ยกเครื่องระบบงบประมาณเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศ

โครงสร้างงบประมาณรายรับ-รายจ่ายประเทศไทย ณ ปัจจุบันและมีความโน้มเอียงที่จะเรื้อรังต่อเนื่องไปอีกยาวนานคือรายรับต่ำกว่ารายจ่ายซึ่งสะท้อนถึงความอ่อนแอและเปราะบางทางการคลังของประเทศที่น่าเป็นห่วงเป็นกังวลอย่างยิ่ง

เหตุปัจจัยที่เป็นเงื่อนไข และข้อจำกัด ซึ่งทำให้โครงสร้างงบประมาณประเทศไทย มีลักษณะพิกลพิการ และมีโอกาสริบหรี่ในการเพิ่มรายรับ ให้สูงกว่ารายจ่าย เพื่อพลิกจาก “ขาดดุล” เป็น “สมดุล” หรือ “เกินดุล” มีอย่างน้อย 5 ประการด้วยกัน

ประการแรก: หลักการงบประมาณของประเทศเรา มักจะกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้านรายจ่ายโดยรวม ในแต่ละปีเอาไว้ คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 1 ใน 5 หรือประมาณไม่เกิน 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

อย่างตอนนี้ปี งบประมาณ พ.ศ 2566 ตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้ 3.18 ล้าน-ล้านบาทเทียบกับขนาดของ GDPปีนี้ ที่ประมาณการไว้ที่ 17.9 ล้าน-ล้าน คิดเป็น 17.79% ของ GDP  ขณะที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีในสัดส่วนที่สูงกว่า 20% ของ GDP 

 ประการที่ สอง: ทางด้านรายได้…การจัดเก็บรายได้ของประเทศเราจะมีขนาดประมาณ 15% ของ GDP โดยประมาณการรายได้จัดเก็บสำหรับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้อยู่ที่ 2.49 ล้าน-ล้านบาท คิดเป็น 13.9% ของ GDP ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะจัดเก็บรายได้ในแต่ละปีได้ประมาณ 30-35% ของ GDP

ประการที่ สาม: งบประมาณของประเทศเรา มักจะมีลักษณะแบบ”ขาดดุล”เป็นส่วนใหญ่ คือมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต่อเนื่องมาโดยตลอด จนเกือบจะไม่มีเลยที่จะเป็นงบประมาณแบบ”สมดุล”

อย่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับงบประมาณหลายปีก่อนหน้า คือมีลักษณะเป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยมียอดขาดดุล จำนวน 695,000 ล้านบาท        

ประการที่ สี่: ลักษณะการกระจายตัวของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศไทย  ก้อนใหญ่ที่สุดประมาณ สองในสาม ถึงสามใน สี่ หรือประมาณ 75%  เป็นส่วนที่ถูกนำไปใช้จ่ายในลักษณะที่เป็น “งบรายจ่ายประจำ” อันได้แก่งบบุคลากร บวกกับงบดำเนินงาน 

อย่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2566นี้ เราตั้งวงเงินงบประมาณที่เป็นงบรายจ่ายประจำไว้ 2.39 ล้าน-ล้านบาท เท่ากับ75.26% ของยอดรวมงบประมาณทั้งสิ้น 3.18 ล้าน-ล้านบาท

ประการที่ ห้า: สัดส่วนของวงเงินงบประมาณที่เป็น “งบรายจ่ายลงทุน” หรืองบลงทุนในงบประมาณรายจ่ายประจำปีของงบประมาณประเทศไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2566 ในปัจจุบัน 

ตัวเลขงบประมาณรายจ่าย ที่เป็น งบรายจ่ายลงทุน สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน อยู่ที่ 6.95 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น  21.82%  ของวงเงินบประมาณรายจ่ายรวมทั้งหมด 3.18 ล้าน-ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ที่กำหนดให้ต้องจัดให้มีงบรายจ่ายลงทุน ไว้ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 20% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายรวมทั้งหมด และต้องไม่ต่ำกว่ายอดเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี .

เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขและข้อจำกัดของการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้ง 5 ประการดังกล่าวแล้ว กระตุกให้เกิดความวิตกกังวลว่าหากโครงสร้างงบประมาณ ยังมีลักษณะพิการต่อเนื่องต่อไป ขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดในการตั้งวงเงินงบประมาณ ที่ทำได้เพียงแค่รองรับงบบุคลากร และงบดำเนินงาน กับงบชำระคืนต้นเงินกู้ และดอกเบี้ย รวมทั้งงบเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ซึ่งต้องตั้งตามสัดส่วน ตามเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนด ซึ่งล้วนเป็นเพียงงบที่เป็นภาระผูกพันที่ต้องตั้งจ่าย ตามสิทธิ์-ตามกฎหมาย-ตามระยะเวลาที่กำหนด  ดังนั้นเราก็จะไม่มีวงเงินหรือ”พื้นที่ทางการคลัง”(Fiscal space) เหลือเพียงพอที่จะนำไป”ลงทุน”เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างที่เคยทำกันมาได้ในอดีต

ทุกวันนี้กระบวนการจัดทำงบประมาณของเรา ถูกบีบคั้นกดดันให้ต้องใส่ใจอย่างมากเกี่ยวกับตัวเลขที่จะต้องกู้ยืมมาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ  เนื่องจากประมาณการรายได้ ต่ำกว่าประมาณการรายจ่าย แล้วก็ต้องคอยนั่งลุ้นคำนวณตัวเลขสัดส่วน”งบลงทุน” ให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดปีแล้วปีเล่า โดยแทบจะไม่ค่อยได้พูดกันถึงเรื่องของ”รายได้ “กันอย่างจริง ๆจังๆ ทั้งที่ทราบกันดี ว่าในทางการคลังนั้น “รายได้”เป็นตัวกำหนด”รายจ่าย” 

ดังนั้นถ้าต้องการอยากจะให้ และอยากจะเห็น”งบประมาณ”ของประเทศเราเข้มแข็งและมีศักยภาพ ทาง การคลังอย่างแท้จริง  ทุกองคาพยพของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการงบประมาณ  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มน้ำหนักและให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้าวิจัยแสวงหาหนทางเพิ่ม”รายได้” กันอย่างจริงๆจังๆ  ด้วยความละเอียด รอบคอบ และรวดเร็ว

ถ้าเราไม่สามารถเพิ่มรายได้ แต่ยังคงต้องกู้เงินชดเชยการขาดดุลไปแบบไม่รู้จุดจบ ฐานะการคลังของเราก็จะอ่อนแอลงเรื่อยๆในระยะยาว

บทเรียนจากวิกฤตการ การแพร่ระบาดของโควิดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงทั้งหมด ทั้งการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว หรือแม้แต่การส่งออก ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเคย เป็นเหตุให้รายได้จากการจัดเก็บต่ำกว่าประมาณการ สวนทางกับงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ สูงกว่าประมาณการอย่างมาก น่าจะเป็น”ตัวเร่ง” ให้ต้องปฏิรูปงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้ในการจัดเก็บให้มากขึ้น เพื่อลด-ละ-เลิกการพึ่งพาการกู้ยืมเงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และขยายพื้นที่ทางการคลังให้มากขึ้น เพื่อขยายงบลงทุนให้สูงขึ้น เกินกว่ากรอบที่กฏหมายกำหนด

พึงต้องตระหนัก และระลึกไว้เสมอว่าการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปี คือขุมพลังที่สำคัญ และมีบทบาทอย่างสูงต่อจังหวะการเคลื่อนไหวของชีพจรระบบเศรษฐกิจ 

กระบวนการเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บให้มีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงขึ้นเพื่อทำให้งบประมาณเข้มแข็งและก้าวข้ามเงื่อนไขข้อจำกัดทั้ง 5 ประการข้างต้นที่เป็นเหตุแห่งความอ่อนแอของงบประมาณคือกระบวนการเดินหน้าระบบเศรษฐกิจประเทศไทยสู่ความเจริญพัฒนาบนรากฐานความมั่นคงแข็งแรงและยั่งยืน

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ สําหรับ
วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตสาหกรรมจัดการลงทุนกับโจทย์ Climate Finance: กรณีศึกษาจากยุโรป

เดือนตุลาคมปีที่แล้ว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานสัมมนาสาธารณะประจำปี 2567 ในหัวข้อ “ปรับประเทศไทย ... ให้อยู่รอดได้ในยุคโลกเดือด” ผมติดภารกิจไม่ได้ไปร่วมงาน เพิ่งมีโอกาสตามอ่านบทความและดูคลิปย้อนหลังในช่วงปิดปีใหม่ที่ผ่านมา

“รองประธานสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด สู่นักการเมืองหญิงแกร่ง”

หลายคนรู้จักกับนักการเมืองรุ่นใหญ่ อย่าง “ยงยุทธ ติยะไพรัช” อดีตประธานรัฐสภา ที่มีลูกสาว “สส.โฮม” ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่ “สส.โฮม” ได้ตัดสินใจลงเล่นการเมือง จากมาดามสู่สส. มีอะไรต้องเปลี่ยนเยอะ และด้วยภาพลักษณ์ที่สดใส เป็นมิตร เฟรนลี่กับทุกคน จึงได้รับคำเรียกเล่นๆว่า ทูตสันถวไมตรี เพราะ “สส.โฮม” เป็นกันเอง ไม่ถือตัวกับทุกคน แต่ใครจะไปรู้ว่าชีวิตของ “โฮม” นั้น ผ่านอะไรมาบ้าง จึงได้ไปสอบถาม

เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง

ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค

ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน

ปีแห่งความร่วมมือ ร่วมใจในการพัฒนาสังคมไทยสู่ความเสมอภาค

ผู้อ่านหลายท่านน่าจะเห็นตรงกันว่าปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยได้เผชิญกับความ  ท้าทายหลายประการท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์  ผลการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ที่จะทำให้สงครามทางการค้าเข้มข้นมากขึ้นและประเทศไทยย่อมจะได้รับผลกระทบหลายประการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?