นโยบายและกฎหมายรัฐบาลดิจิทัล (ตอนที่ 1) : งานหลังบ้านที่ถูกมองข้าม 

Smart city and IoT (Internet of Things) concept. ICT (Information Communication Technology).

ในปี 2562 และ 2565 รัฐบาลได้ออกกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (พ.ศ. 2562) และ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2565) กฎหมายทั้ง 2 ฉบับถูกออกแบบมาโดยเจตนาเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างยิ่งยวด 

พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ออกมาเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม และพัฒนางานระบบดิจิทัลในระบบภาครัฐ การเปิดเผยข้อมูลโดยไม่มีลิขสิทธิ์สำหรับเอกชนและประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอด กระตุ้นให้จัดทำข้อมูลเป็นดิจิทัลได้มาตรฐาน สามารถแลกเปลี่ยนใช้งานร่วมกัน ไม่ต้องจัดทำซ้ำซ้อน เพิ่มความสะดวกแก่ประชาชนในการต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ (ชื่อ อายุ ที่อยู่ เพศ การศีกษา ฯลฯ) อีกทั้งลดและป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลในกรณีที่ภาครัฐจำเป็นต้องตรวจสอบสิทธิ ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อพิจารณาสนับสนุนสวัสดิการและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งที่เป็นตัวเงิน (เงินช่วยเหลือ เงินเยียวยา เงินสนับสนุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ) และไม่เป็นตัวเงิน (เช่น การฝึกอาชีพ การลดหย่อนภาษี) แก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ตามเงื่อนไข

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการกำหนดให้รัฐยอมรับเอกสารและข้อมูลรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งและสื่อสารกับประชาชนทางออนไลน์ โดยไม่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือรับรองเป็นกระดาษ หรือ ถ่ายสำเนา สำหรับกรณีที่ประชาชนยื่นขอขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดาเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใด จากหน่วยงานของรัฐ เรียกว่าครอบคลุมมาก 

ส่วนคำว่า “อนุญาต” หมายความรวมถึง ออกใบอนุญาต อนุมัติ จดทะเบียน ขึ้นทะเบียน รับแจ้ง รับจดแจ้ง ออกอาชญาบัตร รับรอง เห็นชอบ ให้ความเห็น แจ้งผลการพิจารณา แจ้งผลการดาเนินการ จ่ายเงิน ให้ได้รับสวัสดิการ และให้บริการอื่นใดแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะเห็นว่าไม่เพียงแค่ระหว่างประชาชนักับรัฐ แต่ยังรวมถึงกรณีรัฐกับรัฐขอใช้บริการต่อกันด้วย เช่น หน่วยงานรัฐขอคำปรึกษาทางกฎหมายไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือ หน่วยงานรัฐยื่นเอกสารจดหมายขอให้อีกหน่วยงานดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด

โดยหลักใหญ่ใจความแล้ว พ.ร.บ. ฉบับนี้ พูดเน้นว่า ให้ยอมรับและใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เทียบเท่าข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (เอกสาร จดหมาย หรือ บันทึก หรือ แบบฟอร์มต่าง ๆ) 

คำว่า “ยอมรับเอกสารและข้อมูลรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์” คือยอมรับในยระดับเทียบเท่ากับเอกสารกระดาษ คือ เทียบกัน 100% ห้ามปฏิเสธการรับผิด หรือ การบริการ เพียงเพราะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และยังใช้บังคับแก่การจัดส่งหนังสือ รายงาน เอกสาร หรือข้อมูล และ การจ่ายเงินค่าคาขออนุญาต ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ค่าปรับ หรือเงินอื่นใดให้แก่ทางราชการ หรือ หน่วยงานของรัฐด้วยโดยอนุโลม

ถ้าหน่วยงานรัฐ จะเรียกรับเอกสารหลักฐานประกอบอื่นใด เช่น ใบรับรองการจบการศึกษา ใบอนุญาตแรงงาน บัตรประชาชน ฯลฯ เรียกได้ แต่ต้องสำเนาเอาเอง (ห้ามให้เป็นภาระแก่ประชาชนในการสำเนา) และถ้าต้องตรวจสอบความถูกต้องจริงแท้ ของเอกสารที่เรียกจากประชาชน หน่วยงานรัฐ มีหน้าที่ต้องไปหาทางตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงเอาเอง รวบยอดก็คือ กฎหมาย บอกว่า จะต้อง Go Digital เต็มรูปแบบให้ได้

อย่างไรก็ตาม ยังมีงานอีกส่วน คือ งานหลังบ้านที่ยังไม่มีกฎหมายแบบนี้ออกมารับรองข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น งานจัดซื้อจัดจ้าง งานเบิกจ่าย งานการเงิน งานพัสดุ งานสวัสดิการ ฯ

หากพิจารณาอย่างเร็ว ๆ อาจจะมองว่างานหลังบ้านดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่างานหน้าบ้าน (บริการประชาชน) แต่ความจริงแล้ว หากเราสามารถช่วยกันขยายขอบเขตกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว ให้ครอบคลุมไปถึงงานหลังบ้านข้างต้นได้ จะเป็นการปฏิรูปภาครัฐนำไปสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างแท้จริง !!

การปฏิรูปตรงนี้ ถ้าเริ่มจาก 3 หน่วยงาน คือ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ก็จะมีผลกระทบไปยังหน่วยราชการทั้งหมด เป็นลูกโซ่เอง เพราะ สำนักงบประมาณ เป็นต้นทางของการขอกรอบเงินมาใช้จ่าย กรมบัญชีกลางเป็นกลางที่อนุมัติและควบคุมการเบิกจ่าย ส่วนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นปลายทางมาตรวจสอบการใช้จ่าย 

เงินเป็นสิ่งพื้นฐานของทุกเรื่องหากรัฐสามารถปฏิรูปให้ยอมรับข้อมูลและเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ งานที่เหลือทั้งหมดจะง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ ยิงกระสุน แค่ 3 นัด แต่ได้นกทั้งป่า  ในตอนต่อไปเราจะมาวิเคราะห์และคุยถึงรายละเอียดเชิงลึกของการนำกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมาใช้ประโยชน์ รวมถึงช่องโหว่ ข้อจำกัด และแนวทางการปรับปรุงกฎหมายกันครับ

ดร. มนต์ศักดิ์  โซ่เจริญธรรม  https://www.facebook.com/monsaks

นักคิดนักวิเคราะห์เพื่อสาธารณะ

[1] https://www.europarl.europa.eu/topics/en/article/20230601STO93804/eu-ai-act-first-regulation-on-artificial-intelligence

[2] https://pub.nstda.or.th/gov-dx/national-artificial-intelligence-action-plan-for-thailand-development-2022-2027/

[3] https://www.nstda.or.th/home/news_post/mhesi-for-ai/

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
ดร มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทางหลวงชนบท' ขึ้นแท่นคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

กรมทางหลวงชนบท รับรางวัลเลิศรัฐ ปี 2567 คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด หมวด 6 ด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม  พร้อมขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

ตร.รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล อำนวยความสะดวกให้ปชช.เช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์

'เกณิกา' เผย ตร. รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ลดความยุ่งยาก อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ด้วยตนเอง เพื่อยื่นสมัครงานได้แล้ว

กรอบการพัฒนา AI Roadmap ขององค์กร

ในยุคที่ AI เป็นประเด็นสุดร้อนแรงในทุกวงการ องค์กรต้องการได้ชื่อว่าได้ นำ AI มาใช้งานแล้ว  เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความทันสมัย และ มีประสิทธิภาพ มีความพยายามส่งคนไปอบรมใช้งาน Chatbot เพื่อช่วยทำงานด้านการตลาด การใช้วาดรูป วาดกราฟ หรือ ช่วยจัดทำเอกสารวิเคราะห์รายงานต่าง ๆ 

สนค. ชี้ทุกหน่วยงานนโยบายรัฐบาลดิจิทัล เร่งทุกหน่วยงานเชื่อมข้อมูล

นโยบายรัฐบาลดิจิทัลจะประสบความสำเร็จต้องช่วยกันอย่างจริงจัง แนะเร่งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน

เปิดเผยข้อมูลด้วยไฟล์คอมพิวเตอร์ Word/Excel การปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ ที่ส่งผลใหญ่

โปรแกรม Microsoft Word/Excel เป็นโปรแกรมอยู่คู่งานภาครัฐไทยมาอย่างยาวนาน เพราะภาครัฐโดยธรรมชาติมักเต็มไปด้วยงานเอกสาร ตั้งแต่ งบประมาณ เอกสารจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารรับรอง ใบอนุญาตต่าง ๆ

อนุทิน วางเป้าดันกระทรวงมหาดไทยสู่รัฐบาลดิจิทัล ลุยทำบริการแบบ One Stop Service

มท.1 ย้ำชัดดันหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยสู่รัฐบาลดิจิทัล นำเทคโนโลยีทันสมัย อำนวยความสะดวก ลดค่าใช้จ่ายประชาชน เผยกรมที่ดินเปิดบริการใหม่หลายรายการ สำนักงานที่ดินออนไลน์ 8 จังหวัด CondoMapsทั่วกรุงเทพฯ เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันประเทศ