บทสรุปที่เห็นและเป็นอยู่ของการศึกษา-การพัฒนาคนที่ผ่านมานั้น จำเป็นต้องรื้อสร้าง-ปรับระบบการศึกษา-การสร้างคนให้ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงในคลื่นความรู้-การศึกษาสู่ฐานสมรรถนะใหม่ เพื่อหยุดความสูญเปล่าทางการศึกษาให้หมดไป! นี่คือฐานคิดในการสร้างบ้านแปงเมืองยุคใหม่!
สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การงาน และวิถีการดำรงชีวิตในโลกใบใหม่ที่เคลื่อนเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ส่งผลกระทบต่อสังคม-เศรษฐกิจ-ความก้าวหน้าใหม่ ที่เชื่อมการดำรงชีวิต-การงานเข้าสู่นวัตกรรม-เทคโนโลยีใหม่อย่างกลมกลืน ปรับโลกสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การศึกษา-การพัฒนาคน-พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับฐานคิด-ทิศทางสร้างการเรียนรู้ใหม่!
ประสบการณ์บทเรียนจากสังคมตะวันตกและประชาคมโลกที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลง-ปรับตัวของสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งสมรรถนะของผู้คนและการศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถูกบันทึกเสนอไว้ในงาน “ทางรอดในโลกใบใหม่แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” ที่คลาว์ด ชวาบส์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร World Economic Forum ที่เขียนร่วมกับ นิโคลัส เดวิด สะท้อนประสบการณ์ให้รู้ถึงความจำเป็นที่ต้องปรับฐานคิด-ปรับการศึกษา-ปรับการพัฒนาคนขึ้นใหม่ โดยที่บ้านเมืองเราก็กำลังปรับฐานยกระดับประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 และเปิดพื้นที่ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” มุ่งดึงการลงทุนจากกลุ่มที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า-อุตสาหกรรม 4.0 มาขับเคลื่อนบ้านเมืองเชื่อมกับโลกใบใหม่อย่างมุ่งมั่น ซึ่งการปรับฐานการศึกษา-การสร้างคน-สร้างทรัพยากรมนุษย์ 4.0 เป็นภารกิจสำคัญคู่ไปกับการปรับโครงสร้างพื้นฐาน การดึงการลงทุน การยกระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ!
การพัฒนาบุคลากร-การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ (อีอีซี) เริ่มด้วยการทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0 และเป้าหมายที่วางไว้ในการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยรวม ที่มีทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเก่าที่ต้องยกระดับ และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบราง และอุตสาหกรรมอากาศยาน หุ่นยนต์ ดิจิทัล เป็นต้น ปัจจุบันเรามี 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ารวมราวร้อยละ 50 ของจีดีพีประเทศ! ซึ่งวันนี้ต้องเร่งขยับปรับฐานพัฒนาให้ทันโลก 4.0 ซึ่งต้องการบุคลากรฐานสมรรถนะใหม่เพื่อยกระดับประเทศ ที่จำเป็นต้องจัดปรับการศึกษา-การฝึกอบรมคนให้ทันการรองรับการลงทุนและความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ปฏิบัติการครั้งนี้เริ่มจากการศึกษาสำรวจความต้องการบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยเหตุว่าข้อมูลจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ หลายสถาบัน/หน่วยงานที่มีอยู่-ที่เคยศึกษาสำรวจกันนั้น มีตัวเลขต่างกันมาก จนไม่มีชุดข้อมูลไหนจะนำไปใช้เป็นเป้าหมายในการทำงานได้ ทั้งยังเป็นการสำรวจในกลุ่มงานแบบ Labor intensive ที่เป็นโหมดการผลิตยุคเก่า-เป็นโลกการผลิตและบริการยุค 2.0 ที่ไม่ใช่ 4.0!
ในการศึกษาสำรวจครั้งนี้ได้วางกรอบวิธีการศึกษาสำรวจแบบเฉพาะเจาะจง (Expert Consultation - Focus group) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในสนามงานจริง เพื่อสำรวจระดับงานและปริมาณความต้องการบุคลากรในงานแต่ละระดับ ที่เชื่อมอยู่ในห่วงโซ่การผลิตทั้งวงจรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมกับนำไปคำนวณในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์การผลิต โดยยึดจากฐานเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้ เพื่อหาจำนวนสรุปความต้องการบุคลากรในแต่ละอุตสาหกรรม-แต่ละระดับงาน ว่ามีความต้องการจำนวนเท่าไหร่-ที่เป็นไปตามเป้าหมายลงทุน? เพื่อนำไปวางเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรในการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก!
ผลจากการศึกษาความต้องการของบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จากการศึกษาสำรวจตามกรอบที่วางไว้ได้จำนวนความต้องการบุคลากรรวม 475,668 คน ใน 10 อุตสาหกรรม แบ่งเป็นกลุ่มทักษะระดับอาชีวะร้อยละ 54 ที่เหลือเป็นกลุ่มสมรรถนะงานที่สูงกว่าอาชีวะ โดยมีอุตสาหกรรมที่ต้องการบุคลากรสูงสุดได้แก่อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 คน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 109,910 คน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 58,228 คน และอุตสาหกรรมยานยนต์ 53,738 คน เป็น 4 อุตสาหกรรมที่ต้องการคนมากที่สุด ผลการสำรวจได้นำเสนอรัฐบาล (โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น-เป็นผู้กำกับดูแล) และรัฐบาลได้ประกาศใช้ตัวเลขที่ศึกษาสำรวจนี้เป็นตัวเลขเป้าหมายของประเทศ
จำนวนความต้องการทั้งหมดถูกนำใช้เป็นฐานการปฏิบัติในการสร้างคน-ปรับการศึกษา ผ่านการจัดตั้งเครือข่ายสร้างความเข้าใจกับสถาบันการศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเคลื่อนงานสร้างคน-ปรับการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยหลังสถานการณ์โควิดมีการทบทวนจำนวนความต้องการบุคลากรใน 10 เป้าหมายอีกครั้ง โดยได้จำนวนความต้องการบุคลากรหลังจัดปรับรวมทั้งสิ้น 564,176 คน!
การกำหนดเป้าหมาย-ทิศทางก่อนปฏิบัติการปรับการศึกษา-สร้างคนฐานสมรรถนะใหม่ เป็นหมุดหมายที่ช่วยให้การทำงานไม่สะเปะสะปะ-ไม่ต้องมีบทเรียนล้มเหลวซ้ำซาก เช่น การศึกษา-การพัฒนาคนที่เกิดขึ้นตลอดมา! และช่วยกระตุ้นสถาบันการศึกษา-กลุ่มที่มีศักยภาพในงานการพัฒนาคนได้ตระหนักถึงอนาคต ที่ทำให้ตระหนักสร้างความเคลื่อนไหวที่มีทิศทางตรงตามความต้องการจริงไปในขณะเดียวกัน!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .