ธรรม-อำนาจ-หน้าที่ .. ที่สังคมยังสับสน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย.. ในยามนี้ ได้เห็นกระแสกิเลสไหลวนคละเคล้ากัน จนแยกไม่ออกว่า กิเลสดี กิเลสชั่ว.. หากไม่กำหนดรู้ จริงจัง ตามหลักสติปัฏฐานธรรม

คงต้องวุ่นวายกับนานาทิฏฐิ ที่ล้วนประชุมลงในความเป็น มิจฉาทิฏฐิ ของวิถีจิตแห่งสัตว์.. ที่ชอบท่องเที่ยวไปในกระแส ความคิด นึก ปรุง แต่ง .. จนยากเกินควบคุมได้โดยเจ้าของ...

สัพเพเหระ หลากหลายเรื่องราว ประดังประเดโถมทับลงสู่กระแสสังคม.. จนกลายเป็นมลภาวะทางจิต.. มลภาวะทางความคิด.. ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำสูญเสียภูมิต้านทาน จนยากจะหยุดที่ยุติโดยธรรม.ได้.. แม้ในสังคมที่อ้างพุทธศาสนา!!

ปรากฏการณ์การกำเนิดกฎหมาย.. เพื่อใช้เข้าไปแก้ไขทุกปัญหา จึงเกิดขึ้นบนความเปราะบางของภูมิต้านทางทางจิตวิญญาณของสัตว์สังคม.. ที่เข้าใจไม่ถึง อารยธรรม!!

เส้นทางของทุกชีวิตแห่งสัตว์ จึงต้องเร่งแข่งขันขวนขวายแสวงหาอำนาจ เพื่ออยู่เหนือกฎหมาย .. เพื่อใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ

เมื่อแปลความว่า การใช้อำนาจ คือ การใช้กฎหมาย ที่หมายถึง การใช้หน้าที่ตามกฎหมายของผู้บังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาคส่วนใดของรัฐ... จึงน่ากลัวต่อภัยจากสัตว์พวกเดียวกัน

คำว่า “ใด ใด ในโลกล้วนอนิจจัง” .. คำกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แปลก. หากเกิดความเห็นชอบ จากความรู้ที่ถูกต้องตามความหมายในธรรมดังกล่าว

แต่เพราะความเข้าใจที่วิปลาสไปจากธรรม.. จึงเป็นเรื่อง ที่ยากจะเข้าใจ.. แม้เข้าใจ.. ว่า.. ทำไมมันจึงเลวสุดลิ่มทิ่มประตูไปได้เช่นนี้.. อย่างไม่สมฐานะ.. สัตบุรุษ!!

เมื่อสังคมหาสัตบุรุษได้ยาก.. ก็ไร้ค่าที่จะมีสภา.. เพื่อระดมความรู้ ความสามารถ จากคนดีมีศีลธรรม ดังที่แปลความ สภา ว่า สถานที่ประชุมของคนดี..

สังคมที่โน้มเอียงไปทางส่วนสุดด้านลบมากขึ้น หาก “อสัตบุรุษ” พากันแพร่พันธุ์ออกลูกหลานกันมากมาย จนกลายเป็นเสียงชี้ขาดภาคสังคม.. ที่ครองความเป็นใหญ่ในระบบคณาธิปไตย ที่ยึดถือ “อัตตทิฏฐิ” เป็นสรณะ.. อย่างยากจะรับฟัง แลกเปลี่ยน เพื่อเรียนรู้สู่การพัฒนา...

การย่างไปสู่ทิศแห่งความหายนะ.. จึงเกิดขึ้นทุกขณะจิต.. ผ่านคำพูดที่ไร้ราคาสัตว์ประเสริฐ.. แม้จะถือสมมติเป็น ผู้ทรงเกียรติ ตามโลกนิยม..

คงไม่แตกต่างจาก พระทุศีล ที่ได้สถาปนาตนเองเป็น ธรรมกถึก ที่กล้าหาญก้าวขึ้นธรรมาสน์ เพื่อแหล่.. เทศน์ให้คนวัดฟัง.. อย่างย่ามใจ จนลืมสอดส่องดูตนเองว่า ถึง.. พร้อม.. ควรหรือยัง!!

สังคมที่เต็มไปด้วยกระแสกิเลส.. แบบนี้ จึงไม่มีอะไรดีกว่ากันและกัน.. เพราะล้วนเป็นเนื้อเดียวกันในเกลียวกระแสสังคม...

จะรักบ้าง ชังบ้าง.. คบกันบ้าง เลิกกันบ้าง เหมือนสังคมปัจจุบัน.. ที่นิยมแต่งๆ เลิกๆ.. ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แปลก.. เพราะความเป็นสังคมแบบนี้ ที่มีความเป็นอย่างนี้ เป็นธรรมดา.. ที่ยากจะยุติทุกปัญหา ทุกความขัดแย้ง ด้วยธรรม.. ที่แปล ธรรม ดังกล่าวว่า.. ได้แก่ ความเป็นปกติจากจิตสำนึกของคนปกติที่มี สติปัญญา.. ดำรงอยู่ด้วยความมี หิริโอตตัปปะ..

เมื่อสังคม.. ไม่สามารถเข้าสู่กระแสแห่งธรรมได้ เพราะสัตว์สังคมละทิ้งธรรม ความสงบนิ่งของสังคมจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ นั่นหมายถึง สัญลักษณ์ของความยุติธรรม ได้สูญสลายไปแล้วจากสังคมแบบนั้น.. โดยธรรม..

การผลิตกฎระเบียบต่างๆ เพื่อการกำหนดบทลงโทษต่อผู้ฝ่าฝืน.. จึงเกิดมากขึ้น.. ในสังคมแบบนั้น.. ที่ให้ค่าอาชีพกฎหมายมาเป็นอันดับต้นๆ ของทุกภาคส่วน

จะทำอะไร.. ก็ต้องมีนักกฎหมาย.. ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมอารยธรรมดั้งเดิม.. ที่จะทำอะไรต้องมี สัตบุรุษ.. ที่สามารถนำพาสังคมไปสู่ความสงบสุขได้.. ดังที่เรียกว่า “ราชา” แปลว่า “ผู้ที่พึ่งพาได้”.. ซึ่งต่อมานิยมเรียกบุคคลนั้นอย่างยกย่อง เทิดเกียรติให้ปรากฏ ว่าเป็น “พระธรรมราชา” คือ บุคคลที่นำพาไปด้วยอำนาจแห่งธรรม ที่หมู่ชนได้ถวายความเคารพนับถืออย่างสูง.. เพื่อเป็นการสื่อความหมายว่า.. บุคคลนี้แหละเป็นผู้นำที่ทรงธรรม..ของเรา เหล่าพสกนิกร.. ที่ขอยกย่องบุคคลผู้นี้เป็น “เจ้าเหนือหัว” สู่คำว่า.. เป็น “พระเจ้าแผ่นดิน” ดังที่โบราณชนนิยมเรียกขานผู้ปกครองของตนในอดีตที่ผ่านมาทุกสมัย.. แม้ในปัจจุบัน!

ต่อมา เมื่อเข้าสู่การปลุกเร้าให้คนในสังคมนั้นๆ มีอำนาจเป็นของตน.. และใช้อำนาจของตนผ่านตัวแทน.. ที่คัดสรรขึ้นมาในท่ามกลางสังคม โดยยอมรับกฎเกณฑ์เสียงข้างมาก.. จึงเกิดระบบ Democracy ขึ้นมาใช้บริหารจัดการ เพื่อให้ได้ตัวแทนภาคสังคมที่มาจากเสียงส่วนใหญ่..

จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ของระบบดังกล่าว.. แท้จริง ก็มาจากรากฐานการเลือกผู้นำแบบดั้งเดิมของชุมชน สังคม.. ตามที่กล่าวมา

แต่ที่แตกต่างคือ การมอบอำนาจให้กับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่.. โดยเฉพาะเจตจำนงของผู้มอบอำนาจที่มาจากสมาชิกทุกภาคส่วนในสังคม..ว่า.. มีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ อย่างเป็นธรรม หรือไม่.. เพื่อการใช้อำนาจให้เป็นธรรม.. โดยคำนึงถึงหลักการที่ว่า.. ความยุติธรรมต้องเกิดขึ้นจากการใช้อำนาจที่เป็นธรรมเท่านั้น..

เรื่องของเรื่อง.. จึงต้องคำนึงถึงความเป็นจริงว่า.. จะใช้อำนาจให้เป็นธรรมได้อย่างไร จะมอบให้ใคร ผู้ใด.. ใช้อำนาจนั้น.. และจะคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติอันถูกต้องตรงธรรม เพื่อการใช้อำนาจนั้นให้เป็นธรรมได้อย่างไร.

โดยต้องคำนึงอย่างจริงจังว่า.. หากบุคคลไม่มีคุณสมบัติตรงตามธรรม.. ย่อมยากที่จะใช้อำนาจหน้าที่.. ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นธรรมได้.. เพราะความเป็นผู้มี “อคติธรรม” ของบุคคลนั้นๆ..

จึงเป็นธรรมดา.. หากบุคคลผู้ประกอบอยู่ในอคติธรรม จะใช้ธรรมเป็นอำนาจ.. เพื่อประโยชน์แห่งตน นั่นหมายถึง การแสวงหาประโยชน์ การยื้อแย่งประโยชน์ จากอำนาจหน้าที่ อย่างไม่เคารพธรรม.. โดยมีการกระทำดังนี้

การออกแบบกฎหมาย จึงไม่ได้เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาสังคมโดยรวม.. แต่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและพวกพ้อง..

การใช้อำนาจ (อธิปไตย) จึงไม่ได้เป็นไปเพื่อขจัดปัญหาภาคสังคมโดยรวม.. ไม่ยึดมั่นในกรอบ ขจัดทุกข์ บำรุงสุข ประชาราษฎร์.. ในทางกลับกัน.. มีการใช้อำนาจเพื่อพวกพ้องน้องพี่และตนเอง ที่อาศัย สิทธิ หน้าที่ ตามกฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการปล้นสะดม.. ทำลาย ทำร้าย สังคม ประเทศชาติ.. จนยากจะอยู่กันอย่างสงบสุข

การใช้อำนาจเสียงส่วนใหญ่ของสังคม เพื่อใช้อำนาจการปกครอง.. ในการบังคับควบคุมทุกกลไกของภาคสังคม ถูกออกแบบ.. เข้าสู่ระบบองค์กรแบบบริษัทมหาชน ที่ควบคุมได้ด้วยการถ่ายผลประโยชน์ในรูปประชานิยมคืนกลับสมาชิก.. โดยขอให้สมาชิกดำเนินตามแนวทางที่มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของตน.. และพวกพ้องไว้อย่างชัดเจน

วิถีสังคม.. จึงก้าวสู่ความผิดพลาดมากขึ้นๆ ปรากฏความแตกแยก จึงยากจะยุติ.. ทุกสถาบันภาคสังคมที่เป็นตัวแทนอารยธรรมสั่นสะเทือน...

สิ่งเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ภาคสังคมในยุคปัจจุบัน.. ที่ต้องมีสัตบุรุษที่กล้าหาญ แน่วแน่ ซื่อตรง.. เข้าไปช่วยเหลือ นำพาสังคมออกจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว.. เพื่อการสืบเนื่องสังคมยุติธรรม.. ประเทศสันติสุขสืบไป.......

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

“ศาสนกิจในอินเดีย .. ณ นครปูเน่” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ ก.ค.๖๗ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครปูเน่ รัฐมหาราษฏระ อินเดีย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการสร้างวัดแห่งแรกของชาวพุทธในอินเดีย

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๗)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. พระพุทธเจ้าได้ตรัส หลักการปกครองตามแบบธัมมิกสูตร ว่า..

ดร.มานะ-ว่าที่ สว. 2567 ความเป็นอิสระไม่มีอยู่จริง เรื่องใบสั่งก็คงมีบ้าง ไม่มีบ้าง

หนึ่งในผู้ผ่านการคัดเลือก 200 รายชื่อให้เตรียมเข้าไปทำหน้าที่ "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ ที่น่าสนใจ ก็คือ "ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต สส.ศรีษะเกษ" ที่เคยสังกัดพรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๖)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ได้เขียนคำกล่าวสอนใจไว้บทหนึ่งว่า.. ถึงมีอำนาจ วาสนา สักปานไหน