การศึกษาไทยต้องเสริมพลัง เชื่อมประสานให้เกิดศักยภาพใหม่

เมื่อย้อนกลับไปดูโลกใบเก่าและมองไปข้างหน้าถึงเรื่องทักษะ-ความรู้ของโลกศตวรรษที่ 21 จะพบว่าการพัฒนาบุคลากรและการศึกษานั้นเป็นหัวใจสำคัญต่อการปรับสร้างความก้าวหน้าใหม่! เป็นต้นทุนสำคัญที่นำสู่การสร้างสังคม-คุณภาพชีวิต-และเศรษฐกิจใหม่! หากการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาขาดทักษะความรู้ในการปรับตัวที่จะตอบโจทย์สำคัญนี้ ก็ไม่อาจนำพาประเทศรอดได้ อำนาจการสั่งการแบบรัฐราชการและความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ รวมทั้งความหลงตัวเองของสถาบันการศึกษา-อาจารย์ ฯลฯ ล้วนไม่อาจช่วยอะไรได้เลย!

การปิดตัวเองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา-การพัฒนาบุคลากร ที่อบบ่มอยู่ในโลกเฉพาะของตัวเอง-วิทยาการความรู้ของตัวเองและสถาบัน ที่พอกพูนความหลงเงาอำนาจและอัตตานั้นเป็นความน่าสงสารเหลวไหลไร้สาระอย่างเหลือเชื่อสำหรับโลกยุคใหม่ เพราะภูมิทัศน์ (landscape) ของโลกวันนี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว!!!

สังคมพบความจริงว่า “ภูมิทัศน์ใหม่” ในการพัฒนาบุคลากรและการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนเกือบจะสิ้นเชิง! เรียกว่าทั้งกระบวนทัศน์-กระบวนระบบในการศึกษา-การพัฒนาคนนั้น เปลี่ยนไปลึกถึงรากเหง้าตั้งแต่วิชาแกน-จนถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้! ดังนั้นกระบวนการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาต้องปรับสร้างแก่นแกนขึ้นใหม่ ให้สอดรับกับการพัฒนาทักษะชีวิต-การทำงานใหม่ ที่เป็นการเรียนรู้-นวัตกรรม-และทักษะของระบบสารสนเทศวันนี้ ที่เทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในโลกของการงานใหม่

แนวคิดสำคัญในการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรศตวรรษที่ 21 คือการปรับสร้างทุกระดับ ตั้งแต่วิชาแกนไปจนถึงกระบวนวิชาการแวดล้อมและประสบการณ์ ที่ต้องมีนัยส่งเสริมสนับสนุนการปรับตัว-การเรียนรู้ยุคใหม่ในแบบ Digital literacy ซึ่งหมายถึง หลักสูตรการเรียน-การสอน มาตรฐานและการประเมิน การพัฒนาทางวิชาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งระบบ ต้องปรับจากโลกเก่าสู่โลกใหม่ที่มีศักยภาพชัดในการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเชื่อมสู่ความก้าวหน้าใหม่ ในโลกแวดล้อม-ระบบนิเวศ-และภูมิทัศน์ใหม่ ที่มีทิศทางตอบสนองกระแสเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมกับภาคอุตสาหกรรม-วิชาชีพใหม่ ตามแรงขับของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งการปรับสร้างสู่โลกใหม่นี้มีสภาวะเหมือน การเปลี่ยนสัญญาประชาคม (Social contract) ที่ต้องปรับประสานให้การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาเป็นหนึ่งเดียวกับการงานและการพัฒนาความก้าวหน้าใหม่ ในระบบนิเวศที่เปลี่ยนไปของการศึกษาระบบเปิด ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ใหม่ได้อย่างไร้พรมแดนและกาลเวลา!

