๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ .. วันเฉลิมพระชนมพรรษา “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมเพรียงกันถวายพระพรชัย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ.. ทั่วทั้งประเทศ นับเป็นวันมหามงคลของชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

ภาระการสืบสานต่อยอด.. พระมโนปณิธาน ที่ประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๙

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

นับเป็นมงคลธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

ด้วยทรงประกาศความเป็น “ผู้ปฏิบัติธรรม.. ผู้เคารพธรรม.. ผู้ประพฤติธรรม ในพระพุทธศาสนา โดยเปิดเผยอย่างแท้จริง...”

เป็นการประกาศในการบำเพ็ญตนเพื่อเสริมสร้างสั่งสมบารมีธรรมยิ่งขึ้นใน “ทศพิธราชธรรม” โดยวิถีธรรมาธิปไตย ในการใช้พระราชอำนาจและพระราชกรณียกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ ประกอบด้วยหลักธรรม ๓ ประการ คือ

๑.ทศพิธราชธรรม        (ธรรมะในการปกครองแผ่นดิน)

๒.ราชสังคหธรรม        (ธรรมะในการทำนุบำรุงราษฎร)

๓.จักรวรรดิวัตร (ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์)

แม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะถูกจำกัดลงด้วยระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ โดยคณะราษฎร์ แต่ก็มิได้หมายความว่า บทบาทหน้าที่ของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า จะถูกจำกัดไปด้วยไม่...

ด้วยจิตวิญญาณขององค์พระมหากษัตริย์ที่สืบเนื่องมายาวนานตลอด ๗๐๐ กว่าปีของความเป็นแผ่นดินไทย ซึ่งผูกพันกับราษฎรของพระองค์ท่านมาอย่างแน่วแน่ มั่นคง อย่างยากที่จะมีอะไรๆ มาคัดง้างให้เปลี่ยนแปลงไปได้ เช่นเดียวกับในสายใยความผูกพัน ดุจพ่อกับลูก.. จึงได้เห็นความจงรักภักดีของราษฎร.. พสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่อง จากรุ่นสู่รุ่น.. สู่รุ่น.. จนถึงรุ่นปัจจุบัน...

ความผูกพัน.. ในความสัมพันธ์.. ทางจิตวิญญาณ ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชนชาวไทย.. จึงสะท้อนความเข้มแข็ง มั่นคง ของความเป็นชาติไทย.. ที่คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้นานาอารยประเทศได้แจ้งประจักษ์อย่างน่าอัศจรรย์.. นับเป็นความศักดิ์สิทธิ์อันทรงพลังของความเป็น “พลังแผ่นดิน” ที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือนได้จริงๆ...

การร้อยเรียง ความรัก.. ความเมตตากรุณา.. ความกตัญญูกตเวทิตา.. จนกลายเป็น “ความจงรักและความภักดี” นับเป็นการพัฒนาจิตใจของมนุษยชาติ.. ด้วยอำนาจธรรมที่ขลังเข้มยิ่ง.. อย่างยากจะอรรถาธิบาย.. ให้หมู่ชนที่ไร้อารยธรรมได้ทราบชัดแจ้งได้จริง...

“ความจงรัก-ความภักดี” ในจิตวิญญาณของชาวไทย เป็นบทแสดงความเป็นจริงของการเคารพธรรม การปฏิบัติธรรมในหมู่ชน.. ที่ร้อยเรียงลำดับจิตลงในกระแสธรรม คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ที่ให้ความสำคัญยิ่งกับคำว่า “กตัญญูกตเวทิตา” ดังพระภาษิตบาลีที่ว่า “..นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา”

แม้ว่า สังคมสมัยใหม่ยังเต็มไปด้วยวัตถุเทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีอิทธิพลต่อชาวโลกยุคใหม่.. จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของวัตถุไอที.. ที่เรียกว่า เข้าสู่ยุค Digital Disruption” ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสภาพสังคมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง ด้วยอิทธิพลของนวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อทุกชีวิตในสังคมมนุษยชาติอย่างถ้วนหน้า ไม่มีละเว้น...

แต่ก็มิได้ทำให้กระแสสังคมวิถีธรรมของประเทศไทย จะพลิกผันปรับเปลี่ยนไปจนเสียรูปโฉม ความสวยงามตามมิติของสังคมพุทธศาสนา ไม่...

ในทางกลับกัน.. กลับทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อความดำรงอยู่อย่างมั่นคง และสืบเนื่องตามวิถีธรรมที่สวยงาม แม้จะต้องอ้างอิงอาศัยเทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย ที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสัตว์สังคมยุคใหม่ จนกล่าวยกย่องว่า เป็นหัวใจของการพัฒนาสังคมมนุษยชาติยุคใหม่ในปัจจุบัน...

อย่างไรก็ตาม.. บนพื้นฐานความเป็นจริงของการปรับเปลี่ยนตาม กระแสโซเชียลมีเดีย (Social Media) ย่อมส่งผลต่อการพยายามแปรสภาพรูปสังคมเดิมในวิถีธรรม ด้วยความไม่เสถียรในความเข้มแข็งของหมู่ชนในวิถีธรรม ที่ขาดการศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน.. จนเกิดภาพลักษณ์ของหมู่ชนบางกลุ่ม..บางคณะ ที่ห่างไกลจากธรรม.. ทำให้ขาดความเคารพธรรม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก-เยาวชนรุ่นใหม่ ที่เกิดมาจากครอบครัวที่อ่อนแอในวิถีธรรม.. จากสังคมที่อยู่ในภาวะเปลี่ยนผ่านบนรอยต่อระหว่างรุ่นสู่รุ่น...

