บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๒)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. สืบเนื่องจากการบรรยายธรรมในหัวข้อ “จิตวิญญาณนักปกครอง .. สู่พลังธรรม เพื่อพลังของแผ่นดิน” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ใน ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ของประชาชนชาวไทย

การบรรยายธรรม ท่ามกลาง นายอำเภอ-ปลัดจังหวัด ทั่วประเทศ ภายใต้การนำของ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง, รองอธิบดี และเจ้าหน้าที่กรมการปกครองระดับสูง ร่วมพันคน ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ในวันนั้น ย่อมไม่ธรรมดา เมื่อผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายธรรมเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทำหน้าที่ นักปกครอง ที่ต้องมีจิตวิญญาณสืบทอดราชธรรม เพื่อการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประชาราษฎร์ ที่มาจากทุกอำเภอทั่วประเทศ

จึงควรอย่างยิ่งในการอัญเชิญพระราชดำรัสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี จอมกษัตริย์ผู้ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ที่ได้ทรงวางรากฐานระบบธรรมาธิปไตยไว้ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อความเป็น รัฐเดียว.. มีชาวไทยเป็นหนึ่งเดียว โดยคำนึงถึงความเป็น เสรีชน ที่มีสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายการปกครอง ที่คำนึงถึง ความยุติธรรมและนิติธรรม อันเสมอภาคกันทั่วทั้งแผ่นดิน ด้วยความรักของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย.. ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสว่า...

“เราจะเป็นเหมือนบิดาของเจ้า เสมอตลอดไป

ย่อมยินดีในเวลาเจ้าทั้งหลายมีความสุข

จักปลดเปลื้องในเวลาเจ้าทั้งหลาย มีภัย ได้ทุกข์”

จึงเป็นที่มาของคำว่า “ขจัดทุกข์ บำรุงสุข” ที่นักปกครองนำมาเป็นอุดมคติถึงปัจจุบัน.. ที่สะท้อนถึงความจริงที่ว่า การเป็นผู้ปกครองนั้น จะต้องมีจิตวิญญาณนักปกครอง ที่มีจิตสำนึกในการเกิดมา เพื่อทำหน้าที่ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ บำรุงสุข ให้กับผู้อื่น โดยคำนึงถึงประเทศชาติเป็นสำคัญ

ความรักและความรับผิดชอบต่อฐานะ .. หน้าที่ กลายเป็นจิตวิญญาณของจอมกษัตริย์ผู้ทรงนั่งอยู่ในจิตใจมหาชนมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยทรงคำนึงว่า.. “การเกิดมาเป็นกษัตริย์ของประชาชนนั้น เป็นเรื่องของกรรม.. มิได้ถือว่าเกิดมามีบุญ..” ด้วยความรู้เข้าใจในธรรม.. ธรรมชาติของชีวิตตามหลักพุทธศาสนา ดังที่พระองค์ท่าน (รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี) ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทถึง เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อ ๘ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๒ ว่า..

“อย่าถือว่าเกิดมามีบุญ ต้องถือว่า ตัวเราเกิดมามีกรรม

สำหรับจะเทียมแอก เทียมไถ ทำการงานที่หนัก...

การจะมีวาสนาขึ้นต่อไปนั้น เป็นความทุกข์ มิใช่ความสุข”

และทรงกล่าวย้ำเตือนจิตใจราชวงศ์เสมอว่า.. “กษัตริย์มิใช่มีบุญ.. แต่มีกรรม.. ด้วยมีภาระอันใหญ่หลวงที่ทรงรับในตำแหน่งประมุขของประเทศ..”

ในห้วงเวลาที่จอมกษัตริย์ผู้เป็นที่รักของประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้บริหารประเทศ เป็นห้วงเวลาที่สังคมโลกกำลังปรับเปลี่ยน ด้วยกระแสอิทธิพลจากประเทศมหาอำนาจทางฝ่ายตะวันตก.. ที่พยายามเผยแพร่ อำนาจประชานิยม ขึ้น เพื่อล้มล้างระบบกษัตริย์ ที่ถือปกครองมายาวนาน.. จึงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในหลายประเทศ รวมถึงการเผชิญจากการล่าอาณานิคม.. ไปสู่ประเทศที่ด้อยพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในเอเชีย ที่ได้รับแรงกระทบอย่างยากจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะจาก ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ซึ่งเป็นแนวคิดของชาติมหาอำนาจทางยุโรป ที่จะขยายอำนาจอิทธิพลของตนเข้าครอบครองดินแดนที่ล้าหลังและด้อยความเจริญในทวีปต่างๆ เพื่อแสวงผลประโยชน์ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น แหล่งวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ และการระบายสินค้าในรูปการค้าขายแลกเปลี่ยนอย่างเอารัดเอาเปรียบ.. จนนำไปสู่การใช้กำลังที่เหนือกว่าในทุกรูปแบบ อาวุธที่ทันสมัยของชาวยุโรปเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติต่างๆ เหล่านั้น ใน รูปของการล่าอาณานิคม (Colonization)

สยามประเทศ หรือ ราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ก็หนีไม่พ้นอิทธิพลเถื่อนล่าอาณานิคมจากชาติมหาอำนาจทางยุโรป ดังที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยห้วงเวลาดังกล่าว ที่นักเรียน-นักศึกษาและเยาวชนไทยในปัจจุบันควรศึกษาอย่างยิ่ง ว่า.. “ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นยุคที่ราชอาณาจักรสยามต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์อย่างหนักจากการล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ที่เข้ายึดประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ คงเหลือแต่ประเทศของเรา...”

คำถามว่า สยามประเทศรอดพ้นความเป็นประเทศในปกครองของชาติมหาอำนาจทางยุโรปได้อย่างไร!?

อะไรคือ พระราชวิเทโศบาย ในการรักษาเอกราชของสยามประเทศ.. จนนำมาสู่ความเป็นราชอาณาจักรไทย ที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครๆ... ได้ถึงปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง!!

ประวัติศาสตร์สยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕.. จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่าน.. สู่ความเป็นราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ที่เราชาวไทยควรมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หากได้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยใจที่เป็นกลางๆ.. ที่จักได้เห็นพระปรีชาสามารถของจอมกษัตริย์ผู้ทรงราชธรรม.. ที่ทรงแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเต็มที่ด้วย ธรรมวิธี ที่จะต้องยึดหลักคุณธรรมของผู้ปกครองตามพุทธภาษิต ที่ว่า...

๑.จะต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการงาน

๒.ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท

๓.มีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์

๔.มีความสามารถในการจัดแจงการงานได้ดี

คุณธรรมทั้ง ๔ ข้อ.. มีอยู่ใน สมเด็จพระปิยมหาราช .. จอมกษัตริย์ผู้เป็นที่รักของประชาชนอย่างสมบูรณ์ยิ่ง ที่ได้นำพาประเทศชาติรอดพ้นภัยร้ายมาได้ อีกทั้งยังใช้วิกฤตการณ์ดังกล่าว ปรับเปลี่ยนเป็นโอกาสเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาป้องกันประเทศ โดยปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม.. ให้เกิดความทันสมัยในทุกด้าน จึงได้เห็นการวางรากฐานการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ที่มิได้มุ่งประโยชน์ทางการเมืองอย่างเดียว หากแต่คงคำนึงถึงความเหมาะสมตามรูปแบบของสังคมไทยควบคู่ไปด้วย.. เพราะทรงเข้าใจในศักยภาพ.. คุณภาพของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการยึดถือ คติพุทธศาสนา ในการดำรงชีวิต.. ที่แตกต่างจากชาติตะวันตก...

ดังที่ทรงกระทำการปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยโดยพระองค์เอง เช่น ยกเลิกระบบจตุสดมภ์.. สู่การจัดระเบียบการปกครองเป็นส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค รวมศูนย์อำนาจการปกครอง สู่ ความเป็น “รัฐชาติ” โดยยึดคติว่า “ประชาชนทุกหมู่เหล่าบนแผ่นดินไทย ย่อมเป็นคนไทยเหมือนกันหมด...”

ความเป็น “เสรีชน” จึงเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี.. ที่เกิดขึ้นด้วยความรักที่จอมกษัตริย์มีให้กับประชาชนของพระองค์ท่าน ที่นำไปสู่การยกเลิกการมีไพร่-มีทาส เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๗ (ทรงประกาศพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย พ.ศ.๒๔๑๗) จนถึง พ.ศ.๒๔๔๘ (ทรงออกพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทรศก ๒๔) นอกจากนั้น ยังได้มีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้ว กลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินไพร่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว

การยกเลิกทาสในประเทศไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ชาวไทยมิลืมเลือน จึงกำหนดวันที่ ๑ เมษายน ในทุกๆ ปี เป็นวันเลิกทาส.. สู่ความเป็นเสรีชน ตามที่ทรงมุ่งหวัง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสทางการศึกษาอันเท่าเทียมกัน ให้การส่งเสริมอาชีพให้มั่นคงทุกภูมิภาค และให้ความคุ้มครองจากรัฐอย่างเสมอกัน

การจัดส่งคนไทยไปศึกษาในยุโรปเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นโดยพระวิสัยทัศน์ในรัชกาลที่ ๕ เพื่อการสร้างคน-สร้างชาติ ให้สยามประเทศสามารถพัฒนาตนเองให้มีความเจริญทัดเทียมกับชาติยุโรป ไม่ต้องรอคอยความช่วยเหลือจากใครๆ... เพื่อจะได้ประกาศให้นานาประเทศได้รับรู้และประจักษ์ ว่า

“สยาม ไม่ใช่ประเทศ บ้านป่าเมืองเถื่อน อย่างที่นักล่าอาณานิคมประโคมข่าว...”

ที่สำคัญอย่างยิ่ง.. ในห้วงการเปลี่ยนแปลงของประเทศ เพื่อความเจริญเทียบเท่านานาอารยประเทศ พระองค์ท่าน.. ทรงตระหนักถึงผลพิษแห่งการศึกษาที่สุดโต่งไปทางโลกตะวันตกเช่นเดียวกัน ดังที่ได้ทรงตักเตือนบรรดาเจ้าฟ้า พระราชวงศ์.. จนถึงประชาชนทั่วไป ที่ได้รับการส่งเสริมให้ไปศึกษาในยุโรป ว่า...                “อย่าไปลอกตำรา ปลูกข้าวสาลี มาปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว...”

ด้วยทรงเล็งเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในเบื้องหน้า จากพวกเสพตำราฝรั่งโลกตะวันตก.. ที่จะนำไปสู่ความคิดสุดโต่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสยามประเทศ.. โดยไม่คำนึงถึงความพร้อม..ความเหมาะสมของประชาชน ตลอดจนถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมไทย.. ซึ่งที่สุดต่อมาก็เกิดขึ้นจริง ดังปรากฏสืบเนื่องมาจาก “คณะราษฎร ๒๔๗๕” .. จนถึงคนไทยกลุ่มหนึ่งในปัจจุบัน...!!.

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

“ศาสนกิจในอินเดีย .. ณ นครปูเน่” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ ก.ค.๖๗ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครปูเน่ รัฐมหาราษฏระ อินเดีย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการสร้างวัดแห่งแรกของชาวพุทธในอินเดีย

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๗)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. พระพุทธเจ้าได้ตรัส หลักการปกครองตามแบบธัมมิกสูตร ว่า..

ดร.มานะ-ว่าที่ สว. 2567 ความเป็นอิสระไม่มีอยู่จริง เรื่องใบสั่งก็คงมีบ้าง ไม่มีบ้าง

หนึ่งในผู้ผ่านการคัดเลือก 200 รายชื่อให้เตรียมเข้าไปทำหน้าที่ "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ ที่น่าสนใจ ก็คือ "ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต สส.ศรีษะเกษ" ที่เคยสังกัดพรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๖)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ได้เขียนคำกล่าวสอนใจไว้บทหนึ่งว่า.. ถึงมีอำนาจ วาสนา สักปานไหน