นโยบายและกฎหมายรัฐบาลดิจิทัล (ตอนที่ 2) : ถอดบทเรียนกฎหมาย เสนอแนะการขับเคลื่อนและปรับปรุง

Smart city and IoT (Internet of Things) concept. ICT (Information Communication Technology).

จากตอนที่แล้ว ซึ่งเกริ่นนำใจความสำคัญของกฎหมาย 2 ฉบับ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (พ.ศ. 2562) และ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2565) กฎหมายทั้ง 2 ฉบับถูกออกแบบมาโดยเจตนาเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างยิ่งยวด มาในตอนที่ 2 นี้ จะเป็นการแจกแจงมาตราที่น่าสนใจ สัก 2-3 มาตรา และ แนะนำการนำข้อกฎหมายมาประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เพื่อการทำงานภาครัฐ ตลอดจนเสนอแนะประเด็นในการปรับปรุงกฎหมายให้ส่งผลสัมฤทธิ์ยิ่งยวด

ใน พ.ร.บ. การบริหารงานฯ มาตรา 13 กล่าวว่า “เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน”

แต่ในทางปฏิบัติ หลาย ๆ หน่วยงานยังขาดการกระตือรืนร้น และมีเหตุข้อจำกัดมากมาย เช่น

  1. ระบบสารสนเทศเดิมไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ต้องพัฒนาเพิ่มเติม  
  2. ไม่เคยมีการหารือปรึกษาหัวหน้าหน่วยงานว่าจะให้หน่วยงานอื่นใช้ข้อมูลของตนได้หรือไม่ เนื่องจากต้องเป็นการอนุมัติในครั้งเดียวแล้วใช้ต่อเนื่อง ไม่เหมือนธรรมเนียมเดิมๆ ที่ให้มาถามมาหารือทุกครั้งที่จะใช้
  3. หรือปรึกษาหารือแล้วหัวหน้าหน่วยงานยังไม่พร้อม ด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจนอึมครึม
  4. หน่วยงานต้นทางข้อมูลกังวลว่าเมื่อให้ใช้ข้อมูลร่วมกันแล้วจะเกิดการตรวจพบข้อผิดพลาดของข้อมูลและนำมาซึ่งข้อร้องเรียน
  5. กังวลว่าเมื่อหน่วยงานอื่นใช้งานข้อมูลของตนแล้ว จะเกิดข้อเรียกร้องและความต้องการเพิ่มขึ้นนำไปสู่ภาระงานเพิ่มขึ้น

ทางแก้ไขควรเป็นอย่างไร ?

ตรงนี้ หากจะแก้ให้เด็ดขาด และส่งผลกระทบจากฐานราก ผมเห็นว่าผู้มีอำนาจกำกับคณะกรรมการรัฐบาลดิจิทัล (หรือนายกรัฐมนตรี) อาจสั่งการให้สำนักงบประมาณพิจารณากำหนดมาตรการให้นำเจตนารมณ์ของมาตรา 13 นี้ ไปเป็นเงื่อนไขส่วนหนึี่งของการรับข้อเสนอโครงการและรับคำของบประมาณประจำปีจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ โดยให้ระบุว่า หากหน่วยงานรัฐมีการของบประมาณพัฒนาระบบสารสนเทศใด ๆ หน่วยงานรัฐนั้นต้องระบุสิ่งส่งมอบจากโครงการเพิ่มว่าจะมีสร้างการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลให้หน่วยงานอื่นใช้งานเป็นสิ่งส่งมอบหลัก หากไม่ระบุสำนักงบประมาณก็จะไม่พิจารณาสนับสนุนงบประมาณ

นอกจากกำหนดเป็นเงื่อนไขในการของบประมาณแล้ว ต้องกำหนดให้ประมาณการจำนวนหรือปริมาณการเรียกใช้ข้อมูลเอาไว้ล่วงหน้า และเมื่อดำเนินโครงการแล้วให้มีการบันทึกจัดและทำรายงานปริมาณและการเรียกใช้ข้อมูลทุกปี วัดสอบกับประมาณการที่ทำไว้ก่อนเริ่มโครงการ พร้อมทั้งติดตามเป็นตัวชี้วัด 3 ปีต่อเนื่อง 

เมื่อจะของบประมาณต่อเนื่อง หรือขอโครงการใหม่ ก็ให้หน่วยงานรัฐนั้นนำส่งรายงานผลการเชื่อมโยงให้หน่วยงานอื่นใช้งานย้อนหลังของทุกโครงการทุกปีในอดีตแนบประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม หากทำได้เช่นนี้ เมื่อเวลาผ่านไปหน่วยงานรัฐทั้งหมดจะเกิดการเชื่อมโยงใช้งานข้อมูลร่วมกันมากขึ้นเองโดยธรรมชาติโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร. หรือ DGA) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ไม่ต้องเหนื่อยแรงในการติดตามหรือผลักดัน เหลือหน้าที่เพียงเรียกขอข้อมูลจากแต่ละหน่วยมารวบรวมและสรุปเป็นภาพรวมการใช้งานข้อมูลร่วมกันในระดับประเทศต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)

ใน พ.ร.บ. การบริหารงานฯ มาตรา 15 กล่าวว่า “ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล”

ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง ที่ว่านี้ ดำเนินการมาปลายปีโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร. หรือ DGA) ให้ประโยชน์มีสถิติการใช้งานสูงน่าจะหลายสิบล้านครั้งแล้ว

ประเด็นที่น่าสนใจคือ คือ ประชาชนไม่ได้รับทราบว่า “ตนได้รับประโยชน์ใด” จากศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางนี้ เนื่องจากโดยธรรมชาติประชาชน (ลูกค้า) ไม่สนใจว่าระหว่างหน่วยงานรัฐมีการเรียกใช้และแบ่งปันข้อมูลกันหรือไม่อย่างไร ไม่ทราบรายละเอียดหลังบ้าน เขาย่อมมองเพียงว่าได้รับบริการสะดวกหรือไม่ เช่น ไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ ในแต่ละบริการออนไลน์ที่แต่ละหน่วยงานภาครัฐพัฒนาให้ใช้งาน หรือ เมื่อหน่วยงานหนึ่งต้องการทราบข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับประชาชนคนนั้น หน่วยงานดังกล่าวสามารถดึงและเรียกดูได้สะดวกหรือไม่ หรือ ต้องให้ประชาชนเป็นผู้สืบค้น ร้องขอ รวบรวม และนำมารายงาน หรือ นำเอกสารมายื่นประกอบด้วยตนเอง

อีกประเด็นหนึ่ง คือกรณีประชาชนไปติดต่อธุรกรรมกับหน่วยงานเอกชน หรือ หน่วยงานที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ (เช่น มูลนิธิ สมาคม รัฐวิสาหกิจ) หากจะให้ประชาชนได้ประโยชน์ ควรนำมาให้บริการภาคเอกชนและหน่วยงานนอกภาครัฐดังกล่าว เช่น

เมื่อจะไปสมัครงานกับบริษัทเอกชน ควรให้บริษัทสามารถตรวจประวัติการเสียภาษี การทำประกันสังคม ประวัติการรักษาได้ ประวัติการชำระหนี้ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ความยินยอมและมีข้อตกลงกับบริษัทที่จะว่าจ้าง

เมื่อจะไปสมัครสอบ สมัครเรียนต่อ สมัครสมาชิก ลงทะเบียนต่าง ๆ เช่น สอบตั๋วทนาย ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ (ของแพทย์) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ทำประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ/ประกันวินาศภัย ฯลฯ  ก็ควรสามารถเชื่อมโยงข้อมูลให้องค์กรและหน่วยงานที่ประชาชนไปติดต่อธุรกรรมด้วยสามารถดึงข้อมูลที่จำเป็นและเป็นปัจจุบันมาใช้งานได้โดยสะดวก (ไม่ต้องถามไม่ต้องกรอกซ้ำ ๆ) ทั้งนี้ โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ความยินยอมและมีข้อตกลงกับองค์กรหรือหน่วยงานดังกล่าว

จะเห็นว่าหาก ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูล สามารถขยายการบริการออกไปยังหน่วยงานอื่นนอกภาคราชการ สุดท้ายแล้วผู้ได้ประโยชน์คือประชาชนและก็จะกล่าวได้ว่าเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างแท้จริงมองทะลุมองไกล แล้วยังเป็นการลดต้นทุนการทำธุรกิจ ธุรกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเต็มรูปแบบไปด้วย

สำหรับบทความนี้ ก็ได้ยกตัวอย่างมาตรากฎหมายมาแจกแจงให้เห็นเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติ และขยายผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พร้อมเสนอแนะปรับปรุงการทำงาน ทั้งนี้ หากพบว่าอำนาจหน้าที่ หรือ กฎหมายไม่เอื้ออำนวยให้ดำเนินการ ก็ถึงเวลาที่จะเสนอแก้ไขกฎหมาย และยกระดับภารกิจเป็น Super Digital Government Development Agency ต่อไป

ดร. มนต์ศักดิ์  โซ่เจริญธรรม 

นักคิดนักวิเคราะห์เพื่อประโยชน์สาธารณะ

[1] https://www.europarl.europa.eu/topics/en/article/20230601STO93804/eu-ai-act-first-regulation-on-artificial-intelligence

[2] https://pub.nstda.or.th/gov-dx/national-artificial-intelligence-action-plan-for-thailand-development-2022-2027/

[3] https://www.nstda.or.th/home/news_post/mhesi-for-ai/

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

วิปริตธรรม .. ในสังคม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง

ธุรกิจคาสิโนถูกกฎหมาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกี่ยวพันผู้มีอำนาจทางการเมือง

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบของคาสิโนถูกกฎหมายต่อการฆาตกรรมและการข่มขืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้