ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เทคโนโลยีในปัจจุบันกำลังเบนเข็มไปยังทิศทางที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ทำให้การดำเนินธุรกิจที่คิดจะเติบโตในอนาคตต้องสนใจและนำแนวคิดนี้ไปใช้งานให้ได้มากที่สุด โดย “อาทิตย์เอกเขนก” อยากจะพามารู้จักอีกหนึ่งองค์กรที่เปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เสมอมา จากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับถ่านหิน จนปัจจุบันสยายปีกพัฒนาธุรกิจร่วมต่างๆ ได้เท่าทันสถานการณ์อย่างดีเยี่ยม โดยยังยึดหลักในการที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติไว้ด้วย
โดยการคุมบังเหียนของ สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้บริษัทก้าวหน้าไปในทิศทางที่เหมาะสมกับยุคสมัยเป็นที่สุด โดยได้นำเสนอโซลูชันด้านพลังงานให้แก่ลูกค้า จากความเชี่ยวชาญใน 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งกุญแจอีกหนึ่งดอกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญนี้ก็คือ การปรับพอร์ตธุรกิจให้สอดคล้องกับกลยุทธ์กรีนเนอร์ แอนด์ สมาร์ทเตอร์ (Greener & Smarter) รวมถึงการเสริมกลยุทธ์ฟาสเตอร์ (Faster) มาเร่งความเร็วในการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในพอร์ตโฟลิโอ
ซึ่ง สมฤดี เล่าว่า ตลอดเวลาเกือบ 4 ทศวรรษของการดำเนินงาน หนึ่งในดีเอ็นเอที่แข็งแกร่งของบ้านปูคือ ความยืดหยุ่น เราจึงรู้จักตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงทีเสมอ การเปลี่ยนผ่านของบริษัทก็มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มเข้มข้นมากขึ้นเมื่อ 4-5 ปี ที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วยตอกย้ำโลกว่าโลกของเราจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวและพร้อมเปลี่ยนองค์กรของเราให้ก้าวสู่เป้าหมายของความยั่งยืนทางธุรกิจ
โดยบ้านปูให้ความสำคัญกับ 2 เรื่องหลัก คือ การเพิ่มสัดส่วนพอร์ตโฟลิโอพลังงานที่สะอาดและฉลาดให้มากขึ้น ผ่านบ้านปู เน็กซ์ และอีกหนึ่งมิติคือ การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเราได้ทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ผ่านหน่วยงาน Digital Center of Excellence (DCOE) ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้บ้านปูพร้อมแข่งขันในฐานะผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ด้วยความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจของการส่งมอบอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเมื่อมาดูถึงการดำเนินงานในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า บ้านปูกำลังอยู่ในจุดที่เปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญจากธุรกิจเชื้อเพลิงรูปแบบเดิมไปเป็นพลังงานในอนาคต ซึ่งปัจจุบันความสำเร็จของขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลครั้งนี้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วใน 4 ประเทศนำร่อง ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย จีน และอินโดนีเซีย ซึ่งในประเทศเหล่านี้มีหน่วยงาน DCOE ตั้งอยู่ที่สำนักงานในประเทศนั้นๆ โดยได้ขับเคลื่อนกระบวนการที่เหมาะกับบริบทของธุรกิจในแต่ละประเทศ ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างสรรค์ไอเดีย พัฒนา และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีนั้นๆ จากเครือข่ายเทคโนโลยีของบ้านปู โดยมีดิจิทัลโปรดักต์กว่า 82 เคส และยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ในรอบปีที่ผ่านมา บ้านปู เน็กซ์ ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการสร้างความแตกต่างในการเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานสะอาดที่ฉลาดขึ้นอย่างครบวงจร ด้วย ‘5 โซลูชันพลังงานฉลาด’ ประกอบด้วย 1.ฉลาดวิเคราะห์ พัฒนาโปรแกรมที่สามารถติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรม รูปแบบ และช่วงเวลาการใช้พลังงานสำหรับกลุ่มโรงงาน 2.ฉลาดผลิต พัฒนา Smart Energy Application (บ้านปู แอปพลิเคชัน) ให้แก่ลูกค้าที่ติดตั้งโซลาร์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อใช้งาน เป็นบริการหลังการขาย
โดยจะมีฟีเจอร์ใหม่ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟได้แบบเรียลไทม์ รวมไปถึงโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ หรือโซลาร์ลอยน้ำ 3.ฉลาดเก็บ ‘บ้านปู เน็กซ์ อีพรอมต์มูฟ’ (บ้านปู เน็กซ์ e-PromptMove) ซึ่งเป็นต้นแบบชุดผลิตและกักเก็บไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบรถเทรลเลอร์รายแรกของไทย 4.ฉลาดใช้ บริการยานยนต์ไฟฟ้า อย่าง Muvmi และ “บ้านปู เน็กซ์ อีวี คาร์แชริ่ง” ที่เติมเต็มการเดินทางให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการรับ-คืนรถแบบไร้สัมผัส เป็นต้น และ 5.ฉลาดหมุนเวียนลงทุนใน Gepp Sa-ard ผู้ให้บริการด้านข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะ
ซึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจจากการดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารและสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่สำนักงาน อาทิ ระบบ Melak Digital Center (MDC) ที่ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) วิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานให้ห้องควบคุมที่อินโดนีเซียแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างมาตรฐานระดับโลก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุน
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีสำหรับที่ไซต์งาน ทั้งที่เหมืองและโรงไฟฟ้า อาทิ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บ่งชี้เวลาและจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดที่จะทำการขุดเจาะ ซอฟต์แวร์ UMA ที่ช่วยเชื่อมต่อผู้ปฏิบัติงานในเหมืองใต้ดินกับหัวหน้างานบนภาคพื้นดินในออสเตรเลีย และ ‘SwitchDin’ ระบบบริหารจัดการการใช้พลังงานสำหรับทุกเหมืองที่ออสเตรเลียด้วยอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT) และเทคโนโลยีเก็บข้อมูล ฯลฯ
สมฤดี กล่าวว่า ล่าสุดการดำเนินงานของบ้านปูไม่ใช่เพียงแต่จะพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้น แต่การพัฒนานั้นๆ ต้องมาพร้อมกับความยั่งยืนอีกด้วย โดยยึดทั้งความยั่งยืนด้านพลังงาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล พร้อมทั้งเน้นการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจให้มีความครบวงจรมากที่สุด
โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าและสตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีพลังงาน เพื่อคิดค้นและพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และเทรนด์พลังงานของโลกอย่างยั่งยืน บ้านปูยังมีความมุ่งมั่นสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน รวมถึงสร้างผลประโยชน์อย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มใน 10 ประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
"มนตรี เดชาสกุลสม" ปักหมุดภารกิจเร่งด่วน เชื่อมโครงข่ายถนนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
หลังจาก “มนตรี เดชาสกุลสม” เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) คนที่ 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย