ไทยบนเส้นทาง Data Center Hub: ปลดล็อคศักยภาพ สู่ "Digital Thailand" อย่างยั่งยืน

Photo of Out of Focus IT Technician Turning on Data Server.

ปี 2567 นับเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญบนแผนที่ Data Center โลก เมื่อยักษ์ใหญ่สายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AWS, Microsoft, Google ต่างประกาศลงทุนสร้าง Data Center ในประเทศไทย สะท้อนถึงศักยภาพของไทยที่พร้อมก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ยิ่งไปกว่านั้น ล่าสุด NVIDIA บริษัทผู้นำด้าน AI ระดับโลก ก็กำลังพิจารณาการลงทุนในทิศทางเดียวกัน และมีข่าวว่า Jensen Huang (CEO ของ NVIDIA) จะเดินทางมาเยื่อนไทยและพบกับนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นใน Fundamental ที่แข็งแกร่งของไทย

แม้การลงทุน Data Center จะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมาย ทั้งในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ การยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และการสร้างความมั่นคงทางด้านข้อมูล แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า คือ โอกาสในการ “ปลดล็อคศักยภาพ” ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพงเรื้อรัง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะยาว

Data Center: แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cloud Computing, Big Data, AI และ IoT ส่งผลให้ความต้องการใช้ Data Center เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยบริษัทวิจัยตลาดชื่อ Arizton  คาดการณ์ว่า ตลาด Data Center ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 289.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2571 [1] Mordor Intelligence คาดการณ์มูลค่า 272.04 ภายในปี 2572 [2] และ โดย Spherical Insights คาดการณ์มูลค่าที่ 565.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2575 [3].

การลงทุนสร้าง Data Center นั้น ไม่เพียงแต่จะสร้างเม็ดเงินลงทุนโดยตรงเท่านั้น แต่ยังเป็น “แรงขับเคลื่อน” สำคัญของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล เช่น 

  1. ด้านการจ้างงาน: Data Center จำเป็นต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ทั้งในด้านการก่อสร้าง การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาระบบ ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับต่างๆ
  2. ด้านการลงทุนใน Supply Chain: Data Center จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ และบริการจากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนใน Supply Chain
  3. ด้านการดึงดูดการลงทุน: การมี Data Center ที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนด้านดิจิทัลและข้อมูลเพิ่มเติมจากต่างประเทศ 

ไทย: ศูนย์กลาง Data Center แห่งใหม่ในอาเซียน?

ไทยมีศักยภาพสูงในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลาง Data Center แห่งใหม่ในภูมิภาคอาเซียน โดยปัจจัยสนับสนุน ได้แก่

  • ทำเลที่ตั้ง: ไทยตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
  • โครงสร้างพื้นฐาน: ไทยมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัย และมีเสถียรภาพ
  • นโยบายภาครัฐ: รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างชัดเจน เช่น นโยบาย Thailand 4.0 และ EEC
  • ต้นทุน: ไทยมีต้นทุนค่าแรง และค่าเช่าที่ดินที่แข่งขันได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

Data Center: กุญแจสำคัญสู่การแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพง ?

ปัญหาค่าไฟฟ้าแพง เป็นโจทย์ใหญ่ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในหลายมิติ โดยสาเหตุหลักของปัญหานี้มาจาก “กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองส่วนเกิน” ที่สูงถึง 40-60% [4] ในขณะที่ค่ามาตรฐานสากลอยู่ที่ 15% เท่านั้น ส่งผลให้ประชาชนต้องแบกรับต้นทุนค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ให้กับโรงไฟฟ้า

Data Center อาจเป็น “กุญแจสำคัญ” ในการแก้ปัญหานี้ เนื่องจาก

  • ใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าสำรอง: Data Center เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาล โดยเฉลี่ยแล้ว Data Center หนึ่งแห่ง อาจใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับเมืองขนาดเล็ก ดังนั้น การลงทุนสร้าง Data Center จึงเป็นโอกาสในการใช้ประโยชน์จากกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองส่วนเกิน และช่วยลดต้นทุนค่าความพร้อมจ่ายที่สูง
  • ต่อรองราคา: การเข้ามาของ Data Center ขนาดใหญ่ จะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของภาครัฐในการเจรจา เพื่อให้ได้ราคาพลังงานที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
  • กระตุ้นการลงทุนพลังงานสะอาด: บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ล้วนมีนโยบายในการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม การลงทุน Data Center จึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนพลังงานสะอาด เพื่อรองรับความต้องการใช้ของภาคธุรกิจเพิ่มเติม ส่งเสริมยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2065

บทสรุป:

การลงทุน Data Center เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ “Digital Thailand” อย่างยั่งยืน ไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยี สร้างความมั่นคงทางด้านข้อมูล แต่ยังเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาเรื้อรังอย่างค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทั้งต่อระดับผู้ใช้รายย่อย และ ภาคธุรกิจที่เป็นภาคการผลิต

ดังนั้นการที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการสร้าง “Ecosystem” ที่เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรม Data Center ทั้งในด้านของกฎระเบียบ โครงสร้างพื้นฐาน มาตรการจูงใจ และการพัฒนาบุคลากร เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก นอกจากจะนำพาประเทศไทยสู่การเป็น “Digital Hub” แห่งภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง แล้วยังเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนต่อค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รวมถึงภาคธุรกิจและการผลิต นับว่าเป็นการขับเคลื่อนหนึ่ง แต่ได้ถึงสอง แล้วยังตีกระทบทางอ้อมไปยังยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมาย Net Zero อีกด้วย  หากมองรอบด้านทั้ง 3 มิติ แล้วหาทางเชื่อมโยงบูรณาการได้จริงก็จะขับเคลื่อนได้ผลถึง 3 ต่อ 

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ สําหรับ

ดร มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สายแคมป์ปิ้งห้ามพลาด เช็กจุดกางเต็นท์ฟรี 37 จุดทั่วประเทศไทยช่วงปีใหม่

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

รัฐบาลตีปี๊บแถลงผลงาน 90 วัน 12 ธ.ค. มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย

รัฐบาลแถลงผลงาน 90 วัน “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง“ พฤหัสนี้ มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย หลังพบทุกมิติของประเทศคึกคัก คาดจีดีพีปีหน้าเติบโตสู้ประเทศในอาเซียนได้แน่

'พิชัย' ย้ำไทยกำลังฮอต ชวนนักธุรกิจสหรัฐฯ ลงทุน-ตั้งฐานผลิตในไทย

”พิชัย“ ต้อนรับ ทัพนักธุรกิจรายใหญ่สหรัฐฯ USABC ชวนลงทุน-ตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ในไทย ย้ำ!ไทยกำลังฮอต พาณิชย์พร้อมอำนวยความสะดวกการค้า-ลงทุนเต็มที่

ผู้สูงอายุไทยหลังเกษียณงานอายุ 60 ยังมีโอกาสทำงานต่อไปได้อีกกี่ปี?

ในปีพ.ศ. 2567 นี้ ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชากรคนไทยทั้งหมด 100 คน จะมีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 20 คน และผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีอายุขัยหรือชีวิตยืนยาวไป อีกประมาณ 21 ปี ช่วงชีวิตที่ยืนยาวต่อไปนี้