ปรากฎการณ์หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงกว่าร้อยละ 90 เป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลังการระบาดของโรคโควิดในปี2563 ตัวเลขดังกล่าวสูงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยธนาคารชำระบัญชีระหว่างประเทศที่ร้อยละ 80
เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขดังกล่าวก่อนและหลังการเกิดโรคระบาด ปรากฏความแตกต่างระหว่างประเทศ ในสามัญสำนึก ตัวเลขหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกประเทศ แต่มีบางกลุ่มประเทศตัวเลขกลับลดลง เช่น สหรัฐ อังกฤษ สิงคโปร์ เยอรมัน สเปน
และมีกลุ่มประเทศที่ตัวเลขสูงเพิ่มขึ้น เช่น ฮ่องกง จีน อินเดีย รัสเซีย ไทย ซึ่งจะเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในระดับก้าวหน้าใน BRICS
ความน่าเป็นห่วงตรงที่ไทยเราตัวเลขสูงเกินกว่าร้อยละ 90 และอยู่ในระดับต้น ๆ ของโลกที่ตัวเลขเกินร้อยละ 90 และก็เป็นประเทศเดียวที่กำลังพัฒนา……
ในระหว่างที่เขียนต้นฉบับนี้ เป็นวันที่มีการเข้าถวายสัตย์ปฎิญาณของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ นำโดยนายกหญิงคนที่ 31 ของไทย พร้อมรัฐมนตรีหน้าใหม่หลายท่าน และหวังจะนำพาสิ่งที่มีพลังขับเคลื่อนประเทศและขยายเพิ่มมูลค่าจีดีพีของประเทศ
ตัวเลขจีดีพี ของไทยประมาณ 17.9 ล้านล้านบาท
ตัวเลขหนี้ครัวเรือน ประมาณ 16.9 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ที่ธนาคารนำเสนอบริการต่อประชาชนเพื่อจับจ่ายใช้สอยในการสร้างคุณภาพชีวิตเพื่อประโยชน์ระยะยาว หรือ การบริโภคระยะสั้นและหมดไป ( non-productive )
ตัวเลขหนี้สาธารณะประเทศ ประมาณ 11.2 ล้านล้านบาท ประมาณร้อยละ 62 ต่อจีดีพีของประเทศ เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้มาเพื่อใช้จ่ายตามงบประมาณของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการลงทุน การกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตัวเลขหนี้ครัวเรือนยังสูงกว่าหนี้สาธารณะ อาจมองได้ว่าสภาพคล่องการเงินของไทยดีมาก
การชำระคืนหนี้สิน ควรเริ่มจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลสร้างโอกาส มีเงินลงทุน การบริโภคการค้าระหว่างประเทศ ภาคเอกชนประชาชนมีการผลิต บริการสร้างการหมุนเวียนของกระแสเงินในทุกภาคของประเทศเพื่อการบริโภคความเป็นอยู่ที่ดี
ประชาชนต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถ สร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ เพื่อชำระหนี้
ส่วนหนึ่งเงินได้นำมาจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลเพื่อสร้างกลยุทธ์ บริหาร พัฒนาประเทศ รวมถึงชำระหนี้ของรัฐบาล
ทั้งสองสิ่งดูเหมือนมีความสัมพันธ์กัน
ประชาชน 68 ล้านคน วัยทำงานประมาณร้อยละ60 ย่อมมีความสามารถและโอกาสที่แตกต่างกัน ถึงสามารถกู้หนี้ครัวเรือนมาได้ ก็ใช่ว่าจะสามารถชำระหนี้ธนาคารได้ครบถ้วนทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับที่เราเห็นจากธุรกิจ มีเกิดใหม่ เติบโต มั่นคง และจะมีธุรกิจจำนวนหนึ่งที่ไปต่อไม่ได้และล้มหายตายจากไป
ภาวะเศรษฐกิจดีปกติตัวเลขหนี้ NPL ไม่สูง อยู่ประมาณ 2-3 % แต่ถ้าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ถดถอย ตัวเลขการค้างชำหนี้มากกว่า 1 เดือนจะสูงเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 10
ตั้งแต่หลังโรคระบาดโควิด 19 หนี้สินครัวเรือนได้รับการพิจารณาแก้ไขเป็นลำดับ
รัฐสภาไทยได้มีการปรับแก้ไขพรบ.กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ.) ในปี 2566 นับเป็นคุณูปการ แก่ 4 ล้านชีวิตผู้กู้เงินในขณะนั้น ไม่แบกภาระดอกเบี้ยที่มีเบี้ยปรับสูง ที่สำคัญไม่ต้องเอาพ่อแม่และบ้านมาค้ำประกัน เพียงขอมีวินัยการเงินชำระหนี้คืน กยศ.เพื่อเป็นทุนแก่รุ่นต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทสำคัญยิ่ง ออกมาตรการ ร่วมมือกับธนาคาร บรรเทา ปัญหาหนี้ช่วงโควิด ต่อด้วยมาตรการประคอง ผ่อนปรน ปรับโครงสร้างแก้ไขหนี้อย่างตรงจุด และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ลูกหนี้ เพื่อลดรายจ่าย เช่นค่าธรรมเนียมปรับดอกเบี้ยตามความเสี่ยง ลำดับการตัดหนี้ให้มีการลดเงินต้นได้อย่างเหมาะสม
เรายังจำได้ว่าคนของธปท.เคยเล่าว่าได้เข้าร่วมประชุมในคณะทำงานซึ่งมีรัฐมนตรีคลังสมัยนั้นนั่งหัวโต๊ะคณะทำงานเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนในยามที่ประเทศต้องอยู่ในภาวะล็อกดาวน์ การแก้ไขหนี้ได้ดำเนินการมาจนถึงการขอความร่วมมือธนาคารให้มีการปรับโครงสร้างหนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
ก่อนหนี้มีปัญหา หรือเมื่อเป็น NPL และจะต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันหลังปรับโครงสร้างหนี้ถึงสามารถฟ้องดำเนินคดีลูกหนี้ต่อศาล ในขณะที่ศาลก็ ให้คู่ความสามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องดำเนินคดีได้ นับเป็นการดูแลลูกหนี้จนถึงที่สุด
จากจำนวนลูกหนี้ ประมาณ 25 ล้านคนที่ใช้บริการสินเชื่อถ้าหากมีประมาณร้อยละ 10 ที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ประมาณ 2- 3 ล้านคน และไปสิ้นสุดที่ขบวนการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดหรือล้มละลาย รัฐบาลหรือ ธปท.จะมีมาตรการดูแลคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร เพื่อให้พวกเค้าสามารถกลับมาสู่การหารายได้ที่ปกติในอนาคต ไม่ทิ้งใครข้างหลัง
คำถามโดยทั่วไปจะสนใจว่าเมื่อไร หนี้ครัวเรือนจะลดต่ำลงมาที่มาตรฐานร้อยละ 80 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ก็ตอบเป็นเรื่องคณิตศาสตร์อีกละ ลดหนี้ลงในตัวตั้ง หรือ เพิ่มจีดีพีในตัวหาร
ปัจจุบันยังไม่เป็นใจให้ตัวเลขลด … ก็ต้องให้เวลาทุกฝ่ายทำการบ้านคง อีก3-5 ปีละมั้งครับ
แล้วผลต่อธนาคาร สามารถจัดการลดหนี้ ควบคุมหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้เร็วเพียงใด มีวิธีจัดการหนี้เสียโดยการขายออกให้บริษัทจัดการบริหารสินทรัพย์ พิจารณาความเสี่ยงและส่วนได้เสียในทุกมิติแล้ว หากสถานะธนาคารยังคงอยู่ในสภาพแข็งแกร่งเพียงพอในมาตรฐานสากล แบบนี้ก็ไม่น่าต้องเป็นกังวลมากเกินไปกับธนาคาร
หากมองแหล่งที่มาของหนี้แล้ว ลูกหนี้มาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ร้อยละ 14 ซึ่งตามหลักสหกรณ์ออมทรัพย์จะมีสิทธ์การรับชำระหนี้จากเงินเดือนโดยตรง ส่วนอีกร้อยละ 27 เป็นการให้กู้จากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเปราะบางที่รัฐต้องการจุนเจอเป็นพิเศษ ดูลูกหนี้สองกลุ่มนี้น่าจะมีเจ้าภาพที่ดี
สำหรับลุกหนี้ต้องพัฒนาความสามารถในการหารายได้ ตัววอย่าง.คนที่ผมรู้จักมากว่า30 ปี รักการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆต่อเนื่องตลอดมา จนวันนี้สามารถเป็นครูถ่ายทอดงานศิลปหัตถกรรม มีสตูดิโอของตัวเอง พร้อมเป็นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อผู้สนใจ
หรืออีกตัวอย่าง.บริษัทที่ริเริ่มสิ่งใหม่เมื่อเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา จะต้องฝ่าฟันอุปสรรค มากมาย
ทั้งการขอ certificate มาตรฐานสินค้าเพื่อขายในต่างประเทศ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนเกือบหยุดกิจการ แต่นับเป็นความโขคดีของประเทศที่สถาบันการเงินเข้าใจให้โอกาสในการแก้ไข จนวันนี้เป็นผู้นำในวงการผลิตชิ้นส่วนทางอีเลคโทรนิกส์ และประสบความสำเร็จจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
รัฐบาลคงต้องมีหน้าที่สร้างบรรยากาศ สร้างการเติบโตของ จีดีพี ให้สูงมากพอต่อการสร้างรายได้ประชาชนอย่างทั่วถึง จึงเป็นความจำเป็นที่ภาครัฐต้องสร้างเสน่ห์ดึงดูดทั้งการลงทุนและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศตัวอย่างสิงคโปร์มีการเติบโตจีดีพีพอกับเราแต่ในแง่การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติถึง 159670 ล้านดอลล่าร์ เทียบกับเรา มีเพียง 4540 ล้านดอลล่าร์ในปีที่ผ่านมา
ภาคเอกชนเคยเป็นตัวช่วยที่สำคัญให้เศรษฐกิจพ้นวิกฤตเช่นธุรกิจส่งออก ในวิกฤตต้มยำกุ้ง
ครั้งนี้คงเป็นเอกชนขนาดใหญ่ที่ยังคงมีกำลังความสามารถในการทำกำไรโดยเฉพาะกิจการในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีทั้งเงินและองค์ความรู้เป็นการเฉพาะ ควรเอามาแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างประเทศร่วมกับรัฐบาล
ตัวอย่างไต้หวันสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมใช้แรงงานเป็นเครื่องจักรทันสมัย และในที่สุดเป็นหนึ่งในผู้ผลิต ชิปเซ็ต รายสำคัญของโลก ที่เป็นหัวใจ ของอุปกรณ์ IT โดยบริษัทเอกชน TSMC
โชคดีของไทยที่เคยมีรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดก่อน ๆ วางรากฐานที่สำคัญให้ประเทศ ขอยกตัวอย่างเร็ว ๆ นี้เรื่องเทคโนโลยีอวกาศของ รมต.อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และนวตกรรม แผนการส่งดาวเทียมไปโคจรดวงจันทร์ใน 7 ปี เป็นการคิดนอกกรอบเพื่อความท้าทายด้านเทคโนโลยี่
หรือการสรุปผลงานที่ทำเป็นรูปธรรมในรอบหนึ่งปีตามนโยบาย รื้อ ลด ปลด สร้าง ของ รมต.อุตสาหกรรม
เราคงต้องการผู้ร่วมบริหารประเทศที่มีวิสัยทัศน์ และนำไปสู่การปฎิบัติเพื่อลูกหลาน
อนาคตของประเทศชาติ คงต้องฝากกับคณะรัฐมนตรีทุกท่านให้แสดงผลงานเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหญิง ท่านที่ 31 ของไทย
วงศกร พิธุพันธ์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .
ไม่เลิก MOU 44 ได้สอง-เสียสาม !
คำถามของท่านนายกรัฐมนตรึเมื่อวันก่อนที่ว่าถ้าเราเลิก MOU 2544 แล้วจะ “ได้” อะไร ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเราจะ “ไม่ได้” อะไรเลยละกระมัง จึงสรุปว่าจะไม่เลิกและจะเดินหน้าต่อ
พฤศจิกายน ศาลรธน. รับคำร้องคดี ทักษิณ-พท. ล้มล้างการปกครองฯ
ความคืบหน้าคำร้องคดีสำคัญทางการเมือง กรณีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยสั่งการให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง