ภาคเกษตรเคยเป็นพระเอกทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นแหล่งอาหารที่เลี้ยงดูประชากรให้มีความอิ่มหนำสำราญ สร้างโอกาสให้คนไปทำงานอื่น ๆ แถมยังสร้างชื่อเสียงเป็นหน้าเป็นตาให้ประเทศด้วย โดยเฉพาะข้าวซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งในโลกอยู่หลายปี คนรวยในหมู่บ้านเป็นชาวนา ลูกชายบ้านใหนมีที่นาเยอะๆ จะมีสาวมาตามจีบ แต่สมัยนี้ กลับตาลปัตรเหมือนเป็นฉาก ข้าวกลายเป็นผู้ร้ายที่หมอสั่งให้กินน้อยลง การปลูกข้าวสร้างมลพิษทางอากาศ ลูกชายชาวนาเดินมาไม่มีสาวหัน แถมยังเมิน เหมือนดาราตกอับ ชาวนากลายเป็นขอทานรอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ไม่มีศักดิ์ศรีเหมือนแต่ก่อน เกิดอะไรขึ้น? แล้วอนาคตภาคเกษตรจะเป็นอย่างไร?
ภาคเกษตรมีสัดส่วนในรายได้ประชาชาติ (GDP) เพียงแค่ประมาณร้อยละ 10 และลดลงไปเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาคเศรษฐกิจบริการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริการใหม่ ๆ เช่น การบริหารจัดการข้อมูล ที่ปรึกษาด้านการเงิน บริการทางการแพทย์ เป็นต้น แต่ความจริงแล้ว มูลค่าการผลิตของภาคการเกษตรก็ยังจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาเพราะประเทศไทยมีพื้นที่ซึ่งเหมาะสมกับการทำการเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้ปุ๋ยและวิทยาการใหม่ ๆ เพียงแต่ผลผลิตการเกษตรก็มีความผันผวนไปตามความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือรุ่นลูกและหลานที่มีการศึกษาที่ดี ทยอยกันออกจากภาคเกษตรไปทำงานในภาคการผลิตอื่น ๆ
ความท้าทายของภาคเกษตรไทย
ความท้าทายสำคัญของภาคเกษตรคือใครจะมาเป็นเกษตรในอนาคต ทำอย่างไรจึงจะจูงใจให้มีคนรุ่นใหม่เข้าเป็นเกษตรกร ทำอย่างไร เกษตรกรจึงจะมีรายได้มาก ครอบครัวมีความกินดีอยู่ดี และอยู่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และ จีน ต่างก็ผ่านปัญหานี้แล้ว และส่วนใหญ่แก้ปัญหาในระยะแรกไม่สำเร็จเพราะเลือกทางลัดโดยการอุดหนุนราคาและแจกเงิน เช่น Farm Act ของสหรัฐฯ Common Agricultural Policy (CAP) ของยุโรป และ การอุดหนุนเกษตรกรของญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างปัญหาระยะยาว มีภาระการคลังที่ไม่สามารถแก้ได้ และที่สำคัญคือเป็นการทำลายภาคเกษตรทางอ้อมเพราะยิ่งช่วยเกษตรก็ยิ่งต้องพึงเงินช่วยเหลือมากขึ้นไม่คิดขวนขวาย
โจทย์คือจะทำให้สินค้าเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างไร? คำตอบอยู่ที่ฝั่ง อุปสงค์ อยู่ที่คนจ่ายเงิน ไม่ใช้ด้านอุปทาน กล่าวคือ ไม่ใช่อยู่ที่การทำสินค้าให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เป็นการหาลูกค้าที่อยากได้สินค้าของเราและยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น แนวคิดเช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ที่การตลาดนำ โดยฉพาะโครงการ One Village One Product OVOP ของประเทศญี่ปุ่นปี 2522 (45 ปีที่แล้ว) คัดสรรผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจแล้วรวมตัวกันไปขาย ต่อมาประเทศเกาหลีก็นำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง และประเทศไทยก็เริ่มทำโครงการ OTOP ในปี 2539 ปัจจุบัน กลายเป็น วิถีหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP Movement) ทำให้สินค้าจากไร่ จากนา มีการเพิ่มมูลค่าในลักษณะต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม OVOP ยังเน้นเรื่องการผลิต ดังนั้น เมื่อทำมาสักระยะหนึ่ง โครงการเหล่านี้ก็จะประสบปัญหาเพราะไม่สามารถมีสินค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากแต่ละพื้นที่ก็มีของดีเพียงบางอย่างเท่านั้น ซึ่งโครงการ OTOP ของไทยก็กำลังเจอปัญหาเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา social media ที่ใช้ง่ายขึ้น ภาพของเกษตรกรขายสินค้าตรงไปถึงผู้บริโภค จึงเริ่มเกิดขึ้น มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ระบบการชำระเงิน การขนส่ง การคืนของเริ่มถูกนำมาสร้างมูลค่าให้สินค้าเกษตรทั่วทั้งประเทศ เมื่อรู้แล้วว่าผู้บริโภคต้องการอะไร และจะจัดส่งไปได้อย่างไร คำถามในขณะนี้คือจะผลิตสินค้านั้นอย่างไรให้ดีและต้นทุนถูก จะทำกำไรได้อย่างไร รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการเงิน ภาษี ปฎิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ การรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคม และ มีระบบธรรมาภิบาลที่ดี
ลูกค้าของสินค้าเกษตรของไทยอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียซึ่งจำนวนประชากรกลุ่มรายได้ปานกลางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว World Economic Forum ทำนายว่า จำนวนผู้มีรายได้ปานกลาง ในเอเชีย จะเพิ่มขึ้น จาก 2 พันล้านคนในปัจจุบัน เป็น 3.5 พันล้านคนในปี 2573 (2030) การบริโภคสินค้าเกษตร นอกจากเนื้อแล้ว ผัก ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ก็มีคนซื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในเบื้องต้น ควรจะมีการศึกษาว่าสินค้าอะไรที่น่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดที่ใหน ใครเป็นคู่แข่ง แล้ววางแผนการเข้าสู่ตลาดเหล่านั้น
ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมคล้ายกับประเทศไทย มักถูกมองว่าเป็นคู่แข่ง เป็นศัตรู แต่ขณะเดียวกัน ประเทศเหล่านี้ก็เป็นเพื่อนร่วมทางที่มีจุดหมายเดียวกัน มีหลาย ๆ อย่างที่ต้องทำด้วยกัน และ หลายๆ อย่างก็ต้องแข่งกัน การสร้างความร่วมมือที่ดีจะช่วยให้ทั้งภูมิภาคเข้มแข็ง ไม่ต้องเสียเวลามาตีกัน เอาเวลาไปบุกตลาดใหญ่ ๆ ด้วยกันจะดีกว่า
หน้าที่และบทบาทของภาครัฐ
บทบาทของภาครัฐที่จะช่วยให้เกษตรเข้าถึงตลาดได้โดยตรงมากขึ้นคือการสร้างระบบกฎเกณฑ์ มาตรฐาน การตรวจสอบคุณภาพ อำนวยความสะดวกแก่ให้การซื้อขายโดยตรงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคเกิดขึ้นได้โดยสะดวก ไม่ใช่แค่ในประเทศแต่ส่งออกไปทั่วโลก
บทบาทหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนา (Research and Development) ซึ่งในอันดับแรกคือวิจัยเพื่อสร้างระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรต่าง ๆ ระบบวิธีการตรวจสอบ และการเจรจากับต่างประเทศ งานเหล่านี้เอกชนทำเองไม่ได้ ปรับปรุงและพัฒนาระบบมาตรฐานของสินค้าที่ประเทศไทยส่งออก เช่น ทุเรียน ลำไย มังคุด เป็นต้น โดยสร้างทีมของมีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในมาตรฐานสินค้าสำคัญเหล่านี้เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่จะใช้ในการเจรจากับต่างประเทศและพัฒนาคุณภาพของสินค้าของไทยให้อยู่ในสูงซึ่งจะเป็นการรักษาตลาดในระยะยาว บุคคลากรเหล่านี้จะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญของประเทศ ต้องมีระบบการดูแลเป็นพิเศษ
โดยสรุป ภาคเกษตรของไทยเริ่มจากการเป็นพระเอก ต่อมากลายเป็นผู้ร้ายและตกอับ รอรับความช่วยเหลือ ในอนาคตภาคเกษตรคงไม่สามารถกลับเป็นพระเอก เพราะ คงแข่งกับ AI และเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ได้ แต่เป็นตัวรองที่มีของดีและขายสินค้าที่คนซื้อชอบและยอมจ่ายค่าคุณภาพ กระทรวงเกษตรฯควรให้มีศึกษาและวางแผนพัฒนาเกษตรของสินค้าที่มีศักยภาพและประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ
ส่งบทความคอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ สําหรับ
ดร สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทศวรรษนานาชาติแห่งวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความยั่งยืนเป็นเรื่องที่รณรงค์กันมายาวนานต่อเนื่อง...และจะยังคงต้องรณรงค์กันต่อไป และ...วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่จะต้องรณรงค์คู่ขนานกันกับการพัฒนา
ลงทุนในทองคำดีไหม
ข่าวที่เราได้เห็นอยู่บ่อยๆ ในปีนี้ ว่าราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก น่าจะทำให้เรารู้สึกว่าเราควรจะลงทุนซื้อทองคำตอนนี้ไว้มากๆ เผื่อเอาไว้ขายทำกำไรได้งามๆ ในอนาคต
เปลี่ยนก้อนหิน เป็นดอกไม้..เปลี่ยนความขัดแย้ง เป็นความปรองดอง หลอมรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย พาประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า…..
ปีแล้วปีเล่าที่ประเทศอันเป็นที่รักของเรา ต้องติดหล่ม จมอยู่กับความขัดแย้ง และทิ่มแทงกันด้วยถ้อยคำกร้าวร้าวรุนแรง แบ่งฝักฝ่ายขว้างปาความเกรี้ยวกราดใส่กัน ด้วยเหตุจากความเห็นที่แตกต่างกัน และช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความเป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสลดหดหู่หัวใจอย่างยิ่ง
ตลาดหุ้นกู้ กับ การสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
นช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทเอกชนเข้ามาระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้กันมากขึ้น ตลาดหุ้นกู้จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีมูลค่าคงค้างราว 4.5 ล้านล้านบาท จำนวนบริษัทที่ออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนก็เพิ่มขึ้นมาก ไม่จำกัดอยู่เพียงบริษัทขนาดใหญ่เหมือนแต่ก่อน แต่มีทั้งบริษัทขนาดกลางขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น
โหมโรงของคอร์รัปชันรูปแบบใหม่ในโลกปัจจุบัน
การคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่หยั่งรากลึก แพร่กระจาย และบ่อนทำลายความไว้วางใจที่มีต่อรัฐบาล อีกทั้งยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศในทุกมิติ เมื่อเวลาแปรเปลี่ยนไป โลกเข้าสู่ทศวรรษใหม่ การคาดการณ์ถึงวิวัฒนาการของการคอร์รัปชันเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการคอร์รัปชันสมัยใหม่จะทำให้ทุกภาคส่วน สามารถพัฒนามาตรการรับมือที่มีประสิทธิผล