นโยบายสาธารณะเรื่องบาทดิจิทัล

“หากนำการเบิกจ่ายงบประมาณไปอยู่บน Blockchain ทั้งหมด ก็เป็นประโยชน์ที่ผมพอจะเห็นได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากบาทดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้ Blockchain มันก็จะกลับไปเหมือนรูปแบบเดิมๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น eMoney หรือโอนเงินกันธรรมดาผ่าน Prompt Pay หมายความว่า อาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการสร้างบาทดิจิทัลมากนัก เพราะสามารถใช้แนวทางและระบบที่มีอยู่เดิมได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างระบบขึ้นมาใหม่”

จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในระหว่างดำเนินการพัฒนา "บาทดิจิทัล" ซึ่งอาศัยเทคโนโลยี Blockchain คล้ายกับเหล่าสกุลเงิน Crypto Currency (เช่น Bitcoin) เพียงแต่จะถูกดำเนินการและควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหลัก (เรียกอีกอย่างว่าเป็นลักษณะแบบรวมศูนย์กลาง หรือ Centralized Finance) และคาดการณ์ว่าจะนำมาใช้งานจริงในปี 2565 

 แนวคิดการสร้างเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และมีหลายประเทศที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งพัฒนาและใช้งานจริงแล้ว โดยเรียกสกุลเงินดิจิทัลของตนว่า “หยวนดิจิทัล”

 แล้วบาทดิจิทัลแตกต่างจากสกุลเงิน Crypto Currency ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้อย่างไร เหตุจึงต้องมีข้อเสนอในบทความนี้?

 ปกติ Crypto Currency (ปัจจุบันมีนับหมื่นตัว และ Bitcoin เป็นตัวหลักและตัวแรก) จะมีจุดเด่นที่เหมือนกันแทบทุกตัว คืออาศัยเทคโนโลยี Blockchain และเป็น Decentralized คือไร้คนกลางมาควบคุม ซึ่งเป็นคนละขั้วสกุลเงินประเทศต่างๆ ในโลก ทั้งเงินปกติ (เงินเหรียญและเงินกระดาษ) และเงินดิจิทัล (เช่น บาทดิจิทัล และหยวนดิจิทัล)

 คำว่ามีคนกลางมาควบคุมนั้น แปลว่าที่จริงแล้วเงินนั้นไม่ใช่เงินในความควบคุมของเรา (เจ้าของเงิน) อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น     

ก. คนกลางสามารถกำหนดข้อห้ามหรือเงื่อนไข หรือออกกฎหมายควบคุม เช่น การโอนโยกย้ายเงินถ้าเกินยอดเท่านี้ต้องชี้แจง หรือมีขั้นตอน มีระเบียบในการโอนข้ามสกุลหรือข้ามประเทศ

ข. ถ้าธนาคารที่เราฝากเงินไว้ปิดกิจการ (เจ๊งไป) เงินเราก็สูญ

ค. ถ้าประเทศเจ้าของสกุลเงินล้มละลาย เงินสกุลนั้น (และเงินเรา) ก็ไร้ค่า

ง. คนกลาง (ธนาคาร หรือรัฐบาล) อาจจะอายัดบัญชีเราเมื่อไหร่ก็ได้ (เงินอยู่ในมือเขา)

จ. หากเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ ค่าเงินก็ตกต่ำลงโดยอัตโนมัติ ทั้งๆ ที่เงินที่สะสมมาเกิดจากการที่เราก็ทำงานหนักและอาศัยความสามารถในอดีต

ฉ. เงินด้อยค่า (เงินเฟ้อ) ตลอดเวลา เพราะมีการเพิ่มปริมาณเงินเข้าในระบบอยู่ตลอด เช่น ดูเทียบมูลค่าเงินดอลลาร์เทียบกับทองคำใน 30 ปีย้อนหลัง จะพบว่าเราต้องใช้เงินดอลลาร์มากขึ้นในการซื้อทองคำปริมาณเท่าเดิม ทั้งๆ ที่ทองคำเป็นของที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิม (ทองคำในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตก็ยังมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนเดิม) 

ช. และอีกหลายอย่างๆ ที่เป็นเงื่อนไข ข้อจำกัด ฯลฯ

ที่ทราบจากสื่อต่างๆ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสร้างบาทดิจิทัลให้อิงบนพื้นฐาน Blockchain แต่แน่นอนว่าจะเป็นแนวทาง Centralized คือ ธนาคารกลางมาควบคุม (มากกว่าจะเลือก Decentralized) ซึ่งไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมายแต่อย่างใด

ถ้าเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ผมเห็นว่าจะพอเป็นประโยชน์ (เพิ่มเติมจากที่ทราบจากสื่อทั่วไป) ในการนำบาทดิจิทัลไปปรับใช้ในมุมของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งมีการจัดสรรเป็นประจำทุกปีตามรายกระทรวง ทบวง กรม มีดังนี้

1.เพื่อให้เกิดความโปร่งใสจากส่วนกลาง เงินงบประมาณแผ่นดิน ให้แจกจ่ายจากสำนักงบประมาณ หรือกรมบัญชีกลาง ออกไปยังหน่วยราชการต่างๆ ในรูปของบาทดิจิทัล

2.เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง การใช้จ่ายเงินต่างๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างจากโครงการของรัฐ การจ่ายเงินเดือน และการจ่ายสวัสดิการ ให้จ่ายเป็นบาทดิจิทัล และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ ภาคเอกชนและข้าราชการต้องมีการสร้างกระเป๋าเงินดิจิทัลมาเก็บบาทดิจิทัล หมายความว่าจะเกิดการใช้งานแพร่หลาย

3.เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมบาทดิจิทัลมีความมั่นคงทนทานต่อการถูกโจมตี ควรให้มีการสร้าง Blockchain nodes คือตั้งคอมพิวเตอร์ไว้หลายแห่ง (เพื่อช่วยเป็นแหล่งสำรองการประมวลผลซึ่งกันและกัน) เช่น กระทรวงละ 1 โหนด (เป็นอย่างน้อย) ทั้งนี้ไม่ควรอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลแหล่งเดียว

 4.นำข้อดีของ Decentralized เข้ามาผสม โดยส่งเสริมและอนุญาตให้ภาคเอกชนเข้าร่วมตั้ง Blockchain node ของบาทดิจิทัลด้วย เพื่อให้รายการใช้จ่ายเคลื่อนไหวของเงินสามารถถูกตรวจสอบได้ (เมื่อจำเป็น)

5.ธุรกรรมทั้งหมดให้บันทึกลงใน Blockchain ของบาทดิจิทัลกระจายสำเนาอยู่ทุกโหนด และสามารถตรวจสอบเรียกดูรายการใช้จ่ายได้หมด

6.ให้มี Blockchain ของบาทดิจิทัลอยู่ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลางด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบบัญชีได้ตลอดเวลา จัดทำบัญชีได้แบบอัตโนมัติ ให้ใช้ระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ในการตรวจสอบการทุจริตอัตโนมัติ

7.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชน สาธารณะชน สามารถเขียนโปรแกรมเข้ามาเรียกสรุปดูรายการใช้จ่ายภาครัฐได้ทุกเมื่อ สามารถทราบบัญชีกระแสเงินสด รายรับจ่าย ได้ตลอดเวลา

8.ใช้บาทดิจิทัลเป็นช่องทางจ่ายเงินสู่กระเป๋าเงินของประชาชนและผู้ประกอบการ ที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ลดหย่อนภาษี หรือเยียวยาด้านต่างๆ

9.และแน่นอนว่า ก็ต้องขอความยินยอมให้ภาครัฐสามารถตรวจติดตามสถานะด้านการเงินของประชาชน เพื่อให้ภาครัฐเขาประเมินได้ว่าใครจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องได้รับสวัสดิการ หรือการเยียวยานั้นๆ

หากนำการเบิกจ่ายงบประมาณไปอยู่บน Blockchain ทั้งหมด ก็เป็นประโยชน์ที่ผมพอจะเห็นได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากบาทดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้ Blockchain มันก็จะกลับไปเหมือนรูปแบบเดิมๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น eMoney หรือโอนเงินกันธรรมดาผ่าน Prompt Pay หมายความว่า อาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการสร้างบาทดิจิทัลมากนัก เพราะสามารถใช้แนวทางและระบบที่มีอยู่เดิมได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างระบบขึ้นมาใหม่

ท่านใดมีความเห็นต่อ Blockchain แบบ Centralized หรือแนวทางการใช้ประโยชน์จากบาทดิจิทัลก็ร่วมแสดงความเห็นได้ครับ

หมายเหตุ ตัวผมมิได้เป็นผู้เกี่ยวข้องวงใน (หรือวงนอก) ใดๆ กับเงินบาทดิจิทัล ไม่ทราบข้อมูลเชิงลึกใดๆ จากคนของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ที่เสนอหรือเขียนมาทั้งหมด จะเรียกว่าเป็นความเห็นส่วนตัว วิสัยทัศน์ส่วนตัว หรืออะไรก็ได้ ท่านพิจารณาสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปปรับใช้ หรือขบคิดก็แล้วกัน.

โดย ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

“ศาสนกิจในอินเดีย .. ณ นครปูเน่” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ ก.ค.๖๗ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครปูเน่ รัฐมหาราษฏระ อินเดีย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการสร้างวัดแห่งแรกของชาวพุทธในอินเดีย

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๗)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. พระพุทธเจ้าได้ตรัส หลักการปกครองตามแบบธัมมิกสูตร ว่า..

ดร.มานะ-ว่าที่ สว. 2567 ความเป็นอิสระไม่มีอยู่จริง เรื่องใบสั่งก็คงมีบ้าง ไม่มีบ้าง

หนึ่งในผู้ผ่านการคัดเลือก 200 รายชื่อให้เตรียมเข้าไปทำหน้าที่ "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ ที่น่าสนใจ ก็คือ "ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต สส.ศรีษะเกษ" ที่เคยสังกัดพรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๖)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ได้เขียนคำกล่าวสอนใจไว้บทหนึ่งว่า.. ถึงมีอำนาจ วาสนา สักปานไหน