“พันธุกรรมธรรมาภิบาล”.. หัวข้อท้าทายในการศึกษาเพื่อชีวิตของคนรุ่นใหม่!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สืบเนื่องจากการรับนิมนต์ไปบรรยายการสอน ในหัวข้อ “พันธุกรรมธรรมาภิบาล Governance DNA” วิชา ESG ของ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๙๙ คน ที่มาลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าว เข้ารับฟังการบรรยายพร้อมบุคคลผู้สนใจจากภายนอก ร่วม ๓๐ คน รวมถึงคณะอาจารย์จำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ด้วยเป็นหัวข้อวิชาที่ไม่เคยมีการบรรยายการสอนที่ใดมาก่อน ซึ่งนับเป็นความกล้าหาญอย่างยิ่งของการจัดการศึกษาในการนำแนวคิดธรรมาภิบาลเข้ามาสู่ชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย.. โดยมีจุดประสงค์เพื่อการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง สร้างจิตสำนึกที่ชอบธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล.. ที่สังคมนานาชาติร่วมกันเรียกร้องเพื่อให้ประชาคมได้รับความคุ้มครองในสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม.. ความเที่ยงธรรม จากการบริหารปกครองในองค์กร สังคม ประเทศนั้นๆ.. ที่กำลังประสบปัญหาในด้านคุณธรรม นิติธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า.. อย่างเสมอภาคกัน ภายใต้กฎหมาย กฎสังคม และกฎศาสนา (ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม)

สำหรับหัวข้อสุดท้ายของการเรียนในวิชาดังกล่าว ในภาคแรกชื่อว่า “พันธุกรรมธรรมาภิบาล” หรือ Governance DNA” ซึ่งอาตมาได้รับนิมนต์ให้เป็น องค์บรรยาย (อาจารย์ผู้สอน) .. นับเป็นหัวข้อบรรยายที่ท้าทายอย่างยิ่งต่อการคิด พิจารณา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ที่ผ่านมาที่นักศึกษาได้เรียนรู้มาจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน จำนวน ๖-๗ ครั้ง โดยจะมาประชุมความรู้ลงในครั้งที่ ๘ ด้วยการคิดออกแบบการปลูกสร้างเมล็ด พันธุกรรมธรรมาภิบาล อย่างเป็นรูปธรรม.. ที่สามารถนำไปใช้ออกแบบให้บุคลากรในองค์กร สังคม ประเทศนั้นๆ .. มีพันธุกรรมธรรมาภิบาลได้จริง.. จึงนับเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อการศึกษาในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ในอันที่จะได้นำความรู้ที่ถูกต้อง ชอบธรรม มาสร้างสรรค์สังคมอย่างเป็นรูปธรรม..

การสร้างอุปกรณ์เครื่องมือประกอบการบรรยายธรรม จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในหัวข้อวิชาดังกล่าว เพื่อเน้นย้ำความเป็นสัจธรรมที่สามารถจับต้องด้วยสติปัญญาได้ไม่ยาก จึงเป็นภาระเร่งด่วนในเวลาอันจำกัด.. ที่ใช้เวลาเตรียมตัวจริงๆ ประมาณ ๒-๓ วัน.. โดยได้จัดทำเป็นแผ่นภาพและข้อมูลสรุปการเรียนรู้ตามลำดับ เพื่อนำไปฉายขึ้นจอ (PowerPoint) ให้ผู้เรียนได้ศึกษาพิจารณาประกอบการฟังบรรยายการสอน เพื่อความง่ายขึ้นต่อการเรียนรู้ ซึ่งนับว่าได้ผลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแผนผัง แผ่นภาพ เปรียบเทียบการเรียนรู้เรื่องการสร้างพันธุกรรมธรรมาภิบาลตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการช่วยสนับสนุนการศึกษาในวิชาดังกล่าว ที่จะต้องอาศัยการอ้างอิงหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างยากที่จะปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรสังคมในแนวคติความเชื่อทางลัทธิศาสนาใดก็ตาม...

จึงออกจะเป็นเรื่องยุ่งยากใจนิดหนึ่งสำหรับการบรรยายในหัวข้อ “พันธุกรรมธรรมาภิบาล” ให้กับนิสิต-นักศึกษาคนรุ่นใหม่.. ที่ห่างไกลจากหลักธรรมคำสั่งสอนในพระศาสนา!

แต่ในขณะเดียวกัน กลับเป็นเรื่องท้าทายต่อการนำพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ที่เป็นสัจธรรมเพื่อชีวิต.. เข้าสู่การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่.. ที่มีชีวิตอยู่ในกระแส วัตถุนิยม.. มากกว่า  ธรรมนิยม

กล่าวได้ว่า.. เป็นความท้าทายต่อการไปบรรยายธรรมให้คนรุ่นใหม่ได้รับฟัง โดยเฉพาะเมื่อองค์บรรยายเป็น พระภิกษุ..

บรรยากาศในห้องเรียนของนักศึกษาที่เข้าเรียนวิชา “พันธุกรรมธรรมาภิบาล” ในวันนั้น ที่จัดแบ่งการสอนเป็น ๒ ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเช้า ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น. และช่วงบ่าย ระหว่างเวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. จึงออกจะสนุกสนานตามประสาคนรุ่นใหม่ Gen Z ในสังคมดิจิทัล ที่มีการใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต จึงเล่นเอาบรรดาพี่ป้าน้าอา.. ที่เข้าร่วมรับฟังการบรรยายการสอนด้วยความสนใจ พากันบ่นพึมพำไปตามๆ กัน... เมื่อได้เห็นพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่แตกต่างไปจากสมัยตนมากๆๆ...

แต่สำหรับความรู้สึกของอาตมา.. มิได้กระเพื่อมต่อบรรยากาศในห้องเรียน ที่นักศึกษามีเสรีภาพในการแสดงออกกันอย่างล้นเหลือ และมิได้มีความคิดไปทางด้านลบต่อเด็กๆ เหล่านั้น

มิหนำซ้ำ.. กลับสงสาร เห็นใจ และเข้าใจ เด็กๆ เหล่านั้น.. โดยเฉพาะบรรดากลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน .. ที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง

จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องการบรรยายความรู้ในหัวข้อวิชาดังกล่าว ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของชีวิตมากยิ่งขึ้น.. ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า “หลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เป็นสันทิฏฐิโก.. เป็นอกาลิโก​ .. ศึกษาได้.. ปฏิบัติได้.. ไม่จำกัดกาล... เป็นเอหิปัสสิโก​ .. ใครๆ ก็สามารถศึกษาได้...”

อาตมาเชื่อมั่นอย่างนั้นจริงๆ .. แต่การที่จะทำความเชื่อให้เป็นความจริงได้อย่างไรนั้น.. จึงเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องตีให้แตก.. จึงนำไปสู่การเตรียมการสอนพอสมควรดังที่กล่าวมา.. โดยมีจุดประสงค์ที่นอกจากการสอนนักศึกษาแล้วนั้น จะได้รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็น หนังสือคู่มือการศึกษาการสร้างพันธุกรรมธรรมาภิบาลขึ้นมาสักเล่มหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งมหาชน..

การเตรียมการสอนแม้จะใช้เวลาอันสั้น แต่ก็ดำเนินไปอย่างตั้งใจ.. ใส่ใจ จริงใจ.. แม้ในขณะนั่งเครื่องบินจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ ก็ยังใช้เวลาดังกล่าวออกแบบนวัตกรรม.. เพื่อช่วยสนับสนุนเสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อหวังว่า.. “นักศึกษายุคสังคมดิจิทัลจะได้เรียนรู้ธรรมเพื่อชีวิตจากพระพุทธศาสนาอย่างทันสมัย เข้าใจได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และที่สำคัญ สามารถนำไปใช้ได้จริง..”

ซึ่งก็ไม่ผิดหวังกับการไปบรรยายการสอนในครั้งนี้ ทั้งด้วยเนื้อหาสาระและนวัตกรรมการสอนที่นำเสนอ ตลอดจนวิธีการที่หลีกเลี่ยงรูปแบบการบรรยายธรรมอย่างที่พระภิกษุเคยถือปฏิบัติกัน จึงทำให้เกิดความสัมฤทธิผลในการศึกษาวิชาการสร้าง “พันธุกรรมธรรมาภิบาล” ดังกล่าวได้อย่างน่าพึงใจในระดับหนึ่ง ดังความเห็นของคณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เข้าร่วมรับฟังการบรรยายการสอนโดยตลอด ซึ่งได้รายงานสรุปความเห็นบางส่วนไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ว่า...​

 “กราบนมัสการท่านเจ้าคุณหลวงพ่อฯ

ขอโอกาสถวายความเห็นที่ได้จากการพูดคุยกับนักศึกษา ซึ่งคำตอบของนักศึกษาหลายคนนั้น สะท้อนว่า นักศึกษามีศักยภาพและมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ค่ะ

อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดที่สามารถพัฒนาไปสู่ปัญหาได้ คือ การขาดโอกาสได้เรียนรู้ การไม่ได้รับการชี้นำอย่างถูกต้องเหมาะสมกับช่วงวัยของนักศึกษา และแม้ว่าบางคนจะได้เรียนรู้ แต่ก็ไม่มีความต่อเนื่อง หรือไม่ได้นำไปสู่จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ที่สร้างสรรค์ให้เกิดการปฏิบัติและการพัฒนาได้

จากการที่ได้มีโอกาสคุยกับนักศึกษารายหนึ่ง เขาบอกว่า เขาชอบวิชานี้ เขาชอบที่จะได้ฟังมุมมองต่างๆ จากวิทยากรที่หลากหลาย และแม้ว่าหลายเรื่องที่ได้ฟังนั้นยาก ฟังแล้วไม่เข้าใจ แต่เรื่องที่ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อฯ สอนนั้นเป็นสิ่งที่ชวนให้เขาคิด เขาไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยในชีวิตนี้ แต่กลับมีเหตุมีผล ชวนให้ฟังอย่างต่อเนื่องได้  นักศึกษายังบอกอีกว่า เขาสนใจมาก ตอนที่ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อฯ พูดเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และแนวปฏิบัติ ทำให้เขารู้สึกทันทีว่า “ใช่เลย ถ้าเราไม่มีอุดมการณ์ ก็ไม่รู้จะทำไปทำไม” แม้เขาจะบอกว่า “แต่ก็ยากนะคะที่จะทำให้เกิดได้”

นักศึกษาอีกรายบอกว่า เป็นเรื่องใหม่ของเขา ระหว่างที่เรียน เขารู้สึกเกรงใจท่านเจ้าคุณหลวงพ่อฯ มาก เพราะเดินเข้าเดินออก คุยกัน แต่ท่านก็ไม่ว่าเลย นักศึกษาคนนี้บอกว่า “ท่านเข้าใจพวกหนูนะคะ พวกหนูก็เป็นกันแบบนี้ เป็นทุกครั้งเลยด้วย”

โดยภาพรวมจึงเห็นว่า นักศึกษารุ่นนี้มีความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ ซึ่งเมื่อได้คุยกับนักศึกษาคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เรียนด้วย ยังบ่นว่า เสียดาย เพราะเขาอยากเรียนบ้าง นักศึกษาบอกว่า “พวกเราอยากเรียนค่ะ แต่อย่าหวังกับพวกหนูมากนะคะ แต่พวกหนูก็ขอเรียนนะคะ” นักศึกษารายเดียวกันบอกว่า “หนูชอบที่คณบดีพาพวกเราเรียนเรื่องต่างๆ ที่ไม่ใช่ในตำรา พวกเราได้ฟังจากผู้ใหญ่ จากคนที่เขาอยู่ในวงการ และได้ฟังจากพระอาจารย์ด้วย แต่พวกหนูก็เกรงใจ ท่านอุตส่าห์มา ท่านจะว่า พวกหนูไม่ตั้งใจหรือเปล่า” ฯลฯ

หลากหลายเรื่อง หลากหลายสิ่งที่ได้พบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้คุย กับนักศึกษา generation นี้ ทำให้ได้เห็นว่า นักศึกษามีศักยภาพ ซึ่งเป็นศักยภาพที่แตกต่าง หลากหลาย และพัฒนาได้

ดังนั้น หน้าที่ของอาจารย์จึงต้องไม่ใช่สอนอย่างเดียว อาจารย์ต้องพูดคุยกับนักศึกษามากขึ้น เพื่อการพัฒนาศักยภาพ เพื่อการสร้างโอกาส และการทำความเข้าใจในทิศทางที่สามารถส่งผลให้นักศึกษาเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง สมดุล และอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างมีภูมิคุ้มกันด้วย

จึงกราบนมัสการ ขอโอกาสถวายข้อความสะท้อนความเห็นจากการได้สังเกตการเรียนรู้ของนักศึกษาในชั้นเรียนประกอบกับลักษณะพัฒนาการของนักศึกษาไว้ตามที่กราบเรียนข้างต้น

กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ

ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร ”....

 

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

วิปริตธรรม .. ในสังคม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง

ธุรกิจคาสิโนถูกกฎหมาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกี่ยวพันผู้มีอำนาจทางการเมือง

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบของคาสิโนถูกกฎหมายต่อการฆาตกรรมและการข่มขืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้