชาติในสมัยแรก
...ในสมัยที่สองมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเล็กน้อย ได้เข้ามาอยู่ใต้ชายคาของพรรคเพื่อไทย เป็นครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น เป้าหมายของเราค่อนข้างชัดเจนขึ้น และเรามาลงสมัครส.ส.เชียงราย ในระบบแบ่งเขต ก็ได้รับการคัดเลือกจากประชาชนเขต 2 จังหวัดเชียงราย ส่วนทำไมถึงคิดจะเข้าพรรคเพื่อไทยตอนนั้น ด้วยนโยบาย และพื้นเพคุณพ่อก็อยู่ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทยมาก่อนที่จะเป็นพรรคเพื่อไทย เราก็จะมีความคุ้นเคยเรื่องนโยบายที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดในเวลานั้น ที่เราได้ศึกษานโยบายของแต่ละพรรค
วิธีการทำงานจากภาคเอกชน ทำงานเรื่องกีฬา มาสู่การเมืองมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ต้องทำงานกับคนหลากหลายเหมือนกัน เพียงแต่สโมสรฟุตบอลที่เราดูหลังบ้านนั้น เราอาจจะไม่ได้ดูเรื่องของบุคคลโดยตรงแต่เราดูเรื่องของตัวเลข และในส่วนของการเป็นนักการเมือง คือเราต้องเก็บปัญหาทั้งหมดของประชาชนแล้วมาสะท้อนในสภาผู้แทนราษฎร ผ่านนโยบายและกระบอกเสียงในรัฐสภาด้วย แต่ส่วนตัวชอบอยู่กับชาวบ้าน และเป็นคนที่มีความสุขทุกครั้งที่ได้แก้ปัญหาให้กับเขา และรู้สึกว่าในวันที่เขามีความทุกข์เขามาปรึกษาสส. หรือมาสะท้อนให้ฟัง เรารู้สึกว่าประชาชนลำบาก และไม่ใช่แค่ครอบครัวเดียวแต่มีหลายเคส จึงจับปัญหาเหล่านี้มาแก้ไข “เมื่อแก้ไขได้ชาวบ้านเดินเข้ามากอด เราก็จะรู้สึกมีความสุข เราได้เห็นชาวบ้านยิ้ม” ชื่อสส.โฮม ชาวบ้านก็จำได้ เราก็โอเค
และในเขตของเราก็มีทั้งบนดอยและเมือง ซึ่งบนดอยนั้นเป็นชาติพันธุ์ ปัญหาหลักมี 3 อย่างคือ น้ำ ไฟ ถนน ที่พ่อแม่ชาวชาติพันธุ์เจอ เราก็เอากรณีนี้ลงมาทำงานประสานกับหน่วยงานราชการและเอากลับขึ้นไปแก้ไข แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา เพราะบางพื้นที่เป็นพื้นที่ป่า หรือพื้นที่อุทยานดังนั้นการแก้ไขไม่เหมือนกัน การประสานงานกับหน่วยงานราชการก็ไม่เหมือนกัน
ซึ่งการประสานงานกับหน่วยงานราชการเป็นเรื่องที่ยาก แต่เราเป็นสส.ที่ไม่ไปกร่างกับระบบราชการ เราไปขอข้อมูล และขอความอนุเคราะห์ พูดในสภาฯบ้าง แต่เราจะบอกชาวบ้านตลอดว่าใช้เวลา เพราะต้องการความถูกต้อง ถูกระเบียบ ไม่เช่นนั้นถ้าเราไปบีบราชการเยอะๆ แล้วเขาต้องมานั่งทำผิดระเบียบ หรือนั่งกลัว เราจะไม่โอเค ดังนั้น เราต้องทำให้เขาสบายใจด้วย โดยการทำงานที่ถูกต้องทุกอย่าง และถ้ามีอัพเดทอะไรเราจะกลับไปบอกชาวบ้านเรื่อยๆ จนกว่าจะสำเร็จ
ที่ผ่านมา ได้ผลักดันเรื่องใดบ้างในสภาผู้แทนราษฎร?
เรื่องที่เห็นชัดเจนคือตอนนี้เราเป็นประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สภาผู้แทนราษฎร
เนื่องจากในเขตพื้นที่ของเรามีพี่น้องหลายชาติพันธุ์ เราจึงมองว่าเมื่อเรารับฟังปัญหาแล้วเราก็อยากขับเคลื่อนและทางพรรคก็เปิดโอกาสให้เราทำเรื่องนี้ และเรื่องชาติพันธุ์ เราตั้งใจตั้งแต่ต้นว่าเราสนใจด้านนี้ คุณแม่ (สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช) ที่อยู่ในกลุ่มพัฒนาสตรีจังหวัด สภาวัฒนธรรม และหนึ่งใน founder ที่ทำเรื่องโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย
ดังนั้นเราจะมีความรู้สึกซึมซับเรื่องสังคม ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากทำ แต่ภายในพรรคมีคนที่เรามองว่าเขามีความสามารถที่จะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวได้ดีกว่า เราจึงได้ทำเรื่องชาติพันธุ์ เพราะนโยบายของพรรคเพื่อไทยขับเคลื่อนเรื่องสัญชาติ มองเห็นชัด แต่แค่จะมีใครที่มาขับเคลื่อนต่อ เราจึงยกมือเสนอตัวเอง ส่วนชาวบ้านในพื้นที่นั้นมีความสุขมาก เพราะเขาคิดว่าเสียงของเขาดังขึ้น ไม่ใช่แค่เฉพาะของจังหวัดเชียงราย แต่เสียงของชาติพันธุ์ ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ทุกเสียงมีความหมายขึ้น เขารู้สึกว่าเขามีตัวตนขึ้น และชาวบ้านไม่กลัวเรา เพราะเราอาจเป็นเฟรนลี่ ตอนไปหาพวกเขาไม่ใช่เอาความรู้สึกแย่ๆไปให้ชาวบ้าน เราต้องเอาความรู้สึกที่ดีไปให้เขาได้มากที่สุด และเราจะบอกอีกว่า ให้ใช้งานได้ สส.ต้องรับใช้ประชาชน อย่าไปมองว่าสส.เป็นเจ้านาย หรือมาสั่งการ ชาวบ้านมีอะไรก็มาคุยได้ แต่บอกก่อนว่าอาจจะช้าหรือเร็วแล้วแต่ช่วงเวลาที่จะได้แก้ไขปัญหา รอหน่อย เดินให้อย่างแน่นอน
“หลายคนมองว่าเราเป็นไมตรีกับทุกคน เพราะเรามองว่าสส.ไม่ใช่พวกเขาพวกเรา เรามองว่าสส.ต้องร่วมมือกันหมด เราไม่ตีกับใคร เพราะไม่ชอบ ไม่อยากทะเลาะกับใคร พยายามประนีประนอมที่สุด เราไม่อยากให้มีปัญหา”
หลายคนบอกว่าสส.โฮม คือบ้านใหญ่?
บ้านใหญ่ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ เพียงแต่การที่เราเกิดมาอยู่ในครอบครัวนักการเมือง เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่การที่มาอยู่ในครอบครัวทำให้เราได้ซึมซับความเป็นนักการเมือง และการที่เราอยากจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และเรามาอยู่ในจุดนี้ ได้เห็นปัญหาอีกเยอะ เรามองว่าเป็นข้อดี ซึ่งการที่เราอยู่ในครอบครัวนักการเมืองคือความอินที่เราได้ช่วยเหลือประชาชน จึงทำให้เราชอบที่มาอยู่ในจุดนี้บางคนถ้าไม่ชอบจริงเข้ามาอยู่ในจุดนี้จะไม่มีความสุข แต่จากที่เราได้ดูทุกคนก็มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือประชาชน
“จะให้เราเปลี่ยนนามสกุลพ่อ ไปอยู่อีกนามสกุลหนึ่ง แล้วจะเปลี่ยนอะไรได้ เพราะคือสายเลือดของเรา จะให้เปลี่ยนนามสกุล ทุกคนก็บอกว่าเราคือลูกยงยุทธ ติยะไพรัช อยู่ดี แต่เป็นข้อดีที่เราคิดว่าการซึมซับความเป็นนักการเมืองอยู่ในสายเลือด” สส.โฮม กล่าว
บ้านเราจะมีความชัดเจน เพราะตอนนั้นมีคนบอกว่าทำไมพรรคเพื่อไทยกับพรรคเพื่อชาติควบหลายบ้าน ซึ่งจริงๆแล้วตอนที่เราหาเสียงพรรคเพื่อไทย เราชัดเจน เราไม่ยุ่งกับพรรคเพื่อชาติ และพรรคเพื่อชาติจะไม่ยุ่งกับพรรคเพื่อไทย นี่คือความชัดเจนของบ้านเรา เราหาเสียงของเรา ในส่วนของพรรคเพื่อชาติที่น้องสาวเราลง เราก็ไม่ยุ่ง จะมีกลยุทธ์อย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา เราพูดแค่นโยบายของพรรคเพื่อไทย เราโดนด่ามาเยอะ โดนกระแหนะกระแหนมาก็เยอะ แต่เรามองว่าต่างคนต่างมุมมอง ต่างคนต่างความคิด เรารู้ ผู้ใหญ่รู้ว่าการทำงานของเราคืออะไร ถ้าเป็นนักการเมืองแล้วรับทุกอย่างมาคิด ไม่ได้ เราพร้อมรับความคิดเห็นต่าง อันไหนที่เราคิดว่าเราต้องปรับ เราก็ต้องรับมาปรับ แต่เรื่องไหนที่ไม่สมเหตุสมผลที่มาจากความไม่มีสาเหตุ หรือโดนด่าโดยไร้เหตุผลนั้น จะให้รับมาใส่ตัวก็ไม่ใช่เรื่อง เราอยู่ของเรา เรามีชาวบ้านและนโยบายที่ต้องทำต่อ เราไม่ต้องการเอาพลังไปเสียกับเรื่องไร้เหตุผล
แบ่งเวลากับครอบครัวอย่างไร?
เรามีลูก 2 คน เราชัดเจนว่าเมื่อประชุมสภาฯ เราจะบอกพื้นที่ของเราเสมอว่าสภาฯ ถ้าวันศุกร์ไม่มีประชุมก็ลงพื้นที่ แต่เรื่องครอบครัวเราจะไปส่งลูก แต่ถ้าจำเป็นเราจะขออนุญาตลูก ช่วงค่ำจะพยายามอยู่กับลูก และต้องทำความเข้าใจกับเขาเพราะเขายังเล็ก รวมถึงครอบครัวด้วย ถ้าวันเสาร์-อาทิตย์ มีงานเปิดกีฬา เราก็จะเอาลูกไปด้วยเพื่อให้เขาดูว่าแม่ทำงานอย่างไร
ช่วงหาเสียงลูกของเราร้องเพลงเราได้ และดูการหาเสียงของเรา เขาจำ เป็นการซึมซับไปโดยปริยาย ส่วนเรื่องไลฟ์สไตล์หลายคนบอกว่าเราชอบออกสังคม แต่จริงๆ เราเป็นคนอินโทรเวิร์ต ถ้าจบวันเราจะอยู่กับลูก อยู่บ้านไม่ค่อยพูด หลายคนไม่เชื่อ ถ้าเราไม่พูดคือเราปิดตัวเองไปแล้ว
คุณพ่อให้คำแนะนำในฐานะนักการเมืองรุ่นพี่อย่างไรบ้าง?
คุณพ่อตอนแรกเป็นคนชอบปล่อยจอย ให้ลูกประสบปัญหาใดๆและแก้ปัญหาเอง แต่หลังๆมาเราก็ได้บอกว่า ในเมื่อพ่อมีประสบการณ์ สมมติว่าเราต้องการเดินไปจุดหมายตรงนั้น ทำไมพ่อไม่แนะนำเพื่อให้โฮมไปให้เร็วขึ้น และให้โฮมไปเจอปัญหาอื่น พ่อช่วยไกด์ไลน์ให้หน่อย เราก็จะบอกแบบนี้ และสิ่งที่พ่อสอนเสมอคืออย่าเป็นนักการเมืองที่น้ำเต็มแก้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง
ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า