บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๕)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. จากตอนที่แล้ว ได้กล่าวในท้ายเรื่องไว้ว่า...

“นับจากการแย่งชิงอำนาจโดยไม่ชอบธรรม.. แม้จะแย่งชิงเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ แต่ที่สุด.. ก็ติดกับดักอำนาจที่ได้ไป เมื่อใช้อำนาจไม่เป็น.. อำนาจจึงให้โทษต่อผู้ใช้และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติดังเช่นทุกวันนี้”

จากข้อความนี้ ให้นึกถึงสัจธรรม.. “เรื่องของอำนาจ”.. ที่กล่าวไว้ว่า..

ผู้มีอำนาจ เป็นบุคคลพิเศษ สามารถบังคับผู้อื่นให้ทำตามความประสงค์ได้

อำนาจ หรือ อิทธิพล มีได้หลายทาง ได้แก่

๑.อำนาจเศรษฐกิจ-การเงิน

๒.กำลังรบ .. อาวุธยุทโธปกรณ์

๓.บทบาทหน้าที่ ตำแหน่ง-ฐานะทางการปกครองในสังคม

ผู้ใคร่มีอำนาจ ย่อมต้อง แสวงหาแก้ว ๓ ประการ ดังกล่าว.. หากใครมีครอบครอง ย่อมสมบูรณ์ในฐานะผู้มีอำนาจ.. เพื่อดลบันดาลสิ่งที่ตนต้องการให้เป็นไปตามความต้องการได้

อำนาจจะมีคุณหรือโทษ จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้อำนาจ.. เพราะอำนาจอาจจักให้ความน่ายินดีแก่ผู้ใช้ แต่กลับนำไปสู่ความเกลียดชัง ไม่น่ายินดี แก่ผู้ถูกใช้

ในทางพุทธศาสนา จึงกล่าวไว้ในบทอำนาจแห่งธรรม ว่า.. “พึงใช้อำนาจให้เป็นธรรม อย่าใช้ธรรม เป็นอำนาจ..” ความหมายรวม คือ “อย่าใช้อำนาจเป็นอธรรม..” เพราะนอกจากจะไร้ประโยชน์แล้ว กลับให้โทษทั้งผู้ใช้และผู้ถูกใช้.. ที่จะนำไปสู่การทำร้ายทำลายเบียดเบียนกันและกัน ไม่จบสิ้น.. และในที่สุดก็จะประมวลชีวิตลงไปในกระแสกรรม.. ดังคำกล่าวที่ว่า ชีวิตมนุษย์เป็นเหมือนสนามทดสอบแรงกรรม…แรงใด เสมอด้วยแรงกรรม ย่อมไม่มี นัตถิ กัมมัง สะมะ พะลัง..

พระพุทธศาสนาสั่งสอนให้คำนึงถึงประโยชน์ ๓ ประการ ก่อนคิดจะทำการใดๆ .. คือ

๑.ประโยชน์ตน

๒.ประโยชน์ท่าน

๓.ประโยชน์ธรรม

หมายถึง.. ประโยชน์ตนต้องไม่ขัดแย้งต่อประโยชน์ผู้อื่น และที่สุด ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยธรรม..

อำนาจนั้น.. ถ้าเป็นธรรม คือ ใช้ให้เป็นธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ “สันติสุข .. สันติธรรม” แท้จริง ในทางตรงข้าม ถ้าอำนาจปราศจากธรรม.. ความฉิบหายทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นได้ทั่วถึงใน สังคมสัตว์ที่อาศัยกรรม.. มีกรรมเป็นของของตน...

จึงมีคำกล่าวไว้ให้คิดพิจารณาใน เรื่องการใช้อำนาจ ว่า..

มีอำนาจ .. แต่ไม่ใช้อำนาจ ย่อมเสื่อมจากอำนาจ

มีอำนาจ .. แต่ใช้เกินอำนาจ ย่อมเสื่อมจากอำนาจ

มีอำนาจ .. ใช้ให้เหมาะสมกับอำนาจ ย่อมเจริญด้วยอำนาจ

ไม่มีอำนาจ .. พยายามใช้อำนาจ คือ คนบ้า!!

