ความล้มเหลวของการศึกษาไทยสู่ปัญหาที่ขาดผู้รับผิดชอบ

ในแวดวงนักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะต่างเห็นตรงกันว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศที่สำคัญลำดับต้นๆ คือการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 บัญญัติในสาระสำคัญว่า รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และในระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

ทั้งนี้รัฐยังต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และมีการตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนดังกล่าวด้วย เด็กๆ ที่เข้ารับการศึกษาทุกคนต้องมุ่งสู่การเป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ มีความเชี่ยวชาญ และรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญ มาตราเดียวกันยังกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู อีกด้วย เพราะสถาบันครูเองก็มีปัญหาสะสมนานหลายสิบปีทั้งในด้านของประสิทธิภาพ การพัฒนาศักยภาพและปัญหาด้านหนี้สินที่ครูและบุคลากรด้านการศึกษาของประเทศกว่าแปดแสนรายมีหนี้สินรวมกันกว่า 1.4 ล้านๆ บาทโดยหนี้ส่วนใหญ่อยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงินของรัฐ

ไม่น่าเชื่อว่า 6 ปีผ่านไปนับจากรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดประกาศใช้ การพัฒนาการศึกษาของประเทศยังไม่สามารถขับเคลื่อนให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม มิหนำซ้ำ ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ก็ยังไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ตราออกมาเป็นกฎหมาย อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่ในมุมมองของนักวิชาการด้านการศึกษาหลายท่านที่ผู้เขียนมีโอกาสได้สนทนาต่างเห็นตรงกันว่าร่างพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ยังเป็นการแก้ไขระบบการศึกษาไม่ถูกจุดในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการกำหนดจำนวนมาตราต่างๆ เป็นร้อยกว่ามาตรา และมีการกำหนดนิยามต่างๆ และระดับการเติบโตที่ยากต่อการปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่นในวัย 12 – 15 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงสำคัญมากนั้น มีการกำหนดลงไปถึงขนาดว่าเด็กๆ ในวัยดังกล่าวต้องสามารถเติบโตและทำอะไรๆ ได้หลายๆ อย่างเช่น การแก้ไขปัญหาชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น มีทักษะในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของโลก สามารถคิดในเชิงวิเคราะห์ มีทักษะในการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อในการเรียนรู้ เข้าใจในพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงิน มีความรู้ในศาสตร์และมีสมรรถนะ สามารถเลือกเส้นทางการศึกษาหรือเส้นทางอาชีพและการทำงานได้ เป็นต้น ซึ่งอ่านแล้วดูจะสวยหรูอย่างมาก แต่ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายมากมายขนาดนี้นั้น สามารถจะทำได้จริงมากน้อยแค่ไหนหรือเป็นแค่เพียงวาทกรรมที่เขียนขึ้นให้เพียงดูดีเท่านั้น

หลักฐานเชิงประจักษ์ในความล้มเหลวอย่างน้อย 2 เรื่องที่มีการเปิดเผยล่าสุดคือ รายงาน “ดัชนีความสามารถทางภาษาอังกฤษ” ประจำปีนี้ (EF English Proficiency Index 2023) ซึ่งจัดทำโดย Education First หรือ EF เปิดเผยว่าในจำนวน 113 ประเทศที่มีการสำรวจนั้น ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 101 แทบจะรั้งท้ายในตารางในขณะที่ เวียดนามได้อันดับ 58 อินโดนีเซีย อยู่ในอันดับ 79 ส่วนกัมพูชาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มทักษะต่ำมากเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ได้อันดับ 98
อีกเรื่องหนึ่งคือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ภายใต้ Programme for International Student Assessment หรือ PISA ได้มีการเปิดเผยผลการสอบวัดระดับสมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี โดยเป็นการประเมินความฉลาดรู้ (Literacy) ทั้งทางด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ไปพร้อมกัน พบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยในทุกด้านต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ OECD ทั้งสิ้นโดยอยู่ในอันดับท้ายๆของตารางเช่นเดียวกับการวัดทักษะภาษาอังกฤษข้างต้น และคะแนนในทุกๆ ด้านยังเป็นคะแนนที่ต่ำสุด นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยเข้าร่วมการทดสอบ PISA เป็นครั้งแรกในปี 2001

คำถามที่ขอทิ้งท้ายไว้คือใครบ้างควรต้องออกมารับผิดชอบในความล้มเหลวของการศึกษาไทย?

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
เทวัญ อุทัยวัฒน์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หน้าที่พลเมืองในการแก้ปัญหาของประเทศ

ประเทศของเรากำลังเผชิญกับปัญหาและความท้าทายหลายประการทั้งในเชิงโครงสร้างและปัญหาอื่นๆที่สะสมมายาวนานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหนี้ภาคครัวเรือน ความสามารถด้านการแข่งขัน การขาดนวัตกรรมและสภาพคล่องของเอสเอ็มอี การเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์  การทุจริตคอร์รัปชัน

ESG และ NET ZERO ในบริบทของกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย

ในช่วงปีที่ผ่านมาหลังวิกฤติด้านสาธารณสุขของโรคระบาดโควิด 19  ประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและผู้คนจำนวนมากได้กลับสู่ชีวิตเป็นปรกติแม้จะมีส่วนหนึ่งที่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิตหน้าที่การงาน

สังคมไทยภายใต้กระบวน การยุติธรรมหลาย มาตรฐาน 

ต้องยอมรับว่าหลายๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ระบบสังคมโดยเฉพาะระบบย่อยหลายระบบ เช่น เศรษฐกิจ ครอบครัว สาธารณสุข ความเชื่อและศาสนามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตด้านวัตถุ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า หรือการนำปัญญาประดิษฐมาประยุกต์ใช้งานและธุรกิจต่างๆ

การป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายระดับท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา  สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ “ป.ป.ช.” โดยผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร “นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง’ (นยปส.) รุ่นที่ 14” รวม 85 คน จากแวดวงราชการและรัฐวิสาหกิจรวมถึงผู้แทนจากภาคประชาสังคมได้ร่วมกันจัดเวทีสัมมนาสาธารณะในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายระดับท้องถิ่น” โดยได้เชิญข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆ นักวิชาการ ผู้แทนสมาคม มูลนิธิ สื่อมวลชน เข้าร่วมงานกว่า 400 คน

วาระประเทศไทยเรื่อง "การแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน"

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ได้ประกาศดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index  หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่า “CPI”) ประจำปี 2565 ของประเทศต่างๆรวม 180 ประเทศซึ่งถูกจัดอันดับดัชนีที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชัน

ข้อมูลส่วนบุคคลกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมาและยังดำเนินต่อไปนั้น ต้องยอมรับว่าได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศของเราและในหลายๆ ประเทศทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของสังคมที่มีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งคือโรคระบาดและความรวดเร็วของการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารที่มีชุดข้อมูลอยู่มากมายในโลกออนไลน์