สู่ปากีสถาน .. ในฐานะ Gandhara Ambassador!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในมรดกโลกของพุทธศาสนา.. หากพูดถึงมรดกโลกทางพุทธศาสนา เราทั้งหลายมักจะคำนึงถึงสถูปพระเจดีย์ วัดวาอาราม มหาวิหาร อันเป็นโบราณสถานของพุทธศาสนาที่ยังคงปรากฏรากฐานเค้าโครงสืบเนื่องมาจากในอดีต ที่มีอายุโดยเฉลี่ยมากกว่าพันปีเป็นอย่างน้อย หรือดังที่ชาวพุทธทั่วโลกจะระลึกถึงสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงบริโภคใช้สอยสมัยเมื่อทรงมีพระชนม์อยู่...

การระลึกถึงเค้าโครงทางโบราณคดี พุทธศิลป์ แต่ละยุคสมัย ที่ทับถมส่งต่อสืบเนื่องกันมานั้นว่าเป็นมรดกโลก มิใช่เป็นเรื่องที่ผิด.. เพราะคำว่า มรดกโลก นั้นจะระบุว่า แหล่ง หรือ พื้นที่มรดกโลก ที่มีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ โดยแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโก จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา ด้วยสถานที่เหล่านั้นถือว่าสำคัญต่อประโยชน์ของมนุษยชาติหรือประชาคมโลก ซึ่งสะท้อนผ่านหลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ๖ ข้อ...

จึงควรอย่างยิ่งที่ “ศิลปะคันธาระทางพุทธศาสนา” ที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ เป็นต้นมา.. ซึ่งเป็นจุดกำเนิดพุทธศิลป์อย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์ ส่งต่อสืบเนื่องอายุพระพุทธศาสนานับตั้งแต่ภายหลังพุทธปรินิพพาน จะได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพื่อเป็นสิ่งยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมทางพุทธศาสนาในรูปแบบต่างๆ ที่ยังคงมีปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับ “นครตักกศิลา” แห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นของชมพูทวีป ที่ปรากฏหลักฐานเป็นนครโบราณที่มีอายุมายาวนานหลายพันปี เป็น นครแห่งการศึกษาทางโลก ที่เรียกว่าเป็น “ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยการศึกษาของโลก (ชมพูทวีป)” ก็ว่าได้.. ด้วยความสืบเนื่องมายาวนาน “นครตักกศิลา” จึงอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย.. โดยเฉพาะความโดดเด่นของความเป็น “นครพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ” ที่แคว้นคันธาระ .. คู่กับ “นครพุทธศาสนาฝ่ายใต้” ที่นครราชคฤห์ แคว้นมคธ (ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตรัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย) ซึ่งทั้งสองแห่งมีความสัมพันธ์ทางพุทธประวัติที่สืบเนื่องกันอย่างมีหลักฐานปรากฏชัดเจนในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา...

ดังที่เห็นร่องรอยความเจริญของพุทธศาสนาที่สืบต่อมาจากสมัยพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์อยู่.. และต่อเนื่องไปจนถึงหลังพุทธปรินิพพาน ๒๐๐-๓๐๐ ปี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ณ แคว้นมคธ ที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยเฉพาะสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒-๓.. ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งโมริยวงศ์ ที่พุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพานรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด ที่มีศูนย์กลางปกครองอยู่ที่มคธชนบท ซึ่งได้แผ่อำนาจปกครองไปทั่วชมพูทวีป จนถึงคันธาระ กัมโพชะ.. แว่นแคว้นฝ่ายเหนือ

นครคันธาระในสมัยนั้น จึงอยู่ในการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง จึงได้เห็นหลักฐานร่องรอยอารยธรรมของพุทธศาสนาที่แผ่กว้างครอบคลุมไปทั่วแว่นแคว้นฝ่ายเหนือ โดยมีนครตักกศิลาเป็นศูนย์กลาง.. และเมื่อเปลี่ยนผ่านการปกครองเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ ๕-๖.. ซึ่งเข้าสู่ยุคสมัยของราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองในแคว้นฝ่ายเหนือ โดยมีนครคันธาระเป็นศูนย์การปกครอง จึงได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาที่ขยายผลส่งสืบต่ออย่างยิ่งใหญ่ในสมัยของพระเจ้ากนิษกะ ซึ่งทรงวางรากฐานพุทธศิลป์แบบคันธาระ บนร่องรอยอารยธรรมในพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ ที่มีความแปลกแตกต่างออกไปจากพุทธศาสนาฝ่ายใต้ และเป็นที่มาของการกำเนิดพุทธศาสนามหายานขึ้น..ในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มรูปแบบ ภายหลังพุทธศาสนาแตกออกเป็นนิกายต่างๆ มากถึง ๑๘ นิกาย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี

นอกจากอารยธรรมของพุทธศาสนา ที่มีอิทธิพลยิ่งในแว่นแคว้นฝ่ายเหนือของชมพูทวีป โดยเฉพาะพื้นที่แคว้นคันธาระ แคว้นกัมโพชะ เป็นต้นแล้ว.. ยังมีอารยธรรมจากตะวันตก ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ในยุคสมัยต่างๆ ทั้งที่ส่งต่อสืบเนื่องในระหว่างอารยธรรม.. จนถึงการทับซ้อนระหว่างอารยธรรม..ในกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ที่ผสมผสาน และเชื่อมโยงกันในร่องรอยอารยธรรมในฐานะที่แว่นแคว้นฝ่ายเหนือ ได้แก่ แคว้นคันธาระ หรือนครตักกศิลา.. เป็นประตูสู่ชมพูทวีปของชาวโลก ดังปรากฏอิทธิพลกรีกและโรมันในสมัย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามาสู่ชมพูทวีปประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒ ที่เข้ามาปะปนในตำราหรือคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในยุคหลังพุทธปรินิพพาน เช่น หนังสือมิลินทปัญหา.. ที่นักวิชาการตะวันตก ชื่อ เจ ดันแคน เอ็ม เดอร์เรตต์ (J. Duncan M. Derrett) ได้เขียนวิพากษ์ไว้ว่า.. “เนื้อหาของหนังสือมิลินทปัญหานั้นมีอิทธิพลสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่รู้จักกันในชื่อ “อเล็กซานเดอร์-โรมานซ์” (Alexzander-Romance) .. และยังมีเนื้อหาคำสอนทางศาสนาคริสต์ยุคแรก (The gospels) ซึ่งแน่นอนคงเป็นส่วนแต่งเติมขึ้นหลังคริสตกาล... นี่เป็นอิทธิพลกรีกและโรมันที่ตกมาถึงพุทธศาสนา (ฝ่ายเหนือ) ในแว่นแคว้นคันธาระ.. ที่ไม่ใช่อิทธิพลของวรรณกรรมสันสกฤตในอินเดีย..”

ดินแดนพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (คันธาระ, กัมโพชะ ฯลฯ) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ หรือตอนเหนือของชมพูทวีป จึงทับซ้อนกับอารยธรรมหลายยุคสมัย ที่ควรศึกษาอย่างยิ่งในร่องรอยพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงกับโลก โดยเฉพาะจากกรีกที่แผ่อิทธิพลเข้าสู่การสร้างพุทธศิลป์ยุคแรก ที่มีศูนย์กลางในแคว้นคันธาระ ในสมัยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ จนเป็นที่มาของพุทธศิลป์คันธาระ.. ที่เลื่องลือถึงความสวยงามที่เผยแพร่ไปทั่วโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะ หินสลักรูปพระพุทธเจ้าและประติมากรรมทางพุทธศาสนา รวมถึงสถูปเจดีย์จำนวนมากมาย ซึ่งในส่วนของสถูปและวัดจำนวนมาก ได้ส่งต่อมาจากความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช..

ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้นคันธาระปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน จึงได้เห็นร่องรอย พุทธศาสนจักร เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมไปทั่วทั้งในรัฐปัญจาบและรัฐไคเบอร์ปักตุนควา จนถึงบางส่วนของแคชเมียร์.. โดยเฉพาะพื้นที่นครโบราณที่ชื่อ “ตักกศิลา” ที่ครอบคลุมทั้งเมืองตักกศิลาเองและอาณาบริเวณรายรอบเชื่อมโยงครอบคลุมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน.. จนถึง ไคเบอร์พาส (Kyber Pass) ซึ่งเป็นช่องทางธรรมชาติเชื่อมต่อไปสู่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบัน

แม้แต่หุบเขาสวัตอันสวยงามด้วยธรรมชาติ ซึ่งในอดีตรู้จักดินแดนดังกล่าวในชื่อ “อุทยาน” (Udyana) ที่เชื่อมต่อกับทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน ก็ล้วนเป็นอาณาจักรที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองมาในยุคนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ดินแดนหรืออาณาจักรในหุบเขาเหล่านี้ จะมีร่องรอยพุทธศาสนา ทั้งอาราม วิหาร สถูป และหินสลักรูปพระพุทธเจ้าจำนวนมาก ที่ควรแก่การศึกษาในประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมาย ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นแหล่งกำเนิด พุทธศิลป์แบบคันธาระ ที่ทรงคุณค่ายิ่งทางจิตวิญญาณของชาวพุทธทั่วโลก...

ดังที่ได้กล่าวมาโดยย่อนั้น เพื่อแสดงความเป็น มรดกโลกทางพุทธศาสนา ในความเป็นอารยธรรมด้านพุทธศิลป์จากวัตถุโบราณรูปแบบต่างๆ.. ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องในแต่ละยุคสมัย ผ่านวัตถุ สิ่งของ เหล่านั้น ได้แก่ วัดวาอาราม สถูปเจดีย์ หินสลักรูปพระพุทธเจ้าปางต่างๆ .. ที่ถ่ายทอดมาจากเรื่องราวในชาดก จากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา

แต่ในอีกมิติหนึ่ง..ที่ควรกล่าวถึงอย่างยิ่งในฐานะชาวพุทธที่แท้จริง.. ได้แก่ จิตวิญญาณของอารยธรรมต่างๆ ของมนุษยชาติ.. ที่ปรากฏอยู่ในร่องรอยอารยธรรมพุทธศาสนา ที่ควรได้รับการยกให้เป็น มรดกโลกของมนุษยชาติ.. ที่มีคุณค่าต่อประชาคมนานาชาติ.. ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ.. ที่มีปรากฏอยู่ในร่องรอยการสืบทอดอารยธรรม.. ที่เชื่อมโยงมาสู่สมัยพุทธศาสนารุ่งเรืองในชมพูทวีป..

จึงยินดียิ่งเมื่อได้ทราบว่า จะได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งใหญ่ที่นครอิสลามาบัด สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ในหัวข้อ Cultural Diplomacy : Reviving Gandhara Civilization and Buddhist Heritage in Pakistan ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖.. และในงานดังกล่าว อาตมภาพเป็นพระภิกษุจากพุทธศาสนา ที่คณะกรรมการจัดงานมีหนังสือมานิมนต์ให้ไปเป็นองค์บรรยายในหัวข้อ Importance of Gandhara in Buddhism” ซึ่งจะไปบรรยายในฐานะ Gandhara Ambassador” ที่ได้รับการถวายตำแหน่ง.. รัฐไคเบอร์ปักตุนควา (KP)/ปากีสถาน.. สมัยเมื่อไปจำพรรษา ณ นครตักกศิลา ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามคำเชิญ (นิมนต์) ของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน.. จึงได้ฐานะทูตสันถวไมตรีมรดกโลกพุทธศาสนามาตั้งแต่นั้น...

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รองประธานสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด สู่นักการเมืองหญิงแกร่ง”

หลายคนรู้จักกับนักการเมืองรุ่นใหญ่ อย่าง “ยงยุทธ ติยะไพรัช” อดีตประธานรัฐสภา ที่มีลูกสาว “สส.โฮม” ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่ “สส.โฮม” ได้ตัดสินใจลงเล่นการเมือง จากมาดามสู่สส. มีอะไรต้องเปลี่ยนเยอะ และด้วยภาพลักษณ์ที่สดใส เป็นมิตร เฟรนลี่กับทุกคน จึงได้รับคำเรียกเล่นๆว่า ทูตสันถวไมตรี เพราะ “สส.โฮม” เป็นกันเอง ไม่ถือตัวกับทุกคน แต่ใครจะไปรู้ว่าชีวิตของ “โฮม” นั้น ผ่านอะไรมาบ้าง จึงได้ไปสอบถาม

เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง

ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค

ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...