ด้านการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน กนอ.ได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่ใช้ BCG Model ในการนำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว มาเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเป้าหมาย กนอ.ในปี 2568 คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลงได้ 2.5 ล้านล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
ภายในปี 2564 ที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยแม้จะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ก็ยังมีความคืบหน้าด้านอื่นๆ ที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะความตื่นตัวด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระแสการขับเคลื่อนของโลกที่เปลี่ยนไป ปัญหาโลกร้อนถูกจับตามองมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการประกาศแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจนในเวทีโลก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านต่างๆ ในปี 2564 นี้อย่างเห็นได้ชัด
เมื่อมาจำแนกดูแต่ละภาคส่วนแล้วนั้นก็จะเห็นแผนงานที่ชัดเจนถึงการทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายนั้น หรือคือการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2050 (อีก 29 ปี) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ได้ในปี 2065 (อีก 44 ปี) ซึ่งหนึ่งในแผนงานที่ชัดเจนคือ การดำเนินงานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่ถือเป็นองค์กรหลักที่ควบคุมการทำงานของภาคอุตสาหกรรมได้ด้วยทรัพยากรและกำลังที่มีอยู่ในมือ โดยตลอดการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 46 ปี กนอ.ได้มีการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
จากเป้าหมายที่ตั้งขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ กนอ.จะต้องดำเนินการไปให้ได้ และภายใต้การนำของ “วีริศ อัมระปาล” ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้สั่งการให้ต้องมีการปรับตัวที่รวดเร็ว ให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ทำน้อยแต่ได้มาก ซึ่งการทรานฟอร์เมชั่น หรือการปรับรูปแบบการทำงานที่จะเกิดขึ้นนั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.การบริหารจัดการนิคม 2.การบริการลูกค้า และ 3.มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้
โดยเมื่อมาดูหลักการทำงานตามแผนการทรานฟอร์มแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า กนอ.ในปัจจุบันได้เริ่มดำเนินงานในหลายภาคส่วนเพื่อให้เป็นไปตามแผน คือ การบริหารจัดการนิคม เช่น นำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในการเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ 5G ในนิคม เพื่อให้บริการผู้ประกอบการและสนับสนุนผู้ประกอบการสู่การเป็น Industry 4.0 ในการนำเทคโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างดี ขณะที่การบริหารจัดการข้อมูล (บิ๊กดาต้า) ได้นำปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) รวมถึงอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (ไอโอที) มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านคุณภาพน้ำ อากาศ และกากของเสีย
โดยด้านคุณภาพน้ำ นอกจากจะสามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งได้อย่างเรียลไทม์แล้ว ยังป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที กรณีที่พบว่าคุณภาพน้ำทิ้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สามารถนำน้ำดังกล่าวกลับเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียอีกครั้งได้อย่างทันท่วงทีก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้านคุณภาพอากาศ ได้กำหนดให้โรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องระบายแบบเรียลไทม์ ซึ่งนอกจากการกำกับดูแลโดยตัวโรงงานเองแล้ว การเชื่อมโยงข้อมูลมายัง กนอ.ก็จะสามารถทำให้ กนอ.เห็นภาพรวมของการปล่อยมลพิษทางอากาศของนิคมอุตสาหกรรมได้ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดเพดานการควบคุมการระบายมลพิษในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ขณะที่ ด้านกากของเสียที่เป็นปัญหาในการติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมตอนนี้ที่ยังเป็นช่องว่างอยู่ ทำให้ปัจจุบันยังพบปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมอยู่เป็นระยะ ในอนาคต กนอ.จะนำระบบ GPS มาใช้กับรถขนส่งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ กนอ.อย่างจริงจัง ซึ่งนอกจากจะเป็นการติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการต่อยอดด้านการจัดระเบียบการขนส่งเพื่อลดพลังงาน และคำนวณกลับเป็นราคาคาร์บอนเครดิตให้ลูกค้าได้ต่อไป
ส่วนด้านการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน กนอ.ได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่ใช้ BCG Model ในการนำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว มาเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนประเทศ เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างสมดุลมากขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป้าหมาย กนอ.ในปี 2568 คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลงได้ 2.5 ล้านล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
โดยปัจจุบัน กนอ.มีแผนงานโครงการเพื่อลดการปล่อย GHG จำนวน 25 โครงการ โดยคาดการณ์ว่าจะลดการปล่อย GHG ได้ 517,929 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งถือว่าเป็นความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันไปยังตลาดโลก และเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยการสนับสนุนแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำใบรับรองต่างๆ ไปใช้ในการค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกในกระดานซื้อขายของนานาชาติได้ และยังใช้ในการลดกำแพงภาษีด้านคาร์บอนในต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุน/สนับสนุนที่ปรึกษา ในการสนับสนุนส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนตามแนวนโยบาย BCG ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดทางธุรกิจด้วยการจัดการบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ผสานองค์ความรู้และนวัตกรรมแห่งอนาคต เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน และมุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ดีของสังคม สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อวางรากฐานให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตัวเองได้ ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง.
อีโคโฟกัส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก
แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง
ความเสื่อม.. ที่ควรเห็น.. ก่อนตาย!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีคำกล่าวเป็นสุภาษิต ว่า ความเสื่อมของมนุษย์ ล้วนมีสาเหตุมาจากมนุษย์.. ความเสื่อมของสิ่งใดๆ .. ก็มีสาเหตุมาจากสิ่งนั้นๆ..
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?
การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก