ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านสำคัญปลายศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ 21 ของโลก ที่ตื่นตัวถึงความมั่นคงโลกด้านสิ่งแวดล้อม จนได้จัดประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อม “เอิร์ธ ซัมมิต” ที่นครรีโอ เดอ จาเนโร เมื่อปี ค.ศ.1992 ซึ่งจากนั้นประชาคมโลกก็ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันจนก่อให้เกิดหลักการสำคัญในปฏิญญารีโอและแผนปฏิบัติการที่ 21 (AGENDA 21) กระตุ้นให้โลกมีส่วนร่วมดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน และทำให้เกิดข้อตกลงระหว่างกันหลายระดับทั้งทวิภาคี พหุภาคี รวมถึงสนธิสัญญาฉันทามติด้านสิ่งแวดล้อม-การดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมากมาย มาวันนี้ได้ปรับตัวสู่เค้าโครงเศรษฐกิจ BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่-เศรษฐกิจสีเขียว ฯลฯ ล่าสุดประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change) ตามข้อตกลงปารีส ได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นกรอบปฏิบัติการสำคัญในการจัดการเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่โลกตะวันตกนำมาต่อกรกับจีนอย่างมีนัยสำคัญ
การรับมือความเคลื่อนไหว-การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานสิ่งแวดล้อมในช่วงรอยต่อ ศตวรรษที่ 20-21 นี้ สร้างความตื่นตัวขึ้นทุกมิติ ทั้งการจัดการแรงงาน การพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรม การผลิต-การบริการ การปรับฐานอุตสาหกรรมและการปรับมาตรฐานใหม่ทางเศรษฐกิจหลายมิติ ที่มุ่งสร้างความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจที่มีต่อสิ่งแวดล้อม-การใช้ทรัพยากร ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 ของโลกพลิกโฉมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามประกาศของ เวิลด์ อีโคโนมิกส์ ฟอรั่ม ที่โลกทั้งใบได้จัดปรับสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และสร้างโอกาสความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้กับผู้คน โดยพึ่งพาความก้าวหน้าของนวัตกรรม เทคโนโลยี การสื่อสารยุคใหม่ การจัดการการผลิตการบริการ และระบบโลจิสติกส์ใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสังคมเศรษฐกิจไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในคลื่นการปรับสร้างตัวครั้งนี้!
เมื่อพูดถึงเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราคงต้องตระหนักถึงปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหลายภาคส่วนด้วยกัน โดยสรุปในปี 2561 ปีที่เศรษฐกิจปกติประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 263.4 ล้านตัน ปี 2563 ที่เกิดปัญหาวิกฤตการณ์โควิดระบาด เราปล่อยก๊าซเรือนกระจก 224.3 ล้านตัน เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมากพอสมควร ผลรวมการปล่อยก๊าซมาจากการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 40 จากการขนส่งร้อยละ 25 จากอุตสาหกรรมร้อยละ 29 และส่วนอื่นๆ ร้อยละ 6 เป็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยที่คล้ายกับหลายประเทศในโลกนี้ จนมีการแสวงหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าในเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้น รวมทั้งการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ในหลายกลุ่มที่เรียกว่า Circular Economy
ประเทศไทยตื่นตัวในการปรับตัวสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าจากธรรมชาติ ที่เป็นพลังงานที่หมุนเวียนไม่จบสิ้นทั้งจากพลังแสงอาทิตย์ พลังน้ำ พลังลม โดยส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขยายตัวมากขึ้น ส่วนการจัดการด้านอุตสาหกรรมจะพบว่า เขต EEC มีทิศทางชัดเจนที่มุ่งสู่เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 4.0 ที่มุ่งประหยัดพลังงาน-ใช้พลังงานสะอาด-เพิ่มศักยภาพการผลิต รวมทั้งมีการพัฒนาในการใช้หุ่นยนต์และกลไกอัตโนมัติในงานที่อันตราย-น่าเบื่อหน่ายแทนการใช้มนุษย์ การปรับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ช่วยลดการใช้ทรัพยากรลงกว่าร้อยละ 30 หมายถึงการลดต้นทุนและการปรับระบบการผลิต-บริการให้เข้าสู่ความก้าวหน้าใหม่ ขณะเดียวกันก็แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโลกเก่าลง พร้อมกับมีการปรับสร้างมาตรฐานใหม่ทั้งมาตรฐานการผลิต มาตรฐานสินค้า-บริการ ที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันอีกด้วย นี่คือการตื่นตัวสร้างความก้าวหน้าใหม่ของไทยโดยรวม
เมื่อพิจารณาถึง “อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง” (EV conversion) นับเป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยวันนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นแกนนำสำคัญช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ ประเทศไทยไม่มีกฎหมายกำหนดอายุการใช้งานของยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล! เรามีรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปัจจุบันราว 21.6 4 ล้านคัน เป็นรถส่วนบุคคลและรถกระบะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแท็กซี่ และอื่นๆ รวมกันราว 2.6 ล้านคัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์จึงเป็นปัญหาสำคัญยิ่ง!
แน่นอนว่าการนำเข้า-การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เป็นโอกาสสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่ แต่การจัดการปัญหาโลกร้อน-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิมจากรถกว่า 21 ล้านคันที่มีอยู่นั้นนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นต้นเหตุสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไม่ว่าจะรถ เรือ หรืออื่นๆ ล้วนเป็นโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ที่สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และช่วยสร้างงานให้ผู้คนในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่อู่รถยนต์จนถึงกลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีอยู่มากมาย ให้สามารถปรับตัว-สร้างงานใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ แทนการถูกทำลายล้างจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้!
อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของยุคสมัย ที่แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สร้างงานให้กับผู้คน สร้างการปรับตัวครั้งใหญ่สู่โหมดเศรษฐกิจสำคัญของโลกในกลุ่ม BCG ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจทรัพยากรหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่-เศรษฐกิจสีเขียว อุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากการลดหนี้ครัวเรือนลงได้กว่า 2-6 ล้านล้านบาท และเมื่อปรับสู่โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ จะมีการจ้างงานนับแสนคน-สร้างเศรษฐกิจใหม่มูลค่าสูงนับล้านล้านบาท ไม่รวมผลพวงด้านสิ่งแวดล้อม และการยอมรับจากประชาคมโลกในมิติภูมิเศรษฐกิจใหม่ ในขณะเดียวกัน นี่คือมูลเหตุสำคัญที่ต้องเร่งสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแผ่กิ่งก้านและเป็นผู้นำในอาเซียน ซึ่งทั้งนี้ต้องได้รับการดูแลใส่ใจ-สนับสนุนจากภาครัฐอย่างดี เพื่อการสร้างโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขบวนการแพทย์ชนบท กับรางวัลแมกไซไซ ปี 2024 ทิศทางพัฒนาระบบสุขภาพไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. คณะผู้แทน”ขบวนการแพทย์ชนบท” ได้เดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2024
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย