‘สังคมสูงวัย’ คนไทยเข้าใจอย่างไร ?

“ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จากสถานการณ์โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปส่งผลเกิดผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัญหาจะมีความท้าทายมากยิ่งขึ้นในอนาคต  ดังนั้น สังคมไทยควรตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงและทำความเข้าใจความเป็นสังคมสูงวัย รวมทั้งทุกภาคส่วนควรเตรียมการรองรับปัญหาโครงสร้างประชากรใหม่ร่วมกัน”

ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 คือ มีสัดส่วนของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “สภาพัฒน์” ได้จัดทำการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยคาดประมาณฯ ล่าสุดสำหรับ พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง) พบว่าประชากรรวมจะยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ถึง พ.ศ. 2571 มีจำนวนสูงสุดที่ 67,187,640 คน จากนั้นจำนวนประชากรรวมจะเริ่มลดลง โดยกลุ่มวัยแรงงานเริ่มลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ในขณะที่สัดส่วนประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุมีสัดส่วนเท่ากันใน พ.ศ. 2562 ที่ร้อยละ 17.00 หลังจากนั้นเริ่มมีทิศทางตรงกันข้าม คือวัยเด็กจะมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่วัยสูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากประมาณการประชากร พ.ศ. 2580 แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.9 ขณะที่วัยเด็กจะมีสัดส่วนเหลือร้อยละ 13.4 ในช่วงที่ผ่านมา ประเด็นการพัฒนาประชากรได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือในหลายๆ เวทีสาธารณะถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งความสามารถของวัยแรงงานที่จะให้วัยอื่นพึ่งพิงได้ลดลง การขาดแคลนแรงงานสำหรับภาคเศรษฐกิจ เศรษฐกิจถดถอย ความล้มเหลวทางการคลังที่ต้องจัดสวัสดิการโดยไม่มีความสามารถในการหารายได้เพิ่มขึ้น และอื่นๆ

ภาครัฐมีบทบาทหลักในการใช้ทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคน กระทรวงต่างๆ ได้ดำเนินการตามภารกิจ แต่มักถูกกล่าวถึงจุดอ่อนคือขาดการบูรณาการในระดับหน่วยงานภายใต้กระทรวงเดียวกัน และระหว่างกระทรวง เพื่อแก้ปัญหาในปัจจุบันที่มีความซับซ้อน และเป็นปัญหาที่ต้องแก้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานแล้ว ยังมีองค์กรที่เป็นกลไกของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นคานงัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยหวังผลการพัฒนาเฉพาะด้าน อาทิ การพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมโยงโลกการศึกษากับโลกการทำงานที่หวังผลให้การพัฒนาคนมีทิศทางสอดคล้องกับการผลิต การบริหารและจัดการความรู้ พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ หลากหลาย นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปยกระดับคุณภาพชีวิต การพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านที่มีศักยภาพของประเทศ  การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา การขับเคลื่อนผ่านกลไกดังกล่าว ยังไม่อาจสร้างผลลัพธ์ที่ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรมได้มากนัก

แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว(พ.ศ. 2565-2580) จัดทำโดยสภาพัฒน์ ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อประกอบแนวทางการพัฒนาประชากรที่มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงทางประชากรทุกช่วงชีวิต อาทิ คุณลักษณะของประชากรแต่ละเจเนอเรชัน เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาแทนที่แรงงาน ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างประเทศ พร้อมเสนอแนวทางการพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาวที่ครอบคลุมการเพิ่มประชากรและระบบดูแลที่มีคุณภาพ การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย การเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน  และการบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาคนไทยให้เป็นคนดี คนเก่งขึ้น เพื่อทำให้คนแต่ละช่วงวัยสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีค่านิยมที่เอื้อเฟื้อ ดูแลคนในช่วงวัยอื่นๆ เศรษฐกิจของประเทศขึ้นกับการผลิตสินค้าและบริการที่มีราคาสูงพอที่จะดูแลประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การให้บริการของภาครัฐที่รวดเร็ว ไม่เป็นต้นทุนต่อการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ

ความท้าทายประเด็นการพัฒนาประชากร คือ การขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ภาครัฐที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนโดยมีงบประมาณสนับสนุน ควรมีการกลั่นกรองร่วมกันของผู้มีบทบาทรับผิดชอบในแต่ละมิติของการพัฒนา ประเมินผลดี ผลเสีย ผลกระทบ รวมถึงความเร่งด่วน รุนแรง การทำงานต้องมีเป้าหมาย แผนงานที่ชัดเจน มุ่งสู่ผลลัพธ์เดียวกัน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรในการขับเคลื่อนถูกใช้อย่างถูกต้องและเกิดผลกระทบที่ดีในอนาคต ภาคเอกชนต้องมีความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างประชากรและร่วมยกระดับขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจให้สร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมไทย สุดท้ายคือประชาชนเองต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งกระทบประชากรทุกช่วงวัย และพัฒนาตัวเองให้มีความรู้เท่าทันทั้งด้านสุขภาพ การบริหารจัดการการเงิน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นประตูไปสู่ความรู้ด้านต่างๆ ที่ใกล้ตัวที่สุด เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ และรวมพลังกันเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้เช่นกัน ความท้าทายที่สำคัญที่สุด คือ สังคมไทยควรต้องเข้าใจความเป็นสังคมสูงวัยมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันในการผลักดันความเปลี่ยนแปลงในการรองรับโครงสร้างประชากรใหม่อย่างทันท่วงทีและยั่งยืน

คอลัมน์เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

จินางค์กูร โรจนนันต์

อดีตรองเลขาธิการ สศช.

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศชาติจะเปลี่ยนไป เมื่อคนไทยเปลี่ยนแปลง 

ประเทศไทยจะอยู่กับวิกฤติการเมืองที่เลวร้าย หรือจะก้าวต่อไปสู่อนาคตที่ดีกว่า 2เส้นทางเดินสำคัญที่คนไทยจะต้องเลือกเดิน คือ…1.เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป คนไทยต้องเปลี่ยนตาม(When the world changes and we change with it.) หรือ 2.เมื่อคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยก็จะเปลี่ยนตาม(When we change, the world changes.)

ปฎิรูปการศึกษา: กุญแจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ไม่ทราบจะเรียกว่าเป็นวิกฤตได้ไหม เมื่อผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA ประจำปี 2565 ของนักเรียนไทยออกมาต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ในทุกทักษะ ทั้งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน

สังคมไทยภายใต้กระบวน การยุติธรรมหลาย มาตรฐาน 

ต้องยอมรับว่าหลายๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ระบบสังคมโดยเฉพาะระบบย่อยหลายระบบ เช่น เศรษฐกิจ ครอบครัว สาธารณสุข ความเชื่อและศาสนามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตด้านวัตถุ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า หรือการนำปัญญาประดิษฐมาประยุกต์ใช้งานและธุรกิจต่างๆ

โฉนดเพื่อเกษตรกรรมกับปัญหาการลักลอบเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน          

สืบเนื่องจากนโยบายปัจจุบันของรัฐบาล ที่ได้ผลักดันให้มีการออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมให้กับที่ดินเกษตรกรรม ส.ป.ก. โดยคาดหวังว่า นโยบายนี้จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่งทางทรัพย์สินให้กับเกษตรกรที่ยากจนได้ และในขณะเดียวกัน ก็จะสามารถอนุรักษ์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเกษตรกรรมเอาไว้ด้วยนั้น

พัฒนาสุขภาพ'วัยเก๋า' พร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ

ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ มีประชากรอายุเกิน 60 ปี เกิน 20% และคาดการณ์อีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-aged society) มีผู้สูงอายุเกิน 28%   ทั้งนี้ หากไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ผู้ป่วยสูงวัยที่สูงขึ้น