จึงได้เห็นกลุ่มคนรุ่นใหม่.. ที่ห่างไกลธรรม ประกาศตัวตนมากขึ้นในสังคมวิถีธรรม ที่กำลังปรับตัวเพื่อการส่งสืบเนื่องสังคมอารยธรรมดั้งเดิม

การแสดงบทบาทที่ย้อนแย้งกับสังคมเดิมในวิถีพุทธ จึงมีปรากฏให้เห็นชัดเจนอย่างที่ไม่เคยมีเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น.. การปฏิเสธความรัก.. ความผูกพันในสายใยจิตวิญญาณของครอบครัว ระหว่างพ่อแม่-ลูก.. ความรัก-ความผูกพันในสายใยจิตวิญญาณของชุมชนสังคม.. รวมถึงในโรงเรียน สถานศึกษา ระหว่างคนในสังคมที่เคารพในความเป็นผู้ใหญ่กับผู้น้อย.. ในสังคมญาติพี่น้อง.. จนถึงความเป็นครูกับศิษย์..

..หรือระหว่างความรัก-ความผูกพันของความเป็นประชาชนกับแผ่นดินเกิด.. กับสถาบันศาสนา.. พระมหากษัตริย์ ที่ได้ดำรงสืบเนื่องอย่างมั่นคงมายาวนาน.. ที่ได้รับผลกระทบอย่างมิอาจจะหลีกเลี่ยงไปได้เลย.. ดังผลที่ปรากฏในสภาพสังคมปัจจุบัน...

อย่างไรก็ตาม.. บนเส้นทางที่ต้องรับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมโลก ก็มิได้ทำให้สภาพสังคมไทยในวิถีธรรม..แบบดั้งเดิม เกิดความผันผวนจนต้องปรับเปลี่ยนไปตามอย่างเสียรูปเดิมไม่...

ในทางตรงข้าม กลับทำให้สังคมไทยวิถีอารยธรรมดั้งเดิม.. ได้มีการปรับปรุงตนเองให้เข้มแข็ง มั่นคง ในวิถีธรรม ที่ยึดหลัก “โอนอ่อน แต่แน่วแน่ .. ไม่ผันแปรไปจากวิถีธรรม”

สังคมไทย.. ในปัจจุบัน .. จึงอยู่ในห้วงเวลาแห่งการเรียนรู้ เพื่อการปรับทัศนคติให้สอดคล้องกับความเป็นจริง.. ด้วยความเข้าใจใน วิถีธรรมของโลก.. โดยยึดหลักพุทธศาสนาเป็นแนวทางการศึกษาปฏิบัติ.. ตามแนวพระพุทธดำรัสที่ว่า..

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา

ผู้กล่าวเป็นธรรม ย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก

สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า “ไม่มี” แม้เราก็กล่าวว่า สิ่งนั้น “ไม่มี”

สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า “มี” แม้เราก็กล่าวว่า สิ่งนั้น “มี”..ฯลฯ”

บทธรรมจาก ปุปผสูตร ว่าด้วย พระพุทธองค์ไม่ขัดแย้งกับโลก .. มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อแนวทางการพัฒนาของทุกคนในสังคม.. ที่ต้องก้าวย่างต่อไปในความผันแปรของโลก วิปริตของคนในสังคมบางกลุ่มที่เกิดในยุคสมัยวัตถุเทคโนโลยีทรงอิทธิพล.. อย่างเข้าใจในโลกธรรม เพื่อการดำรงอยู่ในภาวะเปลี่ยนผ่าน.. ด้วยความอ่อนโยน แต่แน่วแน่มั่นคงในวิถีธรรมของสังคมอนุรักษ์

ดุจดัง พระมโนปณิธาน ในพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ที่ว่า “เราจักสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎรตลอดไป”

และนี่คือ พระราชปณิธานที่ทรงตั้งพระทัยอันแน่วแน่ ด้วยความอ่อนโยน ท่ามกลางกระแสความผันแปรของโลกธรรมในสมัยอิทธิพลไอที.. ที่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ควรถวายความจงรักและภักดี.. ด้วยดวงจิตกตัญญูกตเวทิตาสืบตลอดไป....  ขอถวายพระพร.

 

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

“ศาสนกิจในอินเดีย .. ณ นครปูเน่” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ ก.ค.๖๗ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครปูเน่ รัฐมหาราษฏระ อินเดีย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการสร้างวัดแห่งแรกของชาวพุทธในอินเดีย

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๗)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. พระพุทธเจ้าได้ตรัส หลักการปกครองตามแบบธัมมิกสูตร ว่า..

ดร.มานะ-ว่าที่ สว. 2567 ความเป็นอิสระไม่มีอยู่จริง เรื่องใบสั่งก็คงมีบ้าง ไม่มีบ้าง

หนึ่งในผู้ผ่านการคัดเลือก 200 รายชื่อให้เตรียมเข้าไปทำหน้าที่ "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ ที่น่าสนใจ ก็คือ "ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต สส.ศรีษะเกษ" ที่เคยสังกัดพรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๖)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ได้เขียนคำกล่าวสอนใจไว้บทหนึ่งว่า.. ถึงมีอำนาจ วาสนา สักปานไหน