ปฐมบทของการรื้อสร้างการศึกษา-การพัฒนาคนสู่โลกใบใหม่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกฎหมาย “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรืออีอีซี และได้รับมอบหมายให้ดำเนินการปรับสร้างกำลังคนในการพัฒนาการลงทุนยุคใหม่ ในโลกของอุตสาหกรรม 4.0 ที่เป็นเป้าหมายในการเปิดรับการลงทุนของประเทศ!
กฎหมายการลงทุนในพื้นที่ใหม่ 3 จังหวัด ระยอง ชลบุร ฉะเชิงเทรา ที่ตราขึ้นเป็น “พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรืออีอีซี มีการประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561 ยุคที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการสร้างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ขึ้นมาก็เพื่อที่จะเร่งยกระดับ-ปรับประเทศให้ก้าวทันโลกที่เคลื่อนสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม-เทคโนโลยีที่พัฒนาการไปไกลมากแล้ว!
ขณะที่สภาพประเทศไทยในช่วงเวลานั้น เพิ่งผ่านความขัดแย้งรุนแรงในสังคม-บ้านเมืองต่อเนื่องมาอย่างหนักจนเข้าสู่การรัฐประหาร ครั้งที่ 13 เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาได้ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ขึ้น และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยหลังเลือกตั้ง รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเปิดพื้นที่การลงทุนกระตุ้นสร้างเศรษฐกิจ มุ่งเปิดรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ผ่านการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษ หรืออีอีซี
เขตพัฒนาพิเศษนี้กำหนดเป้าหมายการพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเปิดรับอุตสาหกรรมใหม่ 5 กลุ่ม และยกระดับขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมเก่า 5 กลุ่ม เพื่อปรับฐานให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและบริการยุคใหม่ ที่ต้องก้าวออกจากโลกอุตสาหกรรมไทยที่ยังอยู่ในยุค 2.0!!!
นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีขึ้นเพื่อยกระดับปรับตัวทางเศรษฐกิจ มุ่งปรับสร้างพื้นฐานการพัฒนาให้เชื่อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้า ซึ่งการเปิดพื้นที่การลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี จะเป็นการปรับเปลี่ยนที่สำคัญที่มุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่ความก้าวหน้าใหม่คู่ไปกับการสะสมความรู้-ทักษะ-สมรรถนะโดยรวมด้านเทคโนโลยีหลากมิติ เพื่อปรับสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดให้รวดเร็วเท่าทันโลก!
การเปิดประตูรับเอาเทคโนโลยีการผลิตและบริการมากระตุ้นสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่นั้น จำเป็นต้องปรับฐานความรู้ให้เท่าทันนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เปิดรับเข้ามา ซึ่งหมายถึงว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-การพัฒนาคนด้านความรู้-ทักษะ-สมรรถนะ-และการจัดการปรับฐานของระบบการศึกษาให้เข้าสู่โลกยุค 4.0 นั้น เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นยิ่งที่จะต้องปฏิบัติการให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องฉุดดึงการศึกษาไทยที่กดจมอยู่ในโลกยุคเก่าขึ้นมาให้ได้!!!
การศึกษาและการผลิตบุคลากรบนพื้นฐานที่เป็นอยู่ของระบบการศึกษาไทย มีกระบวนระบบการผลิตบุคลากรที่ตอบโจทย์การทำงานและโครงสร้างขององค์กรในการผลิตและภาคบริการ ยุคที่ใช้คนเป็นหลัก ทั้งแรงงานและสติปัญญาในการขับเคลื่อนองค์กรและเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่โลกยุค 4.0 ใช้เทคโนโลยี-นวัตกรรมการสื่อสารเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างการผลิตและบริการ ที่เข้าทดแทนการใช้แรงงาน รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล-การประมวลผลในการผลิตและบริการเป็นหลัก!
การปรับตัวในคลื่นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้ต้องอาศัยทักษะ-ความรู้-ความชำนาญ-และระบบมาตรฐานจากภาคอุตสาหกรรมที่ได้ปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง แทนระบบความรู้-ทักษะ-สมรรถนะโดยรวมที่จัดการเรียนการสอนกันอยู่ในระบบการศึกษาในทุกระดับของประเทศ จึงจะขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าได้จริง!
ประสบการณ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเริ่มต้นที่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มบุคลากรและสถาบันที่เปิดกว้างรับรู้ถึงการที่กำลังถูกดิสรัปชัน! โดยกระตุ้นให้เข้าใจและเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเข้าใจในโลกของการผลิตและบริการ รวมถึงเศรษฐกิจปัจจุบันที่แตกต่างจากความเคลื่อนไหวของโลกเศรษฐกิจในวันเก่าๆ ที่ผ่านมา จากนั้นต้องเปิดประตูสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง ระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคการผลิตจริง คือเชื่อมให้เปิดประตูโรงเรียนเข้าไปหาโรงงาน! เพื่อดึงเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจากภาคการผลิตจริง มาสร้างทักษะประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ให้กับภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นี่คือประสบการณ์ก้าวแรกที่ต้องขับเคลื่อนเปิดประตูนี้ออกให้ได้!
กลุ่มความรู้ทักษะ-สมรรถนะแรกที่ต้องปรับพื้นฐานคือ กลุ่มที่ทำงานกับระบบการผลิต ที่จะต้องเปลี่ยนจากโรงงานยุคเก่าสู่ระบบโรงงานเข้าสู่การเป็นโรงงานระบบอัตโนมัติ ที่ใช้หุ่นยนต์ แขนกลและฐานการจัดการด้วยข้อมูล ที่เชื่อมถึงกันด้วยอัลกอริทึมจากการออกแบบกลไกการผลิต ที่มีการประมวลผลจากโรงงานที่เชื่อมกันทั้งระบบ ในการเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้าหรือชิ้นส่วนการผลิตที่ต้องการ ซึ่งต้องวางรากฐานทักษะ-ความเข้าใจ-และการปรับสมรรถนะใหม่ ซึ่งเป็นการปรับสร้างคน-ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความหมายต่อการลงทุนจริงและขับเคลื่อนสู่อนาคตได้!
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมชั้นสูง และช่างเทคนิคยุค 4.0 ต้องปรับสมรรถนะ-ปรับฐานทักษะใหม่! ซึ่งแน่นอนว่าสถาบันการศึกษาที่มักปิดตัวเหมือนอยู่ในถ้ำต้องเปิดประตูออก เพื่อทำงานกับภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจังทั้งกลุ่มการผลิตและบริการ ไม่เช่นนั้นการศึกษาก็จะถูกทำลายล้างจากแนวทางการผลิตบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับโลกที่เป็นจริง-ไร้ทักษะทำงานได้จริง! ซึ่งมันคือความสูญเปล่าที่เวิ้งว้างไร้ทิศทางของระบบการศึกษาและการพัฒนาคน! นี่คือความสำคัญที่ว่า ทำไมต้องปรับสร้างการศึกษากันใหม่อย่างจริงจัง!!!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขบวนการแพทย์ชนบท กับรางวัลแมกไซไซ ปี 2024 ทิศทางพัฒนาระบบสุขภาพไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. คณะผู้แทน”ขบวนการแพทย์ชนบท” ได้เดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2024
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย