การเปลี่ยนแปลงการศึกษา-การสร้างคน ให้สอดคล้องรองรับโลกก้าวหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเรื่องยากต้องใช้เวลา-ใช้สติปัญญา-ใช้ความเข้าใจ-และมีกระบวนการปฏิบัติการรองรับขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง-เปลี่ยนผ่านอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป มีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนช่วยรองรับ-ขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงและเท่าทัน!
โลกประจักษ์ชัดว่าความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศใดก็ตามขึ้นกับ “คน” ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ โดยมีการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเครื่องมือที่ช่วยปรับตัวเคลื่อนไหว สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ระบบการศึกษาและการสร้างการเรียนรู้ของสังคมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน “สร้างคน” ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญมากกว่าสิ่งใดทั้งสิ้น บ้านเมืองที่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงแข่งขันต้องมีทุนมนุษย์และมีศักยภาพการศึกษาที่แข็งแกร่ง ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงได้!
การพัฒนาคนและการศึกษาในระบบการศึกษาไทยไม่อาจหลีกจากกติกาพื้นฐานของโลกนี้ได้ คงต้องยอมรับว่าการศึกษาไทยนั้นขยับตัวเปลี่ยนผ่านจากอดีตเข้าสู่โลกยุค 2.0 มานาน จากนั้นก็เหมือนถูกแช่แข็งด้วยระบบการจัดการ ความรู้ หลักสูตร และระเบียบบริหารราชการมาตลอด ลงลึกถึงวิธีคิดและกระบวนการขับเคลื่อนที่เป็นวิสัยทัศน์โลกยุคอุตสาหกรรม 2.0 เพื่อใช้งานตอบโจทย์ในกลุ่มการจัดการองค์กรที่ใช้แรงงานและสติปัญญาของคน หรือ labor intensive เป็นหลัก นี่คือความเคลื่อนไหวของการศึกษาที่ถูกควบคุมอุ้มชูเลี้ยงดูโดยระบบราชการแบบสุดขั้วอย่างต่อเนื่องมาเกือบศตวรรษ!
ถ้าจะจำแนกแยกแยะชีวะพันธุ์การศึกษาไทย อาจจำแนกแยกแยะคุณลักษณะของการศึกษาได้ดังนี้คือ หนึ่ง การศึกษาไทยเป็นมรดกความคิดที่สืบทอดมาแต่โลกยุคเก่า-การศึกษารับใช้เจ้านาย ในโลกยุคใหม่นั้นการศึกษามีความพยายามปรับตัว-สร้างการเปลี่ยนผ่านช่วงต้นทศวรรษ พ.ศ.2530 ที่มีการทุ่มเทปฏิรูปการศึกษาต่อเนื่องถึง 2 ทศวรรษ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ล้มเหลว! ได้แต่กรอบโครงสร้างการบริหาร-การเพิ่มตำแหน่ง-อัตราผู้บริหารครูอาจารย์ในกระทรวง แต่ได้ระบบที่บิดเบี้ยว-พิกลพิการไม่ตอบโจทย์โลกของการศึกษาที่มีภาระบทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาสร้างประเทศ-ชุมชน และผู้คนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อบ้านเมืองอย่างจริงจัง ระบบการศึกษาจึงเป็นแค่ระบบที่ตกวนอยู่ในหลุมพรางกับดักของระบบราชการที่หยุมหยิม-รุ่มรวยกฎระเบียบ แต่ไร้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์! ที่สำคัญคือมีทิศทางที่ไปคนละทิศละทางกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นจริง ส่วนที่ถูกมองว่าเป็นความก้าวหน้าก็เป็นส่วนที่ลอกเลียนตะวันตกมาอย่างเกาะติดแน่น จนเหมือนเป็นทาสความคิดตะวันตกที่มีไว้ใช้เหยียบย่ำคนที่เห็นต่าง-ไม่เดินตามความคิดตำรับตำราเยี่ยงนั้นเท่านั้นเอง!!!
สอง กระบวนการการศึกษาและการเรียนรู้มีสภาวะแปลกแยกจากสำนึกวัฒนธรรม การรับรู้และจิตวิญญาณของชุมชน-สังคม หลักสำคัญเป็นกระบวนการท่องบ่น-ท่องจำ ที่ยัดเยียดจากบนลงล่าง ตอบโจทย์การหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมที่ใช้วุฒิการศึกษา-สถาบันการศึกษาเป็นอาภรณ์สำหรับแต่งตัว-ยกตนในสังคม โดยจิตวิญญาณของกระบวนการเรียนรู้ไม่ผูกโยงกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์-สำนึกรับผิดชอบสังคมและการสร้างอนาคต ที่สำคัญคือขาดการตระหนักค้นคว้านวัตกรรมความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ผู้คนในสังคมมีวิธีคิดแบบผู้ใช้-ผู้ซื้อ-ผู้บริโภคเป็นหลักตลอดมา เมื่อเผชิญกับโลกของการเปลี่ยนแปลง
สาม ทรัพยากรคนในระบบการศึกษาจะมีวิสัยทัศน์ วิธีคิดพื้นฐาน การบริหารจัดการ ตลอดจนถึงการปฏิบัติการแบบโลกเก่าที่ยึดโยงกับระบบราชการเป็นสำคัญ การบริหารจัดการจึงเน้นให้ความสำคัญกับอำนาจและตำแหน่งมากกว่าการใช้สติปัญญา ความรู้ หรือ การเข้าถึงมองเห็นเข้าใจโลกของการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าอย่างเป็นจริง เมื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี นวัตกรรมก็จะขาดความรู้ความเท่าทันการเปลี่ยนแปลง จึงไม่มีขีดความสามารถพอในการบริหารจัดการ จะอาศัยวาทกรรมเอาตัวรอดไปเรื่อยๆ และมีจำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง เนื่องจากทิศทางความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงมักจะขัดกับระบบบริหารจัดการที่ยึดโยงกับตำแหน่งและอำนาจที่ครองอยู่ สภาพเช่นนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับตัวและขัดขวางการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงยิ่ง!
สี่ ระบบการบริหารจัดการโดยรวมจะมีลักษณะเฉพาะของการใช้อำนาจตำแหน่งมากกว่าจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัว โดยเฉพาะเป็นที่รู้กันดีว่าการบริหารในกลุ่มงานมิติทางสังคมศาสตร์นั้นต้องการความเคลื่อนไหวปรับตัวสูงเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าที่จะเชื่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ดี ขณะที่อำนาจบริหารจัดการเป็นลักษณะของระบบราชการมีสภาพที่กระด้างแข็งทื่อ ไม่ปรับตัวยืดหยุ่น ติดยึดกับกฎระเบียบ จนกระทบต่อการประดิษฐ์คิดสร้าง วิสัยทัศน์ การปรับตัว และการพัฒนาที่อยู่ในกระแสโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับโลกของเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0
ห้า ในองค์ประกอบอื่นๆ จะพบว่าโครงสร้างของระบบการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและผู้คน เป็นโครงสร้างแบบสั่งการ-บนลงล่าง-ปิดกั้นความคิดและความเปลี่ยนแปลง เป็นระบบที่ยึดโยงกับอำนาจรวมศูนย์แบบตายตัว การบริหารจัดการปรับตัวลำบาก องค์กรจึงเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในในทุกระนาบ เป็น “สนิมเกิดแต่เนื้อในตน” ของระบบการศึกษาที่ล้าหลังที่ต้องพึงขจัดให้หมดไป นี่เป็นปฏิสัมพันธ์ของสังคมแบบเจ้าขุนมูลนายที่ไม่มีผลผลิตที่ตอบโจทย์ความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลง! จึงถูกประท้วงต่อต้านขึ้นในทุกมิติ 3 ทุกระดับในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านในโลกใบใหม่
นี่คือคุณลักษณะและตัวตนของระบบการศึกษาไทยที่กำลังป่วยไข้พิกลพิการ 3 ต้องการการเยียวยาแก้ไขโดยด่วน การรื้อสร้างระบบการศึกษาใหม่จำเป็นต้องเริ่มทำจากจุดเล็กๆ ที่เป็นไปได้ และค่อยๆ ก่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมหรือกลุ่มการงานที่ก้าวหน้าให้ประสานร่วมมือสร้างพัฒนาการการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ของความคิดพื้นฐาน วิสัยทัศน์ จนถึงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้าง “คน” ยุคใหม่ที่ก้าวพ้นออกจากโลก โลกแห่งความล้าหลังที่เป็นมายาคติ ครอบงำผู้คน-ระบบอยู่ทุกวันนี้ให้เข้าสู่โลกใบใหม่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .