โอลิมปิคส์กับนโยบายเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาครง

ผมนั่งเชียร์กีฬาโอลิมปิคส์อยู่ที่บ้านแล้วอดที่จะคิดถึงมิติการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญหน้าประธานาธิบดีมาครงไม่ได้

เพราะเมื่อเทียบกันแล้วสถานการณ์ฝรั่งเศสช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยที่เพิ่งเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ไปเมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม นี้เหลือเกิน

ถึงแม้ฝรั่งเศสจะจัดโอลิมปิคส์ประสพความสำเร็จอย่างล้นหลามก็ตาม แต่ภายใต้เนื้อในของความสำเร็จเหล่านั้นยังมีความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายสังคมนิยมสุดขั้วและฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมสุดโต่งกับพรรค Renaissance ฝ่ายก้าวหน้าและเป็นกลางของมาครงผู้นำเสรีนิยม

มาครงเดินเกมส์เลือกตั้งเร็วหวังจะให้กีฬาโอลิมปิคส์ได้ช่วยพยุงฐานะทางการเมืองของเขาเพิ่มขึ้นแต่กลับปรากฎว่าโอลิมปิคส์ไม่ได้ช่วยเขาช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ก่อนและหลังโอลิมปิคส์เศรษฐกิจจริงของคนชั้นล่างและเกษตรกรยังคงนิ่งสนิท

ดังนั้นไพ่ที่เหลือในมือมาครงอีกสองปีข้างหน้าคือการเลือกนายกรัฐมนตรีมือฉมังที่ต้องเข้ามาจัดการการเมืองจริง สางปัญหาความแตกแยกทางการเมืองจริงและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจจริงรวมทั้งการผ่านงบประมาณปี 2025 ให้ที่เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

ไม่ใช่เพื่อดึงนักท่องเที่ยวมาชมกีฬาที่ปารีส เพียงชั่ววูบชั่ววาบเท่านั้น เหมือนก่อน

เพราะฝรั่งเศสมีสถาพการเมืองอกแตกเหมือนกับอีกหลายๆประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) โดยมีพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายซ้ายสุดโต่ง และฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง รัฐบาลเป็นรัฐบาลผสมโซ่ข้อกลางที่จัดตั้งโดยพรรคที่เป็นกลางๆชื่อพรรค Renaissance ของมาครงที่ครองอำนาจมาเป็นเวลานาน

เป็นรัฐบาลที่โปรโลกาภิวัฒน์ โปรยุโรป ดำเนินวิเทโศบายเป็นมิตรกับทุกฝ่าย แสวงหาสันติภาพ เชื่อมั่นในเสรีภาพ มีนโยบายเศรษฐกิจสังคมแบบก้าวหน้า ใช้นโยบายที่ดีของทั้งขวาและซ้ายมาสร้างธรรมาภิบาล ดำเนินนโยบายการค้าเสรี รวมทั้ง นโยบายเปิดกว้างที่ก้าวหน้าอื่นๆของ Neo-Liberalism

แต่ประเทศฝรั่งเศสและอีกหลายๆประเทศมีปัญหาความเหลื่อมล้ำและการว่างงานสูงในชนบทและประเทศถูกห่อหุ้มไปด้วยฝ่ายอนุรักษ์ชาตินิยมขวาจัดสุดโต่งหัวรุนแรงในต่างจังหวัดและภูมิภาคท้องถิ่นต่างๆ อันเป็นภาคเศรษฐกิจจริงและภาคการเมืองจริงที่มีความเป็นชาตินิยมสูง

ส่วนปารีสนั้นเล่าจัดการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยสังคมนิยมฝ่ายซ้ายสุดขั้วมาตั้งแต่สมัยฟรองซัวส์มิตเตรองที่ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเมื่อ 44 ปีที่แล้วอันมีนโยบายซ้ายจัดปฏิรูปให้รัฐแทรกแซงทุกๆกระบวนการการปกครองประเทศไม่แพ้กับระบอบพรรคคอมมิวนิสต์

จึงมีความไม่สมดุลย์ทางด้านนโยบายและความคิดที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว

ภายใต้ปริบทนี้ พฤติกรรมของผู้นำควรเป็นเช่นไร?

            1.         ไม่ควรดิสเครดิตศัตรูหรือคู่แข่ง: ถึงแม้ชัยชนะของการจัดโอลิมปิคส์ของมาครงอาจจะถือเป็นการตบหน้าศัตรูคือนางเลอเป็น ผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมชาตินิยมฝ่ายขวาสุดโต่งซึ่งต่อต้านการใช้จ่ายงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือยในโอลิมปิคส์แต่มาครงกลับสูญเสียที่นั่งทำให้หลายฝ่ายอดคิดไม่ได้ว่ามาครงตัดสินใจเร็วไปหน่อยที่จัดให้มีเลือกตั้งก่อนโอลิมปิคส์เพียงไม่กี่วันเพื่อหวังดิสเครดิต ผู้นำฝ่ายขวาและหันเหความสนใจจากการเมืองเป็นการกีฬา ซึ่งเป็นลูกไม้ตื้นๆของจักรพรรดิโรมัน

            2.         มีนโยบายและปรัชญาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของพรรคที่เป็นกลางและชัดเจน: ผู้ที่ติดตามการเมืองฝรั่งเศส คงทราบว่า พรรค Renaissance ของมาครงเป็นพรรคที่มีนโยบายเศรษฐกิจตลาดเสรีแบบมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่ต้องการให้รัฐแทรกแซงตลาดน้อยที่สุด ตัวเขาเองเป็นอาจารย์และสมาชิกพรรคสังคมนิยมแต่เปลี่ยนมาสนับสนุนการแข่งขันการค้าเสรี ต่อต้านการออกมาตรการปกป้องและอุดหนุนสินค้าโดยรัฐ และต่อต้านการค้าโดยรัฐหรือรัฐวิสาหกืจ รวมทั้งต่อต้านการผูกขาดโดยรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งมาครงยังสนับสนุนนโยบายการคลังที่รักษาดุลย์งบประมาณการใช้จ่ายของรัฐไม่ให้ขาดดุลย์ ด้วยการตัดลดประมาณการค่าใช้จ่ายของรัฐที่ไม่จำเป็นและลดภาษีรวมทั้งไม่ก่อหนี้ภาครัฐ

            3.         มาครงไม่ใช่รัฐบาลที่ไล่แจกเงินซื้อเสียงติดสินบนประชาชน หรือสร้างหนี้ให้ประชาชน หรือมีนโยบายประชานิยม หรือสร้างยุทธวิธีการซื้อเสียงที่ซับซ้อน รัฐบาลของเขาเหมือนกับกีฬาโอลิมปิคส์อยู่ภายใต้กรอบกติกาสากล ไม่ชกใต้เข็มขัด ไม่เอาหัวโขกคู่ต่อสู้ ไม่ติดสินบนกรรมการ มีธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจ สร้างการแข่งขันอย่างเป็นธรรม แสวงหาความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมีธรรมาภิบาล ปราบคอร์รัปชั่นจริงจัง ไม่คอร์รัปชั่นเอง ไม่เป็นเศรษฐีเงินหลวง ไม่ส่งส่วยไม่รับส่วย ไม่เป็นเศรษฐีเงินหลวง ไม่ครอบงำข้าราการหรือมีอิทธิพลเหนือกระทรวงทบวงกรม ไม่ผูกขาดยึดติดในอำนาจหรือผูกขาดอำนาจ หรือยอมให้มีการผูกขาดฮั้วอำนาจ ไม่สนับสนุนให้ประชาชนติดยา ธำรงและรักษาไว้ซึ่งกรอบแห่งกฎหมาย ( Rule of Law) กับความยุติธรรมและไม่ยอมให้มีผู้มีอำนาจบารมีเหนือกรอบแห่งกฎหมาย มาเถลิงซึ่งอำนาจหรือการสืบทอดอำนาจ

            4.         พรรคมาครงยังมีอีกสองเสาหลัก คือการสร้างคุณค่าทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรมแบบก้าวหน้าและเสรี( Cultural Liberalism ) ซึ่งโอลิมปิคส์ และ Soft Power ของไทยเป็นตัวอย่างที่ดี และ Social Liberalism หรือ Social Democrat ด้วยการสร้างธรรมาภิบาล ความยุติธรรม และความทัดเทียมกัน

            5.         มาครงเตือนว่า นโยบายสุดโต่งของฝ่ายขวาและซ้ายอาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองและ ประธานาธิบดีคนที่ 25 ของฝรั่งเศส บอกว่าเมื่อ 8 ปีที่แล้ว พรรค En March! ของเขาต้องเป็น กลาง คือไม่ขวาไม่ซ้าย แต่บัดนี้มาครง กล่าวว่าพรรค Renaissance ของเขา ต้องเป็นพรรคเป็นกลาง คือเป็นทั้งซ้ายและทั้งขวา เพื่อการรวมจิตวิญญาณของประเทศและประชาชนและเพื่อจัดทำงบประมาณที่เป็นกลาง นายกรัฐมนตรีใหม่ของไทย น่าจะมีโอกาสเรียนรู้จากผู้นำที่ทันสมัยเช่นมาครง หานโยบายที่สมดุลย์มานำพาประเทศ ในอีกสามปีข้างหน้าต่อไป

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์

อดีตรองประธานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว 'อิ๊งค์' มีสิทธิ์หลุดเก้าอี้นายกฯ เซ่นตั้ง 'เลี้ยบ' นั่งรองประธานที่ปรึกษาของนายกฯ

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า “รัดแน่นกว่าเดิม”

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น

'วรชัย' พูดเต็มปาก! 'ชวน' ไม่ควรว่าทักษิณ ถ้ายังกวาดบ้านตัวเองไม่สะอาด

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทำนองว่า ตัวเองเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง