ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561- 2580): การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดไว้ในหมวด 6: แนวนโยบายแห่งรัฐว่า รัฐต้องจัดให้มียุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ โดยมีรายละเอียดตามมาตรา 65 ว่า รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว … ทั้งนี้การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินการภายใต้กระบวนการ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560

รัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2557- 2562) ได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ด้านความมั่นคง 2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกำหนดการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวมไว้ 6 มิติ คือ 1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย 2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ 4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม 5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และ 6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

บทความนี้ ต้องการนำเสนอการประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ เฉพาะประเด็นเรื่อง “การพัฒนายกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” ทั้งนี้ เนื่องจาก ความสามารถใน การแข่งขันของประเทศเป็นตัวชี้วัดซึ่งดำเนินการโดย สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ซึ่งเป็นองค์การที่ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ มิได้อยู่ภายใต้ การควบคุมและกำกับของรัฐบาลไทย นอกจากนี้ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยังเป็นตัวชี้วัดที่กำหนดประเด็นการประเมินไว้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ ประเมินจาก 4 ปัจจัยได้แก่ 1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) 2) ประสิทธิภาพภาครัฐ ( Government Efficiency) 3) ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และ 4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งทั้งสี่ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวนรวมทั้งสิ้น 334 ตัวชี้วัด

ภายใต้กรอบแนวคิดของ IMD ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หมายถึง ความสามารถของประเทศในการสร้างและรักษาสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ให้เอื้อต่อการเสริมสร้างและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่งคั่งในระยะยาว การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงไม่ควรพิจารณาเพียงมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ควรต้องพิจารณาครอบคลุมทั้งประเด็นการสร้างและรักษาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นมุมมองของการประเมินความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ IMD จึงกำหนดตัวชี้วัดการประเมินอยู่บนพื้นฐานของหลักคิดของการที่ประเทศต้องมีปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจต่าง ๆ อย่างครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน

ก่อนการเข้าสู่อำนาจรัฐของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จากการประเมินของ IMD ซึ่งมีจำนวนประเทศทั้งหมด เข้ารับการประเมินเพื่อจัดอันดับจำนวนรวมทั้งสิ้น 60 ประเทศ (เขตเศรษฐกิจ) ประเทศไทยได้รับการประเมินจัดอันดับ อยู่ที่อันดับ 29 และอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในปีต่อ ๆ มาอยู่ที่อันดับ 30 (พ.ศ. 2558) อันดับ 28 (พ.ศ. 2559) อันดับ 27 (พ.ศ. 2560) และ อันดับ 30 (พ.ศ. 2561) ตามลำดับ

ต่อมาในช่วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ. 2562- 2566) อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 25 (พ.ศ. 2562) อันดับ 29 (พ.ศ. 2563) อันดับ 28 (พ.ศ. 2564) อันดับ 33 (พ.ศ. 2565 ) อันดับ 30 (พ.ศ. 2566 ) และ อันดับ 25 (พ.ศ. 2567)

กล่าวโดยสรุป ถ้านับปี พ.ศ. 2557 เป็นปีเริ่มต้นในการเปรียบเทียบ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่อันดับ 29 ผ่านมา 11 ปี (พ.ศ. 2557- 2567) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย มีอันดับดีขึ้น 4 อันดับ คือเลื่อนอันดับจากอันดับที่ 29 ขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 25

แต่ถ้านับ ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีเริ่มต้นในการเปรียบเทียบ (ช่วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2562- 2566) ผ่านมาเป็นระยะเวลา 7 ปี อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยยังรักษาอันดับไว้คงที่อยู่ที่ อันดับเดิมคืออันดับที่ 25 หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ในช่วงระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2562- 2567) ที่ผ่านมา การพัฒนาของประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินการปฏิรูปประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561- 2580) แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยขึ้นมาเลย

ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากในบทความนี้ แนะนำอ่านเพิ่มเติมได้ จากบทความทางวิชาการของผู้เขียนในหัวข้อเดียวกันนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รังสิมันต์' หนุนนายกฯ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยุบทิ้งกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า มีแนวโน้มจะปรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เนื่องจากระยะเวลาอาจยาวนานไป และควรปรับเนื้อหาให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก ว่า จริงๆ เราก็พูดถึงเรื่องนี้มาโดยตลอด

การบริหารราชการแผ่นดิน: ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ

ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาฯ) และฝ่ายตุลาการ โดยมีระบบราชการเป็นกลไกสำคัญ รองรับการดำเนินการของอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย

'สถิตย์' แนะยุทธศาสตร์ชาติถึงฝั่ง จีดีพีต้องโตร้อยละ 5 ปรับวิธีจัดงบประมาณ

ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา มีการเสนอรายงานการดำเนินงานของคณะยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2565 โดยนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.

'ทนายถุงขนม' ​อ้างคำวินิจฉัยศาลรธน. เปิดช่องยกเลิกคำสั่ง คสช.

'พิชิต-ที่ปรึกษาของนายกฯ' ​ ชี้ช่อง​ ยกเลิกคำสั่งคสช.​ อ้าง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 30/2563 สอดคล้อง​ รัฐธรรมนูญมาตรา 77 และ มาตรา 279 เปิดช่องยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็น

นายกฯ ปลุกข้าราชการสำนักนายกฯ ขอให้ภาคภูมิใจในหน้าที่

นายกฯ ส่งสารวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกฯ ขอข้าราชการภาคภูมิใจในหน้าที่ ขับเคลื่อนการบริหารแผ่นดินสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชน-ประเทศชาติ