ศึกษาร่องรอยพุทธจริยา.. เพื่อการเผยแผ่พุทธธรรม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของมนุษยชาติได้ทรงฉายความรุ่งโรจน์ทางจิตใจในฐานะของมนุษย์ที่สามารถฝึกฝนได้ด้วย “การพึ่งตน-พึ่งธรรม” ให้ความสว่างไสวไปทั่วสากลจักรวาลด้วยพระคุณทั้ง ๓ ที่ประจักษ์ต่อเทวดา มนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายน้อยใหญ่ ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาธิคุณ ที่เกิดจากพระสัพพัญญุตาญาณโดยพระองค์เอง.. ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษาในวันวิสาขบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ภายหลังทรงประกาศพุทธจริยา อันสมบูรณ์พร้อมด้วยคุณธรรมอันประเสริฐสุด อันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชน.. เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความอนุเคราะห์โลก.. เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สำหรับ พุทธจริยา นั้น คือ การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแบบอย่างให้พระสงฆ์สาวกได้ถือปฏิบัติตาม.. โดยให้ยึดถือแนวปฏิบัติในการเข้าถึงประโยชน์ ๓ ระดับ ได้แก่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์แห่งธรรม จึงได้เห็นการประกาศ เพื่อให้พระสงฆ์สาวกได้มีส่วนร่วมปฏิบัติตาม ครั้งปฐมพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยทรงมีพระดำรัสกับพระอรหันตสาวก ๖๐ รูปในครั้งนั้นว่า...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงท่องเที่ยวไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่พหุชน.. เพื่ออนุเคราะห์โลก

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงแสดงธรรม, อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยสิ้นเชิง..

พระพุทธดำรัสดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทรงมีพระประสงค์ให้พระสงฆ์สาวกได้ถือปฏิบัติตามพุทธจริยาของพระองค์ เพื่อช่วยกันเผยแผ่พระธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว เพื่อการอนุเคราะห์โลกสืบต่อไป สมดังพุทธจริยา ๓ ประการของพระองค์ที่ทรงกระทำไว้เป็นแบบอย่าง อันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นทั้งสิ้น ได้แก่

๑.โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก ดังที่ได้เสด็จจาริกไปประกาศธรรมในที่ต่างๆ ด้วยการแสดงพระธรรมคำสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ (มหาชนผู้ถึงพร้อมด้วยวาสนาบารมีที่จะรับธรรมได้) เพื่อให้ได้ศึกษาปฏิบัติตาม อันเป็นไปเพื่อการดับสิ้นเพลิงกิเลสและกองทุกข์.. ด้วยการ ทรงชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานต์ ชี้ทางพระนิพพาน ให้พ้นโศกวิโยคภัย

๒.ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระประยูรวงศาญาติ (พระญาติของพระองค์) ดังที่ได้แสดงธรรมอนุเคราะห์ ชี้ทางสว่างให้พระญาติเหล่านั้นได้เข้าถึงพระไตรสรณคมน์ ได้มีหนทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม และได้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนาของพระองค์ จนบรรลุธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์กันมากมาย..

๓.พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่นักบวชลัทธิต่างๆ ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุ ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อการปกครองสงฆ์ ทรงยึดหลักการเคารพธรรม แม้พระธรรมที่ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์นั้น ทรงยกขึ้นเป็นที่เคารพของพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามให้ดูเป็นแบบอย่าง.. ไม่ดำรงตนเหนือธรรม แต่ยกธรรมขึ้นเหนือตน แม้ทรงอยู่ในฐานะ พระพุทธเจ้า ดังที่ทรงเคารพสักการะ พระอริยสัจธรรม สืบตลอดชีวิตของพระองค์ จนเป็นที่มาของการดำรงอยู่สืบเนื่องพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

จึงได้เห็นพุทธจริยาตลอด ๔๕ พรรษา ที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน เพื่อการอนุเคราะห์โลกผ่านพุทธกิจ ๕ ประการ ที่ทรงถือปฏิบัติอย่างปกติเป็นประจำวันตลอดจนถึงวาระเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้แก่.. ในยามเช้าเสด็จบิณฑบาต, ในยามสายแสดงพระธรรมเทศนา, ในยามค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุ, ในยามเที่ยงคืนทรงแก้ปัญหาแก่เทวดาทั้งหลายที่มาเข้าเฝ้าเพื่อถามธรรม.. และในยามใกล้รุ่งอรุณของวันใหม่ทรงสอดส่องสัตว์โลกด้วยการแผ่พระญาณไปยังหมู่สัตว์ทั้งหลาย ว่า สัตว์ใดที่มีวาสนาบารมีอันควรแก่การได้รับพระธรรมคำสั่งสอนจากพระองค์..

พุทธจริยา ของพระพุทธองค์นั้น จึงเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร บอกกล่าว แสดง พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ไปสู่ มหาชน .. มหาสัตว์ ทั้งเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงธรรม สามารถแก้ปัญหานานัปการที่มนุษยชาติกำลังเผชิญหน้าอยู่ได้

เรื่องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า.. รพินทรนาถ ฐากุร, มหาตมะ คานธี, ยวาหระลาล เนห์รู .. หรือแม้แต่ ดร.บี.อาร์. อัมเบดการ์.. ผู้ทรงอิทธิพลต่อจิตวิญญาณชาวอินเดียเหล่านี้ ได้มีความเห็นตรงกันว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงผ่านพุทธจริยานั้น มีความสำคัญยิ่งต่อสันติภาพระหว่างชาติและภราดรภาพสากล ในศตวรรษที่โลกเข้าสู่ความขัดแย้ง วุ่นวาย ดังปรากฏเหตุการณ์ให้ประจักษ์ในปัจจุบัน ที่เกิดการทำสงครามกันไปทั่ว

การศึกษาพุทธจริยา เพื่อการเข้าถึงคุณประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา.. จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษยชาติ.. ซึ่งมิใช่เฉพาะชาวพุทธ หากแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาคมโลก ที่ควรได้รับไปศึกษาปฏิบัติ... เพื่อการจรรโลงโลกให้เกิดสันติภาพได้จริง.. โดยการเริ่มต้นที่การพัฒนาตนเอง ให้ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาที่การกระทำความเพียรชอบ... สร้างคุณธรรมความดีให้กับชีวิต.. มีความเมตตากรุณา.. ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น.. ที่จะนำไปสู่การบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ต่อทุกฝ่าย

การบริหารตน ด้วย พรหมวิหารธรรม

การบริหารคน ด้วย สังคหวัตถุธรรม

การบริหารงาน ด้วย อิทธิบาทธรรม

จึงเป็นหัวใจของพุทธจริยา.. ที่จะนำไปสู่การสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ชาวโลกแท้จริง

ทั้งนี้ ผู้ที่จะดำเนินตามรอยพุทธจริยา เพื่อเผยแผ่ พุทธธรรม ให้เป็นไปเพื่อคุณประโยชน์โดยธรรมได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องศึกษาปฏิบัติตาม พระโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงประทานไว้กับคณะสงฆ์และพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ที่เรียกว่า วันมาฆบูชา โดยจะต้องยึด หลักการ อุดมการณ์ และข้อปฏิบัติ ดังกล่าว เป็นแบบแผนในการทำหน้าที่ เผยแผ่ พระพุทธธรรม ที่ประมวลรวมพุทธจริยาไว้ในหลักการ อุดมการณ์ และข้อปฏิบัติดังกล่าว ที่เรียกว่า พระโอวาทปาติโมกข์

พระโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งทรงแสดงแก่พระอรหันตสาวก ๑,๒๕๐ รูป เนื่องในวันมาฆบูชา ก่อนเข้าสู่พรรษาที่ ๒ ของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดง ณ เวฬุวันมหาวิหาร.. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ณ พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลราชกีร์ นาลันทา รัฐพิหาร/อินเดีย ที่ประกาศหลักการ ๓ ข้อ อุดมการณ์ ๔ ข้อ และหลักปฏิบัติ ๖ ข้อ นับเป็นแบบแผนของการเผยแผ่พระพุทธธรรม ที่สะท้อน พุทธจริยา อย่างแท้จริง ในการประกาศพระพุทธศาสนา อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขมหาชน.. เพื่อสันติภาพโลก อันควรแก่การศึกษา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการเผยแผ่พระพุทธธรรม.. สืบตลอดไป

ในห้วงสมัยที่อาตมาจำพรรษาในอินเดีย-เนปาล ทั้งที่เวฬุวันมหาวิหาร, ภูเขารัตนคีรี, ถ้ำคงคสิริ เขตคยา (อุรุเวลาเสนานิคม) นิโครธารามมหาวิหารในประเทศเนปาล.. ตลอดจนในแคว้นคันธาระ ณ นครตักศิลา... ก็ได้ยึดหลักการ อุดมการณ์ และข้อปฏิบัติ ในพระโอวาทปาติโมกข์ เป็นแบบแผนในการทำหน้าที่เผยแผ่ พระพุทธธรรม.. จนนำไปสู่การเป็นผู้นำจิตวิญญาณของมหาชนในชมพูทวีป.. และเป็นที่มาของการได้รับการถวาย สมณศักดิ์ จากคณะสงฆ์ศรีลังกา สยามอุบาลีวงศ์นิกาย ฝ่ายอรัญวาสี โดยการนำเสนอของพระสังฆราชาแห่งคณะสงฆ์ศรีลังกาฯ เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๓ ณ อุโบสถวัดหลวงอัสคิริยา เมืองแคนดี (Kandy) ศรีลังกา ในสมณฐานะที่ พระธรรมปฏิปัตติ วยาปติธารา นยกเถระ

ในฐานะ พระเถระผู้บำเพ็ญประโยชน์ในการเผยแผ่พุทธรรมในชมพูทวีป!!!.

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .

ไม่เลิก MOU 44 ได้สอง-เสียสาม !

คำถามของท่านนายกรัฐมนตรึเมื่อวันก่อนที่ว่าถ้าเราเลิก MOU 2544 แล้วจะ “ได้” อะไร ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเราจะ “ไม่ได้” อะไรเลยละกระมัง จึงสรุปว่าจะไม่เลิกและจะเดินหน้าต่อ