การใช้อำนาจที่ ปราศจากสติปัญญา.. ย่อมปราศจากธรรม จะมีลักษณะเป็น พระเดช มีความเร่าร้อนอยู่ในตัว เหมือนพระอาทิตย์ หามีดวงดาวล้อมไม่

แตกต่างจาก อำนาจที่เป็นธรรม .. ย่อมมีลักษณะเป็นคุณ มีความสงบเย็นอยู่ในตัว เหมือนพระจันทร์ ที่มีดวงดาวแวดล้อมเต็มไปหมด จึงพึงทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างอำนาจที่เป็นพระเดชและพระคุณ

การมีอำนาจโดยไม่มีธรรมกำกับ.. จึงเป็นสิ่งเลวร้ายอย่างยิ่ง เพราะจักให้ประโยชน์เฉพาะบุคคลและไม่พ้นการก่อเวรภัย

ส่วน การมีอำนาจโดยมีธรรมกำกับ.. ย่อมมีประโยชน์มหาศาล ทั้งปราศจากเวรภัย.. ผู้ปกครองสังคมประเทศชาติ จึงต้องมี “ราชธรรม .. ธรรมของผู้ปกครองแผ่นดิน” เพื่อการใช้อำนาจให้เป็นธรรม ตามหลัก ธรรมาธิปไตย ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเองให้ประพฤติปฏิบัติถูกต้องชอบธรรม เป็นที่ตั้ง จะไม่นำเรื่องส่วนตัว ผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

พระพุทธศาสนากล่าวสั่งสอนให้เคารพใน ธรรมาธิปไตย โดยจะต้องเป็น ผู้รู้ธรรม .. คือ รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง..

ผู้เป็นธรรม .. คือ จะต้องดำเนินการปกครองและแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรม

ผู้มีธรรม .. คือ มีความประพฤติทาง กาย วาจา ใจ เป็นผู้ซื่อตรง

ผู้สร้างธรรม .. คือ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม .. ส่วนรวม

โดยพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ใน ธัมมิกสูตร ว่า.. ในสมัยใด พระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม (ปัจจุบันหมายถึง รัฐบาล .. นักการเมือง ข้าราชการ นักปกครอง นักบริหาร ทั้งหลาย)

ในสมัยนั้น พระอาทิตย์ ดาวฤกษ์ กลางคืน กลางวัน ฤดู เดือน ปี หรือดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ย่อมแปรปรวนวิปริต..

ทั้งนี้ สาระสำคัญในท้ายพระสูตรดังกล่าว พระพุทธองค์ตรัสสรุป ไว้ชัดเจนว่า..

“..ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดได้รับการยกย่องว่าประเสริฐ หากไม่ประพฤติธรรม ประชาชนก็พลอยไม่ประพฤติธรรมด้วย

แว่นแคว้นทั้งปวง ก็อยู่เป็นทุกข์ หากตรงข้ามก็อยู่เป็นสุข เปรียบเหมือน โค หัวหน้าฝูง เมื่อข้ามน้ำว่ายไปคดเคี้ยว โคทั้งปวงก็ว่ายคดไปตาม หากไปตรง โคทั้งปวงก็ว่ายน้ำไปตรงตาม..”

การรับภาระผู้นำ.. ความเป็นผู้ปกครองโดยธรรมตามหน้าที่ ด้วยความสำนึกรับผิดชอบ จึงเป็นเรื่องของบัณฑิต ผู้รู้ .. ผู้ทรงธรรม อย่างแท้จริง มิใช่เรื่องของคนถ่อยคนเถื่อนทั้งหลาย

จึงให้ระลึกถึงพระราชดำรัสของรัชกาลที่ ๕ ที่ว่า “กษัตริย์ มิใช่มีบุญ แต่มีกรรม ภาระอันใหญ่หลวง ที่ทรงรับในตำแหน่งประมุขของประเทศ....”

สอดคล้องกับพระราชดำรัสอีกตอนหนึ่ง ที่มีพระบรมราโชวาทถึงเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อ ๘ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๒ ว่า..

“อย่าถือว่า เราเกิดมามีบุญ ต้องถือว่า ตัวเราเกิดมามีกรรม สำหรับจะเทียมแอก เทียมไถ ทำงานหนัก

การที่มีวาสนาขึ้นต่อไปนั้น เป็นความทุกข์ มิใช่ความสุข..”

ราชธรรมอันยิ่ง.. ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงแสดงไว้เป็นประจักษ์พยาน ได้แก่ ทรงปลูกฝังความรักและความสำนึกในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ที่ควรปฏิบัติต่อประเทศของตน.. ดังที่ได้ทรงสร้างธรรมให้กับประชาชนของพระองค์ท่าน ว่า..

“เราทั้งหลายเกิดมาในประเทศนี้ร่วมกันแล้ว บางคนอยู่ในตำแหน่งใหญ่ บางคนอยู่ในตำแหน่งน้อย

แต่แม้ว่า จะมียศ ตำแหน่ง แปลกจากกัน ในระหว่างพวกเราฉันใดก็ดี

ก็มีหน้าที่อันหนึ่ง ที่พวกเราทั้งหลายย่อมมีเหมือนกันหมด คือ..

ยังมีหน้าที่ ซึ่งจะต้องมีใจรักกันและกัน และจะต้องกระทำตามกำลังของตนที่จะกระทำได้ เพื่อบ้านเมืองของเราจะได้เจริญรุ่งเรือง”

ที่สำคัญยิ่งในราชธรรม.. ของรัชกาลที่ ๕.. คือ การไม่ปฏิบัติคลาดเคลื่อนจากธรรม.. หมายถึง ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการบริหารกิจการบ้านเมืองในห้วงเวลาที่มีวิกฤตการณ์รอบด้าน ทั้งจากภายในและภายนอก..

โดยทรงเล็งเห็นถึงภัยร้ายจากความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.. ของพวกที่จะถือตน หลงตัว ในยุคที่พระองค์ท่านส่งเสริมให้ได้ไปศึกษาในวิทยาการแผนใหม่ทางประเทศตะวันตก จึงได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า..

“อย่าไปลอกตำราปลูกข้าวสาลี มาปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว...”

และในที่สุด สังคมไทยในยุคสยามประเทศ ก็เดินทางไปติดกับดักความรู้แบบโลกตะวันตกจริงๆ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสทุกประการ.. เมื่อมีการนำความรู้ในสังคมการเมืองการปกครองแบบฝรั่งเศส.. ประเทศทางตะวันตก มาใช้เป็นพื้นฐานในการปฏิวัติแย่งชิงอำนาจ.. เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบบที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบฝรั่ง” ที่หวังล้มล้างการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมิได้คำนึงถึงคุณประโยชน์.. พื้นฐาน.. หรือบริบทของสังคมไทย... ความวุ่นวายจึงเกิดขึ้นไม่รู้จักจบสิ้น.. แม้ถึงในปัจจุบัน..!!

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหลียวหลังแลหน้า 92 ปี ปชต. กรีดดีลลับอันตราย! รัฐบาล มีโอกาสอยู่ครบเทอม

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป การเมืองในรัฐสภาทั้งสภาล่างคือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงคือวุฒิสภา ที่ตอนนี้ผ่านกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

โครงการร้อยใจธรรม ร้อยอำเภอ.. ถวายเป็นพระราชกุศล ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เริ่มย่างเข้าสู่กาลมหามงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ใน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว.. ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา

โฉมหน้า วุฒิสภา 2567 สว. 200 เก้าอี้ มาจาก 4 กลุ่ม

สัปดาห์หน้าวันที่ 26 มิถุนายน มาถึงการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ 200 คน รอบสุดท้ายแล้ว เพราะเป็นการเลือก สว.ระดับประเทศ ที่คาดว่าช่วงเย็นวันที่ 26 มิ.ย.

เดี้ยงยกแผง พังทั้งกระดาน! คดียุบพรรคก้าวไกล รอดยาก

เรื่อง "คดีความ" เชิงการเมืองที่หลายคนเฝ้าติดตามกันอยู่ในเวลานี้ คงไม่พ้น 3 คดีสำคัญ คือ “คดี 112” ที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๔)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับที่ เวฬุวัน ใกล้นครกิมมิลา พระกิมมิละได้เข้าเฝ้ากราบทูลถามถึงเหตุปัจจัยที่พระสัทธรรมดำรงอยู่ไม่นานและอยู่ได้นาน หลังจากพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว.. ตรัสตอบว่า...

ล้างผิด 112 ให้เป็นอำนาจ คณะกรรมการนิรโทษกรรม

ประเด็น "การนิรโทษกรรม" กลับมาเป็นที่สนใจของสังคมการเมืองอีกครั้ง โดยเฉพาะการนิรโทษกรรมคดี 112 หลัง "ทักษิณ ชินวัตร" ผู้มากบารมีของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ถูกอัยการสูงสุดสั่งฟ้องในคดี 112