เคน เคย์ นักคิด-นักเขียนอเมริกัน ประธานภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผู้สร้างประสบการณ์ในสัมพันธภาพความร่วมมือใหม่ในศตวรรษที่ 21 ได้ชี้ว่า โลกใหม่ของการศึกษาและการสร้างทักษะนั้นจำเป็นยิ่งที่ต้องปรับสร้างความร่วมมือใหม่ขึ้นระหว่าง ชุมชนการศึกษา-ธุรกิจ-การจัดการนโยบาย! เพื่อปรับสร้างความสามารถในการแข่งขันของอเมริกาขึ้นใหม่ และผลักดันให้บรรจุเรื่องของทักษะแห่งอนาคตเข้ากับระบบการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกคน โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดการกับปัญหาสำคัญ 3 ข้อ คือ สร้างแนวทางการปรับกรอบความคิดที่เป็นความจำเป็นในการเรียนรู้สู่อนาคต หนึ่ง จัดทำการศึกษาและพัฒนาทักษะที่สำคัญในโลกใบใหม่ หนึ่ง วางกระบวนการทางปฏิบัติที่ทำให้สถาบันการศึกษาบรรลุการสร้างทักษะของศตวรรษที่ 21 อีกหนึ่ง ทั้ง 3 ประการนี้จะเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในฐานของความรับผิดชอบร่วมในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่!

กรณีนี้หากพิจารณาประสบการณ์จากปฏิบัติการในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ของคณะทำงาน EEC HDC ที่เกิดจากปฏิบัติการ 3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า งานของ EEC HDC มีทิศทางความเคลื่อนไหวคล้ายกับที่ เคน เคย์ เสนอต่อรัฐบาลอเมริกา จากการปรับสร้างการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาของ EEC HDC ได้รับผลที่ดีและก้าวหน้าตลอดช่วงการทำงานที่ผ่านมานั้น เกิดจากการสร้างความร่วมมือในการประสาน 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันคือ ภาคนโยบาย สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม  องค์ประกอบ 3 ภาคส่วนนี้ก่อให้เกิดความร่วมมือ-ปรับทิศทางร่วมเรียนรู้-สร้างความก้าวหน้าใหม่ทางปฏิบัติขึ้น ปรับทิศทางการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาใหม่ จากที่เคยใช้ครู-สถาบันการศึกษาเป็นแกนหรือใช้นโยบายเป็นแกน ได้มีการจัดปรับให้การจัดการศึกษาและพัฒนาบุคลากรตอบโจทย์ทักษะยุคใหม่ที่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ต้องการบุคลากรเป็นแกนร่วมขับเคลื่อน ร่วมปรับสร้างความก้าวหน้าและภูมิทัศน์ใหม่ให้เกิดขึ้นจนสร้างผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและความก้าวหน้าใหม่ขึ้นในพื้นที่ EEC! 

ในโลกที่เป็นจริง ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคส่วนที่ประสบการณ์สูง-เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าจริงจากการแข่งขันในระบบตลาด ที่ต้องปรับตัว-ปรับเทคโนโลยี-ปรับมาตรฐานการผลิต-บริการตลอดเวลา และเป็นแกนหลักสร้างเศรษฐกิจ-ความก้าวหน้าให้ประเทศ! การประสานการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาที่เชื่อมโยง สถาบันการศึกษา-ภาคส่วนนโยบาย-ภาคอุตสาหกรรม เข้ากันนั้นเป็นมรรควิธีในการจัดการสำคัญที่ช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ได้ดีที่สุด-เร็วที่สุด-ประหยัดที่สุด!!!

ความก้าวหน้าใหม่มีสภาวะการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเร็ว-ประสิทธิภาพสูง มุ่งสู่แพลตฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัลที่มุ่งลดต้นทุน-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-เข้าถึงทุกพื้นที่/ทุกกลุ่มคน และเปิดพื้นที่การพัฒนาอย่างไร้ขอบเขต จากเทคโนโลยียุคใหม่-การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์-และระบบไอทีที่ทรงพลัง ทักษะในโลกศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ-เท่าทันการเปลี่ยนแปลง! หากยังตกวนอยู่กับปัญหาเก่าๆ เดิมๆ ไม่ลืมหูลืมตา ความพินาศของการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาก็จะเกิดขึ้นแน่!.

โลกใบใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

วิปริตธรรม .. ในสังคม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง

ธุรกิจคาสิโนถูกกฎหมาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกี่ยวพันผู้มีอำนาจทางการเมือง

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบของคาสิโนถูกกฎหมายต่อการฆาตกรรมและการข่มขืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้