ต้องยอมรับว่าหลายๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ระบบสังคมโดยเฉพาะระบบย่อยหลายระบบ เช่น เศรษฐกิจ ครอบครัว สาธารณสุข ความเชื่อและศาสนามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตด้านวัตถุ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า หรือการนำปัญญาประดิษฐมาประยุกต์ใช้งานและธุรกิจต่างๆ เราได้เห็นชุดความคิดใหม่ๆ ในขณะที่ประเทศได้เข้าสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์แล้ว (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศและอีกเพียงไม่กี่ปีข้างหน้านี้เราก็จะพบกับสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าเราจะขาดแคลนประชากรในตลาดแรงงานโดยเฉพาะแรงงานที่ต้องใช้ฝีมือและความเชี่ยวชาญพิเศษ ความสามารถด้านการแข่งขันจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่การดิ้นรนต่อสู้ เพื่อการหาเลี้ยงชีพจะยิ่งมีมากขึ้น
ปัญหาของการติดสินบน คอร์รัปชัน ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ยิ่งถาถมปะดังเข้ามา กลุ่มผู้คนที่อยู่ได้ก็จะเกาะติดหนึบอยู่กับระบบอุปถัมภ์ซึ่งได้ฝังรากแก้วไว้อย่างแข็งแรงจนไม่สามารถจะทำให้หายไปจากสังคมได้ ระบบราชการเป็นอีกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่า “ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร” และถ้าเป็นในแวดวงการเมืองแล้ว ยิ่งทำให้เห็นชัดชึ้นเพราะการเมืองเป็นเรื่องของ อำนาจและผลประโยชน์ ถ้ามีการจัดสรรกันได้ลงตัว ทุกคนก็รับได้ไม่ส่งเสียงใดๆ
คำถามชวนคิดในบทความนี้คือเราควรมาคิดหาบรรทัดฐานของสังคมเพื่อความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ถ้าเริ่มจากทุกคนต้องเคารพกฎหมายที่เป็นกติกากลางของสังคม หลายคนก็จะพูดว่ากฎหมายมีความไม่เป็นธรรมหรือเป็นสองมาตรฐาน คนนั้นขับรถชนคนตายติดคุก 5 ปี แต่คนนี้ขับรถชนตำรวจตาย ผ่านไปกว่าสิบปี คดีกําลังจะขาดอายุความ เป็นต้น
แต่ที่สำคัญมากจนขอขึ้นเป็นหัวข้อของบทความนี้คือประเทศเรากำลังอยู่ภายใต้กระบวนการยุติธรรมหลายมาตรฐานจริงหรือไม่ ขอให้ผู้อ่านทุกท่านช่วยกันคิดและหาคำตอบร่วมกัน
ในประการแรก ประโยคที่ว่า กระบวนการยุติธรรมหลายมาตรฐานนั้น มีคำสำคัญอยู่ 3 คำคือ 1. กระบวนการ 2. ยุติธรรม และ 3. มาตรฐาน โดยกระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนงานเสร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และมาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเป็นเกณฑ์สำหรับรับรองกันทั่วไป ส่วนคำว่ายุติธรรม มีความหมายในตัวเองว่าผลใดๆ ที่เกิดขึ้นต้องเป็นธรรมและถูกต้องและที่สำคัญต้องสามารถอธิบายได้
ในประการที่สองนั้นกระบวนการยุติธรรมต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยฉพาะในเรื่องของความโปร่งใส ความสำนึกรับผิดชอบและความคุ้มค่า ซึ่งต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ดังนั้น ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่ากระบวนการยุติธรรมประกอบด้วยผู้รับผิดชอบ 3 ระดับคือ ต้นน้ำ คือ ตำรวจ พนักงานสอบสวน ดีเอสไอ กลางน้ำ คือ อัยการ และปลายน้ำ คือ ศาลยุติธรรม แล้ว ปัญหาที่ต้องร่วมกันคิดวิเคราะห์ต่อคือในแต่ละระดับนั้น มีสิ่งที่ถือเป็นเกณฑ์สำหรับรับรองกันทั่วไป คือมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นในระดับต้นน้ำนั้น ใบสั่งจราจรสามารถเสียถูกลงแบบตั๋วเด็กได้หรือไม่ การไม่ใส่หมวกกันน๊อคหรือขับขี่สวนเลนทำได้หรือไม่ ในระดับกลางน้ำคือ อัยการนั้น มีมาตรฐานในการสั่งคดีเหมือนกันหรือไม่หากเป็นเรื่องระหว่างคนจนและคนรวยที่ขับรถชนคนตายโดยประมาทหรือในการตัดสินใจอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ในคดีต่างๆ เป็นต้น
สิ่งที่ชวนผู้อ่านให้น่าขบคิดคือในปลายน้ำซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการยุติธรรมนั้น หากศาลสูงสุดมีคำพิพากษาตัดสินแล้ว คำตัดสินดังกล่าวจะต้องถูกเคารพปฏิบัติโดยทุกฝ่าย ไม่มีทางเป็นอย่างอื่นได้ ใช่หรือไม่ เพราะหากมีการตัดสินอย่างหนึ่งแล้วแต่ท้ายที่สุดนั้นคำตัดสินไม่ถูกบังคับปฏิบัติตามที่ปรากฏในคำพิพากษาแล้ว อาจถือได้ว่ากระบวนการยุติธรรมมีหลายมาตรฐาน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบสังคม โดยเฉพาะการเรียนการสอนในโรงเรียนกฎหมาย เพราะตัวบทกฎหมายจะไม่มีความสำคัญอีกต่อไป ซึ่งหากกระบวนการยุติธรรมของประเทศขาดความเชื่อถือในระดับสากลแล้ว ประเทศไทยคงจะไม่มีที่ยืนอย่างสง่างามบนเวทีโลกและการดำรงชีวิตต่อไปของผู้คนประชาชนจะขาดความเชื่อถือในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ขอให้ประชาชนทุกคนร่วมหาคำตอบด้วยกัน
เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
เทวัญ อุทัยวัฒน์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ณฐพร’ ห่วงบุคลากรกระบวนการยุติธรรม ไม่ทำหน้าที่ตาม รธน.
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ทุกท่านต้องไม่ลืมว่า ท่านมีหน้าที่ตามบทบัญัตติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (1)(2)
'พิชิต' ชี้ 'ทวี' ต้องรับผิดชอบทางการเมือง! ปมป่วยทิพย์ชั้น 14
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)
ไม่รอด! บุก ป.ป.ช. ทวงถาม ‘รมต.ทวี’ หลุดโผเอื้อนักโทษเทวดาชั้น 14
สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง (ป.ป.ช.) มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
'หมอวรงค์' จวกยับพักโทษคดีโกง เท่ากับร่วมมือกันทำลายประเทศ!
เราต้องยอมรับว่า คดีทุจริตที่เกิดจากนักการเมือง ต้องถือว่าเป็นคดีร้ายแรง พอๆกับคดีค้ายาเสพติด หรือแม้แต่คดีฆ่าข่มขืน เพราะการทุจริตเป็นการทำลายโอกาสของประชาชน มีผลกระทบต่อการ
ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ-มองต่างมุม
เมื่อต้นปี 2567 มีหนังสือตีพิมพ์ใหม่เล่มหนึ่ง ชื่อ The Trading Game: A Confession ผู้เขียน คือ Gary Stevenson ได้รับความชมชอบจากผู้อ่าน (4.2 ดาว จาก website Goodreads) และมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์อยู่ 2 ประเด็นว่า ผู้เขียนโอ้อวดเกินจริงว่าตนเป็นนักค้าเงินอันดับหนึ่งของโลก และอีกประเด็นในเรื่องแนวความคิดเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจที่ผู้เขียนมองว่า เป็นแนวความคิดใหม่ที่นักเศรษฐศาสตร์มองไม่เห็นมาโดยตลอด
สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!
นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื