ผู้อ่านหลายท่านน่าจะเห็นตรงกันว่าปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยได้เผชิญกับความ ท้าทายหลายประการท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ผลการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ที่จะทำให้สงครามทางการค้าเข้มข้นมากขึ้นและประเทศไทยย่อมจะได้รับผลกระทบหลายประการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่มีตัวเลขและดัชนีตัวชี้วัดของหลายสำนักสรุปผลตรงกันว่าประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าจะมีการเติบโตอย่างช้าๆ โดยตัวเลขจีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจะอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ไปอีกหลายปี และไม่ต้องไปคิดถึงความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียตนาม มาเลเซียหรืออินโดนีเซียที่มีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เรามีแต่เพียงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยังเป็นจุดแข็งประกอบกับมีการใช้จ่ายของภาครัฐที่ช่วยประคองเศรษฐกิจไม่ให้จมดิ่งลงไปมากกว่านี้
ดังนั้น การฟื้นตัวหรือการเติบโตของเศรฐษกิจไทยแบบ K shape ได้ส่งผลกระทบหลายประการโดยเฉพาะต่อกลุ่มคนตัวเล็กอย่างกิจการเอสเอ็มอีที่ล้มอย่างระเนระนาดเพราะขาดสภาพคล่อง ความไม่สามารถในการกำหนดราคาและคุณภาพสู้กับสินค้าของจีนที่ทะลักเข้ามาขายในประเทศทุกรูปแบบ
ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นปัญหาของสังคมกระจายเป็นวงกว้างในหลากหลายมิติตั้งแต่หนี้สินภาคครัวเรือน การผ่อนบ้านผ่อนรถ หนี้บัตรเครดิต ลามไปถึงหนี้นอกระบบและปัญหาการปิดธุรกิจหรือโรงงาน แต่ในอีกมุมหนึ่งของธุรกิจด้านการรักษาพยาบาล และการท่องเที่ยวมีการเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งความไม่เสมอภาคของรายได้ดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่คดีความต่างๆที่เพิ่มขึ้นจนล้นศาล
อย่างไรก็ตาม ในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส เพราะเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลายภาคส่วนของภาคประชาสังคมและการศึกษาได้ลุกขึ้นมาพร้อมๆกันเพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่ความเสมอภาค โดยเริ่มจาก ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ริเริ่มเป็นเจ้าภาพเชิญชวนสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการต่างๆที่ทำงานด้านช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายมากถึง 16 แห่ง ทั่วประเทศตั้งแต่เชียงใหม่ อุบลราชธานี ลงไปถึงสงขลาในการเข้ามาร่วมแสดงเจตนาและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหากฎหมายและที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงระบบและนโยบายตลอดจนการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกฎหมายกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
อีกโครงการหนึ่งคือการให้ความรู้เบื้องต้นกับประชาชนด้านกฎหมายเพื่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้หลัก “บวร”อันมีผู้ดำเนินการหลักประกอบด้วยศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน แขวงบางขุนนนท์ (o๓) วัดใหม่ (ยายแป้น) กองทุนยุติธรรมภายใต้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (หลักสูตรสตินวัตกรรมและสันติศึกษา) เน้นหลักการของศาสนาพุธเรื่องศีลห้ามาเป็นหลักปฏิบัติในด้าน ชีวิต ทรัพย์สิน สังคม ครอบครัวและสุขภาพ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งให้จบลงด้วยการ ไกล่เกลี่ยอันถือเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกภายใต้พระราชบัญญัติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ที่ประชาชนสามารถเข้าสู่การระงับข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องไปศาล อีกทั้งยังมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย รักษาความลับและความสัมพันธ์โดยมีผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความรู้ ประสบการณ์และมีความเป็นกลาง อันจะทำให้ข้อพิพาทยุติลงแบบสมานฉันท์ มีผลผูกพันและย่อมจะดีกว่าการเอาชนะกันที่ศาลยุติธรรมที่เป็นการระงับข้อพิพาทกระแสหลักซึ่งในปัจจุบันมีคดีค้างการพิจารณาอยู่นับเป็นแสนๆคดี
โครงการสุดท้ายเป็นโครงการที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยสู่ความเสมอภาคคือโครงการหลักสูตรการบริหารองค์กรไม่แสวงหากำไรตามหลักธรรมาภิบาลโดยมีมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้แก่คณะกรรมการ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์กรไม่แสวงหากำไร ประกอบด้วยมูลนิธิ สมาคม สถาบันต่างๆรวมถึงวิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) และวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นต้นซึ่งมีอยู่รวมกันเป็นจำนวนหลายหมื่นแห่งทั่วประเทศ โดยในปัจจุบันได้มีการจัดอบรมไปจำนวนหลายรุ่นแล้วและจะยังคงมีการจัดต่อๆไปอีก
ตัวอย่างข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของภาคประชาสังคมที่ลุกขึ้นมาเพื่อเป้าหมายเดียวกันให้ประเทศไทยของเราอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมในเวลาใกล้เคียงกันและเชื่อว่ายังมีอีกนับร้อยนับพันโครงการที่กระจายตัวอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายของการเป็นจิตอาสา ไม่นิ่งดูดายและ ไม่รีรอในการทำความดีในหลากหลายบทบาทของตนเพื่อสร้างประเทศของเราให้ประชาชนมีความสุขอย่างถ้วนทั่ว (Inclusiveness) ถือเป็นการให้ของขวัญปีใหม่ 2568 นี้แด่คนไทยทุกคน
เทวัญ อุทัยวัฒน์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ-มองต่างมุม
เมื่อต้นปี 2567 มีหนังสือตีพิมพ์ใหม่เล่มหนึ่ง ชื่อ The Trading Game: A Confession ผู้เขียน คือ Gary Stevenson ได้รับความชมชอบจากผู้อ่าน (4.2 ดาว จาก website Goodreads) และมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์อยู่ 2 ประเด็นว่า ผู้เขียนโอ้อวดเกินจริงว่าตนเป็นนักค้าเงินอันดับหนึ่งของโลก และอีกประเด็นในเรื่องแนวความคิดเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจที่ผู้เขียนมองว่า เป็นแนวความคิดใหม่ที่นักเศรษฐศาสตร์มองไม่เห็นมาโดยตลอด
ประเทศชาติจะเปลี่ยนไป เมื่อคนไทยเปลี่ยนแปลง
ประเทศไทยจะอยู่กับวิกฤติการเมืองที่เลวร้าย หรือจะก้าวต่อไปสู่อนาคตที่ดีกว่า 2เส้นทางเดินสำคัญที่คนไทยจะต้องเลือกเดิน คือ…1.เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป คนไทยต้องเปลี่ยนตาม(When the world changes and we change with it.) หรือ 2.เมื่อคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยก็จะเปลี่ยนตาม(When we change, the world changes.)
ปฎิรูปการศึกษา: กุญแจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ไม่ทราบจะเรียกว่าเป็นวิกฤตได้ไหม เมื่อผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA ประจำปี 2565 ของนักเรียนไทยออกมาต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ในทุกทักษะ ทั้งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน
สังคมไทยภายใต้กระบวน การยุติธรรมหลาย มาตรฐาน
ต้องยอมรับว่าหลายๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ระบบสังคมโดยเฉพาะระบบย่อยหลายระบบ เช่น เศรษฐกิจ ครอบครัว สาธารณสุข ความเชื่อและศาสนามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตด้านวัตถุ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า หรือการนำปัญญาประดิษฐมาประยุกต์ใช้งานและธุรกิจต่างๆ
เศรษฐกิจไทย วิกฤติ หรือ ไม่วิกฤติ
วิกฤติหมายถึงอะไร ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตหรือไม่ ขณะนี้มีความสับสนอย่างมากในสังคมไทยในการใช้คำว่า วิกฤติ
โฉนดเพื่อเกษตรกรรมกับปัญหาการลักลอบเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สืบเนื่องจากนโยบายปัจจุบันของรัฐบาล ที่ได้ผลักดันให้มีการออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมให้กับที่ดินเกษตรกรรม ส.ป.ก. โดยคาดหวังว่า นโยบายนี้จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่งทางทรัพย์สินให้กับเกษตรกรที่ยากจนได้ และในขณะเดียวกัน ก็จะสามารถอนุรักษ์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเกษตรกรรมเอาไว้ด้วยนั้น