ประสานช่องว่างสร้างโรงเรียน เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ!

การศึกษาระดับอาชีวะยังเป็นกลุ่มการศึกษาที่สำคัญมาก เป็นกลุ่มบุคลากรที่ทำงานเชื่อมกับฐานการพัฒนาในการผลิตและบริการเป็นหลัก แม้โลกได้เคลื่อนไปในความก้าวหน้าใหม่ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นแกนหลักขับเคลื่อนโลกทั้งใบ!

โดยเฉพาะกับโลกยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ระบบงานต้องใช้วิสัยทัศน์ ความคิด ความรู้ และทักษะที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมไทยปัจจุบันอยู่ในระหว่าง 2.0-2.5 ทำให้การปรับตัวยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 เป็นความจำเป็นใหม่ที่ต้องปรับฐานความรู้และทักษะใหม่ และต้องขจัดระบบวิธีคิดเก่าๆ ออกไป ต้องปรับความคิดฝังลึก mindset ใหม่ เปิดการทำงานกับเทคโนโลยี หุ่นยนต์ และโลกของกลไกอัตโนมัติมากขึ้น ฯลฯ

ความรู้-ทักษะที่จะทำงานในระบบอัตโนมัติหรือโรงงานอัจฉริยะแบบ 4.0 เป็นระบบความรู้-ระบบคิด-ทักษะที่เชื่อมประสานกับทั้งระบบ ที่คนทำงานต้องเรียนรู้-เข้าใจความสัมพันธ์-การขับเคลื่อน-ควบคุมให้ระบบการผลิตและการบริการบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้ ระบบโรงงานแบบ 4.0 เป็นกระบวนระบบที่เชื่อมโยงระหว่างข้อมูลพื้นฐานที่เชื่อมต่อกับ AI หุ่นยนต์ IoT ทั้งโครงข่ายของโรงงานอัจฉริยะ

ปัจจุบันโรงงานอัจฉริยะที่พัฒนาก้าวหน้าในอีอีซีขณะนี้ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรม SNC Former ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ระบบโรงงาน 4.0 ของกลุ่ม SNC พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหลายฝ่าย ทั้งการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจากสำนักงาน EEC HDC จากสำนักวิศวกรรม มทร.ตะวันออก จากสถาบัน TGI จากมหาวิทยาลัยสุรนารี จนถึงสถาบัน FIBO ฯลฯ

ความร่วมมือทั้งหมดนี้เป็นผลของความทุ่มเทของ ดร.สมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรม อีอีซี (EIF) และเป็นประธานกลุ่มอุตสาหกรรม SNC ด้วย ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตจากระดับ 2.0 ขึ้นเป็น 4.0 ใช้ระยะเวลากว่าปีและการทุ่มเท-ทุ่มทุนไม่น้อยเลย!

จากการศึกษาการปรับโครงสร้างการผลิตจากแบบเดิมยกระดับมาเป็น 4.0 นี้ สามารถสร้างผลรวมจากการประหยัดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตไปในขณะเดียวกัน คิดเป็นมูลค่าโดยรวมสูงเกือบร้อยละ 40 จากระบบเดิม! ซึ่งเป็นการปรับสร้างภูมิทัศน์และฐานการผลิตใหม่ที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าของโลก และยังมีส่วนช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาการศึกษายุคใหม่ที่สำคัญ ในการปรับตัวเปลี่ยนแปลงสู่ความก้าวหน้าใหม่ให้ประเทศและสถาบันการศึกษาในประเทศควบคู่กันไป ซึ่งนับได้ว่ากลุ่มอุตสาหกรรม SNC ได้สร้างบทเรียนความก้าวหน้าขึ้นใน EEC ให้กับประเทศ จากความร่วมมือพัฒนาร่วมมือกันด้วยฝีมือคนไทยล้วนๆ!

การทำงาน-สร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่างภาคอุตสาหกรรมอย่าง SNC ร่วมกับสถาบันการศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซีนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ในการประสานช่องว่าง สร้างการเปลี่ยนแปลงให้การศึกษามีช่องทางปรับตัวออกจากโลกเก่า จากความร่วมมือของอุตสาหกรรมกับสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ โดยเฉพาะกลุ่มสาขาช่างและวิศวกรรม ที่มีการปรับให้ห้องเรียนและสถานศึกษาเป็น “ชุมชนการเรียนรู้ทางด้านวิชาชีพ” มีการสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ตรงที่จะรื้อสร้างความคิดพื้นฐาน ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะโดยรวม จากภาคปฏิบัติการร่วมที่มุ่งตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงและความต้องการจริงตามเป้าหมายร่วมกันที่วางไว้จนมีผลสัมฤทธิ์ ซึ่งในมุมกลับได้ช่วยขจัดการเรียนรู้ที่ไร้ทิศทาง-ขาดความรับผิดชอบ ที่ทำให้ผู้เรียนกลายเป็นเหยื่อนั่งกอดใบปริญญาและวุฒิบัตร แต่ไม่มีงานทำเช่นการจัดการศึกษาที่ผ่านมา!

วันนี้กลุ่มอุตสาหกรรม SNC ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุรนารี สำนักวิศวกรรม มทร.ตอ. และกลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล ประสานช่องว่างจับมือกันสร้างความก้าวหน้าใหม่ให้การศึกษายุคใหม่ เปลี่ยนห้องเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้-พัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพให้กับนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการปรับสมรรถนะโดยรวม ที่นำไปสู่การสร้างประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และพัฒนาระบบโรงงานอัจฉริยะ 4.0 ที่ปรับการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการด้านบุคลากรที่เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมทุกระดับแบบครบวงจร

 SNC ได้สนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรยุคใหม่ร่วมกับสถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ สนับสนุนการศึกษาแบบ EEC โมเดล ที่ร่วมมือกันทั้งระบบ-สร้างประสบการณ์เรียนรู้ร่วมในห้องเรียนคู่ไปกับในสถานประกอบการ จัดแบ่งทุนเป็นระดับอาชีวะ 100 ทุน ระดับปริญญาตรี 200 ทุน ระดับปริญญาโท 40 ทุน และระดับปริญญาเอก 10 ทุน โดยมีการจัดการเรียนการสอนแบบ EEC โมเดล ที่เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกนักเรียนนักศึกษา ออกแบบหลักสูตรร่วมกันในหลักสูตรสาขาต่างๆ ประกอบด้วย AI IoT หุ่นยนต์ แมคคาทรอนิค รีโทฟริต และดีไซน์ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนร่วมกันทั้งในห้องเรียนและในโรงงาน เป็นระบบการศึกษาที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีการประเมินติดตามผล การพัฒนาทักษะเฉพาะและการปรับสร้างหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการยุคใหม่ ฯลฯ เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาผ่านการประเมินผลงานก็มีงานทำทันที ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนปกติอย่างน้อยร้อยละ 30!

การขยายผลการสร้างการศึกษาตามแนว EEC Model ครั้งนี้ เป็นกระบวนการประสานช่องว่างสร้างการพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่ ที่มุ่งตอบโจทย์เป้าหมายปลายทางทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมทั้งหยุดความสูญเปล่าทางการศึกษาลงอย่างสิ้นเชิง เด็กที่จบมามีงานทำรายได้สูงทุกคน นี่คือประสบการณ์มุมบวกในยามบ้านเมืองร้อนรุ่ม!!!.

โลกใบใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง

ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค

ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า