เหรียญที่มีสองด้านของ AI ในสังคมไทย

ประเทศไทยมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ บริการและในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆอันนำไปสู่ปัญหาของสังคมเช่น มีการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ไปใช้ในทางที่ผิด การหลอกลวงโดยมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างโดยในแต่ละวันมีความสูญเสียนับร้อยล้านบาทและจากตัวเลขของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือ กระทรวงดีอี รายงานว่ามีคนไทยจำนวนกว่า 36 ล้านคนถูกหลอกจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ซึ่งกว่าหนึ่งในสามนั้นเป็นผู้สูงวัยของประเทศ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้คำจำกัดความของ Artificial Intelligence (AI) ว่า “เป็นความสามารถของสิ่งประดิษฐ์ เช่น คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ในการแสดงปฏิกิริยาหรือกระทำการใด ๆ ในสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วยตนเองเสมือนการทำงานของสมองมนุษย์” หรืออาจกล่าวได้อย่างง่ายว่า AI เป็นการทำงานของระบบการประมวลผลในหลายระดับไม่ว่าจะเป็นการโต้ตอบ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ประมวลผล ตลอดจนความสามารถในการทำนายหรือประเมินเหตุการณ์ต่างๆได้ 

การทำงานของ AI มีความโด่งดังมากขึ้นเมื่อมีผู้ประกอบการด้านการวิจัยและพัฒนาภายใต้ชื่อ “OpenAI” ของสหรัฐอเมริกาได้นำเสนอแอปพลิเคชันหนึ่งเรียกว่า “ChatGPT” ที่ในปัจจุบันมีการใช้อยู่ในสถานศึกษา สถานประกอบการหรือโดยผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆอย่างกว้างขวางซึ่งจากการเปิดเผยของ OpenAI  ได้มีการแบ่งระดับความสามารถของ AI ไว้รวม 5 ระดับดังนี้

ระดับ 1:  Chatbots สามารถโต้ตอบเรื่องทั่วไปตามคำสั่ง (Prompt) ได้

ระดับ 2:  Reasoners สามารถประมวลผลเพื่อตอบปัญหาในระดับเดียวกันกับมนุษย์ได้

ระดับ 3:  Agents  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบแทนมนุษย์เป็นบางอย่างได้

ระดับ 4:  Innovators สามารถสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ร่วมกับมนุษย์ได้

ระดับ 5: Organizations สามารถสร้างองค์กรทำงานทดแทนมนุษย์ได้

แม้ว่าในปัจจุบันความสามารถของแอปพลิเคชันนี้จะอยู่ในระดับ 2 แต่หากพิจารณาถึงข้อมูลทางสถิติกลับพบว่าแอปพลิเคชัน ChatGPT และ/หรือแอปพลิเคชันอื่นๆที่มีความสามารถคล้ายคลึงกันนั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกระทั่งทีมวิจัยหรือผู้เกี่ยวข้องของการพัฒนาแอปพลิเคชันต้องออกมาเตือนและแสดงความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเป็นความหายนะชองมวลมนุษยชาติได้หากไม่มีการเฝ้าระวังและการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม หมายถึงหากการพัฒนาดำเนินต่อไปโดยขาดการควบคุมอย่างเหมาะสมเพียงพอแล้ว แอปพลิเคชันที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นอาจจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้อันนำไปสู่ประเด็นปัญหาด้านจริยธรรม (AI Ethics) อย่างร้ายแรงจนไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้

โดยล่าสุดนั้น ทางสหภาพยุโรป (European Union) ได้มีการออกกฎหมาย AI ฉบับแรกของโลกแล้วโดยมีการตั้งสำนักงานควบคุมกำกับการใช้ AI และได้แบ่งความระดับความเสี่ยงของการใช้ AI เป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. ความเสี่ยงระดับต่ำ (Minimum or No Risks) เช่นการกรองสแปมหรือข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์
  2. ความเสี่ยงที่มีข้อจำกัด (Limited Risks) เช่นการยอมรับหรือยกเลิกการตอบโต้กับ AI 
  3. ความเสี่ยงระดับสูง (High Risks) เช่นมีการระบุตัวตนหรือข้อมูลส่วนบุคคลทางชีวภาพ
  4. ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risks) เช่นการมีการนำความประพฤติของบุคคลมาประเมินผลเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการตำหนิหรือเพื่อการลงโทษ

หากมีการใช้ AI อย่างถูกต้องและมีการควบคุมอย่างเพียงพอก็จะก่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้คนในยุคของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) แต่หากการใช้ AI ยังเป็นไปโดยขาดหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล (Universal Standard) แล้ว ย่อมเกิดความเสี่ยงที่อาจทำให้มีการนำ AI ไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่เหมาะสมจนเกิดความเสียหายได้โดยเฉพาะข้อมูลต่างๆที่สามารถเดินทางข้ามไปมาระหว่างประเทศได้ภายในเสี้ยววินาที

ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการออกกฎหมายเฉพาะมาควบคุมและกำกับการใช้ AI อย่างเป็นระบบแล้ว ปัญหาต่อไปที่น่าขบคิดทางสังคมคือการเติบโตของ AI ในหลากหลายมิติเช่นนี้จะเป็นตัวกระตุ้นเพิ่มช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับผู้คนบางกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มผู้สูงวัย (i.e. Digital Divide, Literacy and Poverty) ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมขยายวงกว้างออกไปซึ่งคนไทยทุกคนต้องช่วยกันหาคำตอบว่าเราจะให้ประเทศเดินต่อไปเช่นนี้หรือไม่?

ปัจจุบัน ‘ปัญญาประดิษฐ์’ หรือ AI ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนี้ อาจเพิ่มช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับผู้คนบางกลุ่ม องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสำนักงานผู้แทนพิเศษด้านเทคโนโลยีของเลขาธิการสหประชาชาติ รายงานว่าการปฏิวัติปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะขยายให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่มีรายได้สูงและประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น ทั้งจากการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งนำมาสู่ความไม่เท่าเทียมในการใช้ AI

สหภาพยุโรป เป็นหน่วยงานแรก ๆ ของโลกที่ได้ออกแนวนโยบายกำกับดูแล AI และขอบเขตการใช้ งาน AI ของบริษัทเอกชนออกมา โดยใช้หลักการกำกับตามระดับความเสี่ยง (risk-based approach) แบ่งความเสี่ยง AI เป็น ๔ ชั้น ได้แก่ • ความเสี ่ยงระดับที ่ยอมรับไม่ได้ เช่น AI ที่รัฐบาลใช้กำหนดคะแนนความประพฤติของประชาชน เป็นต้น ซึ่งยุโรปจะแบนการใช้อัลกอริทึมพวกนี้ทั้งหมด • ความเสี่ยงสูง เช่น AI ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการระบุตัวตนทาง ชีวภาพ จัดเป็น กลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับตั้งแต่ขั้นฝึกและพัฒนาระบบ • AI ที่มีความเสี่ยงจำกัด เช่น chat bot โดยบริษัทผู้พัฒนาเปิดเผยใช้ชัดเจนว่าผู ้ใช้กำลังสนทนากับ AI เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจว่าต้องการสนทนากับ Al ต่อไป หรือใช้บริการมนุษย์แทน • AI ความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบกรองสแปม ซึ่งไม่ได้มีการระบุวิธีการกำกับดูแลในรายละเอียดไว้ ประเทศไทยสมควรนำแนวทางเช่นเดียวกันนี้มาเป็นกรอบในการออกแบบการกำกับดูแลเทคโนโลยีที่ มีขอบเขตการใช้งานกว้าง และมีช่วงของโอกาสในการสร้างความเสียหาย (potential damage) ที่ยาวเพื่อ ไม่ให้เป็นการกำกับที่เข้มในจุดที่ไม่ควรเข้ม หรือ อ่อนในจุดที่ไม่ควรอ่อน

สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (สขญ.) หรือ Big Data Institute (Public Organization) (BDI) เป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

เทวัญ   อุทัยวัฒน์     

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา Better Regulation for Better Life : โอกาสและความท้าทายในยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)”

การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ถกสภานโยบายอุดมศึกษาฯ หวังพัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูง

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

'เพ็ญแข' ไม่หวั่นทัวร์ลง ปูดมีคนใช้ AI เขียนด่า เล่นสนุกในการทำสงครามกันอยู่

นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ช่วงทัวร์ลงแบบนี้ ผมได้ความรู้ว่ามีคนที่ใช้ AI

ทรูบิสิเนส ผนึกกำลังอินเทล ใช้เครือข่าย 5G ผสาน AI พัฒนาบริการสุขภาพ

ทรูบิสิเนส ผู้นำบริการสื่อสารและดิจิทัลโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้าธุรกิจ ร่วมกับ อินเทล ผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ทรานสฟอร์มอุตสาหกรรมสาธารณสุขไทยสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดึงพลังเครือข่ายทรู 5G ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำของอินเทล เปิดตัว 7 โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยและรักษา ฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในประเทศไทย พลิกโฉมบริการสาธารณสุขไทยยุคใหม่