ทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความยั่งยืนเป็นเรื่องที่รณรงค์กันมายาวนานต่อเนื่องและจะยังคงต้องรณรงค์กันต่อไป และวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่จะต้องรณรงค์คู่ขนานกันกับการพัฒนา

ความท้าทายของปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของโลกและส่งผลกระทบกับนานาประเทศมีปรากฏให้เห็นต่อเนื่อง และจะยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายศักยภาพของมนุษย์ในการเอาชนะความท้าทายต่างๆ ทั้งหลาย ซึ่งต้องการความร่วมมือทั้งในระดับบุคคล ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก 

การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นปัญหาระดับโลก เป็นกรณีตัวอย่างของความร่วมมือในการเอาชนะความท้าทายระดับโลกที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นทั่วโลก ความร่วมมือเกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ระดับสังคม ระดับประเทศ และระดับโลก 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ส่งผลกระทบเป็นวิกฤตนานัปการต่อความยั่งยืนของโลก ก็เป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องการความร่วมมือทั้งในระดับบุคคล ระดับสังคม ระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะความร่วมมือในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ 

การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ดำเนินการทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกจึงเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อปีค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 193 ประเทศได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Agenda 2030 หรือ Global Goals) อันเป็นพันธะสัญญาที่เรียกว่า “Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development”  โดยกำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการบรรลุผลสัมฤทธิ์ต่อเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย (SDGs) ไว้ภายใน 15 ปี (ปี ค.ศ. 2030) และประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องร่วมกันดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างสรรค์โลกที่อยู่ร่วมกันนี้ให้ดีขึ้น มีความยั่งยืนในปัจจุบัน และเป็นโลกที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นที่ตามมา 

วิทยาศาสตร์ คือ แก่นของการพัฒนาที่ยั่งยืน:

วิทยาศาสตร์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกเป้าหมายของ SDGs 

วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์สาเหตุและต้นตอของความท้าทายในระดับโลกและระดับท้องถิ่น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากร การแพร่ระบาดของโรค และเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ                   

วิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคาดการณ์ล่วงหน้าความท้าทายที่จะเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันและรับมือความท้าทาย เช่น การคาดการณ์และการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบในระดับท้องถิ่น เช่น วิกฤตการณ์ของภัยพิบัติทางธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยปรับฟื้นฟูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ในระยะเวลาที่สั้นหรือรวดเร็ว 

วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การผลิตวัสดุเพื่อความยั่งยืน การสร้างสมรรถนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพการงาน

 วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานสู่การพัฒนาความก้าวหน้าที่ยั่งยืน เช่น การพัฒนาความก้าวหน้าทางการแพทย์ การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางอาหารจากข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้

วิทยาศาสตร์จากการวิเคราะห์และเรียนรู้บทเรียนในอดีต นำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

โดยความร่วมมือและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับท้องถิ่นและระดับโลก เป็นยุทธศาสตร์ที่นำสู่การพัฒนาที่ตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ทั้งนี้ การทำให้คนมีเจตคติต่อการเรียนรู้ การรู้และการใช้วิทยาศาสตร์ การมีวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งยูเนสโกได้ส่งเสริมวิทยาศาสตร์เพื่อทุกคน (Fostering Science for All, UNESCO 2024)

ทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน:

2024-2033 International Decade of Science for Sustainable Development (UNESCO 2024)

จากข้อมูลการประเมินสถานะการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย (SDGs) แสดงให้เห็นว่า การดำเนินการของประเทศต่างๆ ยังห่างจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs)ที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2030 (Agenda 2030) โดยมีเพียงบางประเทศและมีเพียงบางเป้าหมายของ SDGs เท่านั้นที่มีการดำเนินการใกล้ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของ SDGsได้ ประเทศต่างๆ อาจจำเป็นต้องเร่งระดับของการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นหลายเท่าจากที่ได้ดำเนินการมาและที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส อันเป็นเป้าหมายตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) (UNFCCC COP21)

แม้นว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังเช่น การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อช่วยลดการสูญเสีย การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาวัสดุใหม่เพื่อความยั่งยืน แต่รายงานทางวิทยาศาสตร์ของยูเนสโกปี 2021 ให้ข้อมูลว่า วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความยั่งยืนไม่ได้จัดอยู่ในลำดับที่มีความสำคัญในการดำเนินงานวิจัยระดับโลก ดังเช่น มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพียง 0.03% ที่มุ่งเน้นทางเลือกอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติก  มีงานวิจัยเพียง 0.02% ที่มุ่งเน้นพืชผลที่คงทนต่อสภาพอากาศ  (Science for All, UNESCO 2024)   

        การส่งเสริมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระเร่งด่วนของการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2024-2033 เป็น “International Decade of Sciences for Sustainable Development” อันเป็นทศวรรษที่จะสร้างโอกาสพิเศษสำหรับมนุษยชาติที่จะใช้พลังทางวิทยาศาสตร์เพื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ยั่งยืน และในการสร้างอนาคตที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และปลอดภัย สำหรับทุกคน

การประกาศทศวรรษแห่งวิทยาศาสตร์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน มีเป้าหมายสำคัญที่จะสร้างวัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วมและการได้ประโยชน์ใน 5 ประเด็นที่สำคัญ คือ 1) การสร้างสังคมโลกที่มีความรับผิดชอบในการตัดสินใจและปฏิบัติ บนฐานของการรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้น 2) การสร้าง/ผลิตองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีการใช้ประโยชน์ เพื่อบรรลุความก้าวหน้าในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน 3) การสร้างความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากข้อริเริ่มทางงานวิจัยที่มีความร่วมมือระดับโลก 4) การให้วิทยาการและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เข้าถึงได้อย่างกว้างขวางและมีความเสมอภาคในการเข้าถึง ทั้งในด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเข้าถึงองค์ความรู้ 5) การปรับเปลี่ยนระบบนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ระดับประเทศให้ตอบสนองความต้องการของวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับสังคม

ทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวิสัยทัศน์(vision)ที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์เพื่อโลกที่มีความยั่งยืน ทุกคนเข้าถึงได้ 

ทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีพันธกิจ(mission) ที่จะทำให้ผู้มีบทบาททางสังคมมีส่วนร่วมในการสร้างความก้าวหน้าให้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ และทุกคนเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

ทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบทางวิทยาศาสตร์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมมากขึ้น การดำเนินการมีความสม่ำเสมอต่อเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ระบบมีความยืดหยุ่นที่ปรับได้ในสถานการณ์ที่เผชิญวิกฤต การมีนโยบายที่มุ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ปัญหาระดับโลกที่มีความซับซ้อน

การสร้างวิทยาศาสตร์ที่สามารถเร่งการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องการการบูรณาการข้ามศาสตร์ การดำเนินการแนวทางสหวิทยาการ การดำเนินการตามเป้าหมายของ SDGs โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงของเป้าหมาย 17 เป้าหมาย

ในทศวรรษแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนการดำเนินงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจำเป็นต้องหลอมรวมสหวิทยาการและบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมและตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ SDGs 

ในโอกาสของการสนองตอบต่อทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยควรสร้างโอกาสในการพัฒนาความเข้มแข็งในการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การวิเคราะห์เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของ SDG ที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับ SDG Index ปี 2567 อยู่ที่อันดับที่ 45 ของโลก (จาก 167 ประเทศ) ด้วยคะแนน 74.67 จาก 100 (อันดับที่ 1 ของอาเซียน อันดับที่ 3 ของเอเชีย) และการวิเคราะห์สถานะบรรลุเป้าหมายในแต่ละเป้าหมายของ SDGs (SDG Dashboard and Trends) ของประเทศไทยปี 2567 ประเทศไทยมีสถานะท้าทายมากในเป้าหมายทรัพยากรทางทะเล(SDG 14) และระบบนิเวศบนบก(SDG 16) และยังมีสถานะท้าทายในเป้าหมายพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้(SDG 7) การเติบโตทางเศรษฐกิจ(SDG 8) โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม(SDG 9) เมืองและชุมชนยั่งยืน(SDG 11) การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน(SDG 12) การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SDG 13) 

ในโอกาสของการสนองตอบต่อทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยควรสร้างโอกาสในการพัฒนาความเข้มแข็งในวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับสังคม

ความร่วมมือระดับบุคคลระดับท้องถิ่นระดับประเทศและระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ 

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
ดร มนธิดา สีตะธนี
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลงทุนในทองคำดีไหม

ข่าวที่เราได้เห็นอยู่บ่อยๆ ในปีนี้ ว่าราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก น่าจะทำให้เรารู้สึกว่าเราควรจะลงทุนซื้อทองคำตอนนี้ไว้มากๆ เผื่อเอาไว้ขายทำกำไรได้งามๆ ในอนาคต

เปลี่ยนก้อนหิน เป็นดอกไม้..เปลี่ยนความขัดแย้ง เป็นความปรองดอง หลอมรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย พาประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า…..

ปีแล้วปีเล่าที่ประเทศอันเป็นที่รักของเรา ต้องติดหล่ม จมอยู่กับความขัดแย้ง และทิ่มแทงกันด้วยถ้อยคำกร้าวร้าวรุนแรง แบ่งฝักฝ่ายขว้างปาความเกรี้ยวกราดใส่กัน ด้วยเหตุจากความเห็นที่แตกต่างกัน และช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความเป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสลดหดหู่หัวใจอย่างยิ่ง

ตลาดหุ้นกู้ กับ การสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

นช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทเอกชนเข้ามาระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้กันมากขึ้น ตลาดหุ้นกู้จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีมูลค่าคงค้างราว 4.5 ล้านล้านบาท  จำนวนบริษัทที่ออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนก็เพิ่มขึ้นมาก  ไม่จำกัดอยู่เพียงบริษัทขนาดใหญ่เหมือนแต่ก่อน  แต่มีทั้งบริษัทขนาดกลางขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น

ชวนนักศึกษาจบใหม่ด้าน 'วิศวะ-วิทย์ฯ' ร่วมงาน Online Job Matching

โฆษกรัฐบาลเชิญชวนนักศึกษาจบใหม่ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทุกสาขา ร่วมงาน Online Job Matching สร้างโอกาสร่วมงานกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกจากไต้หวัน

โอกาสของการพัฒนาภาคเกษตรไทย

ภาคเกษตรเคยเป็นพระเอกทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นแหล่งอาหารที่เลี้ยงดูประชากรให้มีความอิ่มหนำสำราญ สร้างโอกาสให้คนไปทำงานอื่น ๆ แถมยังสร้างชื่อเสียงเป็นหน้าเป็นตาให้ประเทศด้วย

โหมโรงของคอร์รัปชันรูปแบบใหม่ในโลกปัจจุบัน

การคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่หยั่งรากลึก แพร่กระจาย และบ่อนทำลายความไว้วางใจที่มีต่อรัฐบาล อีกทั้งยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศในทุกมิติ เมื่อเวลาแปรเปลี่ยนไป โลกเข้าสู่ทศวรรษใหม่ การคาดการณ์ถึงวิวัฒนาการของการคอร์รัปชันเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการคอร์รัปชันสมัยใหม่จะทำให้ทุกภาคส่วน สามารถพัฒนามาตรการรับมือที่มีประสิทธิผล