ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วในปี 2564 โดยมีผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่ไทยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ อยู่ที่ระดับ 17.57% ของประชากรทั้งหมด และหากไปดูสถิติย้อนหลังยังจะพบอีกว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยมีการประเมินว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้าหรืออาจจะเร็วกว่านั้น ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดประชาชนกลุ่มวัยทำงาน นั่นเพราะในสังคมจะมีแต่ผู้สูงอายุ!!
ประเด็นนี้ถือเป็นอีกหนึ่ง ความท้าทาย ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องการจัดสรรสวัสดิการเพื่อมารองรับและดูแลผู้สูงอายุให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีประสิทธิภาพ ที่จะถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ คงหนีไม่พ้น เงินสวัสดิการช่วยเหลือจากภาครัฐ อย่าง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการหารายได้และมีเงินออมต่ำ ขณะเดียวกันมีการประมาณการว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะต้องใช้งบประมาณเพื่อรองรับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแตะหลักแสนล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายต่างนำเสนอแนวทางเพื่อรองรับทั้งในส่วนการใช้งบประมาณ และดูแลผู้สูงอายุที่จะกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ไม่เพียงแต่การจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้สูงอายุผ่านเบี้ยยังชีพเท่านั้น แต่ที่ผ่านมารัฐบาลยังได้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือ การเป็นผู้สูงอายุที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งมีการจัดสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุในประเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในสวัสดิการที่น่าสนใจคือ “โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุแบบครบวงจร (Senior Complex) บนที่ดินราชพัสดุ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีที่พักอาศัยพร้อมอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ มีระบบการดูแลสุขภาพและสวัสดิการอื่นๆ แบบครบวงจร นั่นจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง “กรมธนารักษ์” และ “คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล” ในการจัดสร้าง ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์
สันติ พร้อมพัฒน์ รมช.การคลัง ระบุว่า การพัฒนาที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์นั้น เป็นการนำที่ดินราชพัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ที่เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
โครงการดังกล่าวได้มีการเปิดจองเรียบร้อยแล้วและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยผู้สนใจยังสามารถจองได้อยู่ ด้วยเพราะพื้นที่ตั้งโครงการมีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในทำเลปลายสายเส้นรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมีโรงพยาบาลจักรีนฤบดินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือหากกรณีเจ็บป่วยในระดับปฐมภูมิก็สามารถใช้บริการโครงการส่วนขยายห้องตรวจผู้ป่วยนอก (Extended OPD) ที่ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายได้ เรียกได้ว่าสามารถพัฒนาให้เป็น “เมืองต้นแบบ” ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ได้
“ปัจจุบันที่ดินราชพัสดุจำนวนกว่า 12 ล้านไร่ ได้กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญในการนำที่ดินของภาครัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชน ทั้งการจัดสรรที่ดินเพื่อทำกิน และสร้างเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน นับเป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากจากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินราชพัสดุให้มีศักยภาพ และยังเป็นโครงการนำร่องในการรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยอีกด้วย”
ขณะเดียวกัน ยังมีแผนในการปรับจำนวนยูนิต และขนาดของพื้นที่ใช้สอยให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่ต้องการเข้ามาพักอาศัยในโครงการด้วย โดยได้มอบให้บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด หารือร่วมกับบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ ธพส. ปรับเปลี่ยนออกแบบห้องพักใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จะได้อยู่อาศัยได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ได้ให้ ธพส.เร่งจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการ ภายหลังจากการถมดินในพื้นที่ โดยกำหนดจุดสร้างถนนคอนกรีตเข้าในโครงการทั้งถนนเมนหลัก และถนนทางเข้าต่างๆ พร้อมทั้งปรับภูมิทัศน์ กำหนดจุดสร้างซุ้ม รวมถึงสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
โดยได้ปักธงแบ่งการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวตามประโยชน์ใช้สอย เป็น 3 โซน ประกอบด้วย 1.โซนศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร และบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice Zone) 2.พื้นที่สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการพักฟื้น หรือฟื้นฟูสุขภาพ (Nursing Home Zone) สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าสู่ภาวะต้องพึ่งพิง หรือติดเตียงและเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ 3.ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร และบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายและพื้นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Housing Zone) ซึ่งรัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและผู้สูงอายุ รวมถึงประชาชนให้ได้รับความเป็นอยู่ที่ดีอย่างมั่นคงและยั่งยืน
สำหรับโครงการพัฒนา “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์” นั้น เริ่มประเดิมบนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ สป.623 (บางส่วน) ต.บางปลาม้า อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ บนเนื้อที่ 20 ไร่ จำนวน 921 ยูนิต ขนาดต่อยูนิตไม่ต่ำกว่า 35 ตารางเมตร ใน 3 ระดับราคา ตั้งแต่ระดับราคา 1.82 ล้านบาท และระดับราคา 1.99 ล้านบาท ไปจนถึงระดับราคา 2.10 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่รวมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจะให้สิทธิ์ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้เข้าพักอาศัย และจะได้รับสิทธิ์เช่าระยะยาว เป็นเวลา 30 ปี
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 58 ปี ณ วันที่จองสิทธิ์ และ/หรือมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ณ วันที่เข้าพักอาศัยจริง และต้องมีสุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือพึ่งพาตัวเองได้ดี ไม่มีโรคหรืออาการของโรคอันเป็นอุปสรรคในการเข้าพักอาศัยภายในโครงการ โดยผู้สูงอายุจะต้องผ่านการคัดกรองสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนจึงจะสามารถเข้าพักอาศัยได้
และสามารถพักอาศัยได้ไม่เกิน 2 คนต่อยูนิต โดยให้ผู้ที่มีคุณสมบัติหลักเป็นสัญชาติไทยอย่างน้อย 1 คน รวมทั้งสามารถยอมรับเงื่อนไขค่าใช้จ่ายตามที่โครงการกำหนด หรือยอมรับเงื่อนไขการขอสินเชื่อจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย และไม่สามารถซื้อขายหรือโอนสิทธิ์การเช่าให้บุคคลอื่นได้ เว้นแต่ขายคืนให้แก่ผู้บริหารโครงการ แต่หากผู้ได้สิทธิ์ประสงค์จะออกจากโครงการก่อนระยะเวลาเช่า 30 ปี หรือเสียชีวิต สิทธิ์การพักอาศัยจะถูกระงับทันที โดยไม่ตกทอดแก่ทายาท ซึ่งผู้บริหารโครงการจะมีข้อกำหนดในการคืนเงินของผู้ได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยให้กับผู้รับผลประโยชน์.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขบวนการแพทย์ชนบท กับรางวัลแมกไซไซ ปี 2024 ทิศทางพัฒนาระบบสุขภาพไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. คณะผู้แทน”ขบวนการแพทย์ชนบท” ได้เดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2024
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย