มีเรื่องที่น่าพิจารณาถึงระบบการศึกษา-การพัฒนาคน-พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบ้านเมืองเรา.....การสร้างทุนมนุษย์ของบ้านเมืองช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงการปรับตัวของสังคมไทย เริ่มตั้งแต่ช่วงที่เร่งเข้าสู่ความทันสมัยกลางทศวรรษ พ.ศ.2520 เป็นต้นมาจนมาถึงปัจจุบัน ที่ยุคดิจิทัลที่ AI กำลังเบ่งบานอยู่ในโลก 4.0 เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนผ่านจากศตวรรษ 20 เข้าสู่ศตวรรษที่ 21
ระบบการศึกษาไทยเปิดรับฐานความรู้-ทักษะ-สมรรถนะจากโลกตะวันตกเป็นหลัก สมาทานความรู้-ความก้าวหน้าจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ยุโรป ไม่ว่าสถาบัน MIT ฮาร์วาร์ด เคมบริดจ์ ออกซ์ฟอร์ด เยล พรินส์ตัน ฯลฯ ซึ่งช่วงราว 5 ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงกระตุ้นสังคมไทยเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมที่ดึงเอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการตามยุคสมัยมาขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนผ่านในแต่ละช่วงเวลา โดยรวมหลักๆ แล้วเป็นแนวการจัดการความรู้-ทักษะ-สมรรถนะ ที่อยู่บนฐานความคิดการพัฒนาคน-พัฒนางาน-การจัดองค์กรในการผลิตและบริการตามโครงสร้างที่ใช้แรงงานและทักษะของผู้คนเป็นหลัก (Labor Intensive) เป็นสำคัญ ก่อนที่โลกจะเปลี่ยนสู่การสื่อสาร-การงานยุคใหม่ในโลกดิจิทัลวันนี้
การเปลี่ยนจากโครงสร้างการงาน-เศรษฐกิจเก่า-สู่โลกดิจิทัล เป็นการเปลี่ยนผ่านที่มีความคิดและการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่ฐานคิด-วิธีคิด-ความรู้ความเข้าใจ-ทักษะ-จนถึงสมรรถนะโดยรวม ซึ่งโลกวันนี้เคลื่อนอยู่บนฐานความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่า-ทรงพลังกว่าแต่ละช่วงในโลกยุคก่อนดิจิทัลหลายเท่าตัว!
“Speed Of Change” ในโลกใบเก่าที่สั่งสมการเปลี่ยนแปลงแบบเก่านั้น มีช่วงเวลาในการปรับฐานความรู้-พัฒนาทักษะ-และเรียนรู้ที่ใช้เวลายาวนานนับทศวรรษแต่ละช่วงในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากยุคพลังน้ำ-ยุคเหล็ก สู่ยุคไอน้ำ รถไฟ สู่ยุคไฟฟ้า สู่ยุคปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิก อากาศยาน สู่ยุคดิจิทัล การสื่อสารใหม่ และกำลังเคลื่อนสู่ยุคเอไอ หุ่นยนต์ โดรนและเทคโนโลยีสะอาด ฯลฯ แต่ละช่วงมีการสั่งสมเปลี่ยนแปลงนั้นใช้เวลาสั้น-ยาวต่างกัน ตั้งแต่ครึ่งศตวรรษจนแค่ไม่ถึงทศวรรษ!
โลกยุคดิจิทัลวันนี้ทักษะความเข้าใจ ความรู้และการพัฒนาสมรรถนะโดยรวมจะมีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน-ต่อเนื่อง-ส่งผลต่อการงาน/การดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีทั้งการสร้างโอกาสใหม่และการทำลายล้างในแบบผู้ชนะจะได้รับประโยชน์ไปทั้งหมด (Winner Take All) นี่คือความต่างที่ไม่เหมือนโลกใบเก่า!
เมื่อพิจารณาการจัดการศึกษา-การพัฒนาบุคลากร-พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่เป็นความรู้ทักษะที่สร้างความก้าวหน้าในการงานและการดำรงชีวิตยุคใหม่ จะพบว่าการจัดการศึกษา-การพัฒนาคนนั้นต้องปรับตัวเรียนรู้-เปลี่ยนแปลงด้วยการจัดการฐานความรู้-ความคิด-วิสัยทัศน์ที่เข้าใจ ศักยภาพของนวัตกรรม-เทคโนโลยีที่เคลื่อนไหวอยู่ในการงานและโลกแวดล้อมใหม่ ที่ต้องมีการรื้อสร้างให้มีความรู้-การเรียนการสอน-หลักสูตร-ภูมิทัศน์ทางการศึกษา-และระบบนิเวศการเรียนรู้ (Eco System) ที่สัมพันธภาพกับชีวิต-การงานยุคใหม่ มีทิศทางการสร้างทุนมนุษย์-พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากระบบการศึกษาหรือการฝึกอบรมใหม่ๆ บนฐานสมรรถนะที่ต่างจากเดิมที่ต้องมองให้ชัดถึงตำแหน่งแห่งที่ของระบบการศึกษาที่มีอยู่ในสังคมไทยในเชิงสถาบันว่า มีบทบาทในการสร้างการศึกษา-พัฒนาคน (จากระดับการศึกษาพื้นฐาน-อาชีวะ-และอุดมศึกษา) ว่ามีความเคลื่อนไหวอยู่เช่นไร ตอบโจทย์ฐานความคิด-ความรู้-ทักษะ-สมรรถนะโดยรวมต่อการงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ในแง่ความรู้พื้นฐาน-หลักสูตร-บุคลากรครูอาจารย์ผู้สอน-ผู้จัดการศึกษา-ระบบการศึกษา-การเรียนการสอน-จนถึงภูมิทัศน์ (Ecosystem) ในการสร้างความรู้-ทักษะ-สมรรถนะให้บุคคลนั้น ตอบโจทย์ความก้าวหน้าบนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เคลื่อนเข้าแทนโลกใบเก่าได้จริงหรือไม่? เพียงใด?
เมื่อมีการขับเคลื่อนเดินหน้าสู่ประเทศไทย 4.0 เปิดพื้นที่การลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ การย้อนดูการก่อรูป-ขยายตัวของโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ปฐมบทการปรับประเทศสู่ความเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งในยุคนั้นมีการเร่งจัดปรับสร้างการศึกษาโดยเฉพาะระดับอาชีวะผ่านความร่วมมือกับกลุ่มยุโรป โดยเฉพาะเยอรมันกับออสเตรียและอเมริกา เพื่อสร้างคนรับความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลง! แต่ต่อมาเมื่อระบบการศึกษาไปหมกอยู่ใต้ระบบราชการจ๋าที่ถูกกำกับดูแลอย่างสะเปะสะปะไร้ทิศทาง! ผลที่ได้ต่อมาคือ การผลิตบัณฑิตตกงานปีละ 3-4 แสนคน ขณะที่กลุ่มคนที่มีงานทำ-ได้งานไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา หรือกลุ่มที่ได้งานตรงสาขาวิชาที่เรียนมาก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้ผู้ประกอบการอย่างที่ควร! ภาพความจริงนี้สะท้อนความสูญเปล่า-ล้มเหลวทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง! ความน่ากังวลของเขตพัฒนาพิเศษในโลกอุตสาหกรรม 4.0 จึงอยู่ที่ว่าจะพึ่งพาระบบการศึกษา-พัฒนาคนที่กำลังปรับฐานการผลิต-บริการมุ่งยกระดับประเทศสู่ 4.0 ได้เช่นไร?
สภาพแวดล้อมเยี่ยงนี้สิ่งที่ต้องทำแน่ๆ คือการปรับฐานการศึกษา-การพัฒนาคนให้เข้ากับฐานการผลิต-บริการในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องรื้อสร้างการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้-ทักษะในทิศทางใหม่บนฐานคิดที่ตอบโจทย์ความต้องการจริงของยุคสมัยที่ต่างไปจากเดิมๆ ซึ่งนี่คือภารกิจสำคัญต่อการพัฒนาคนและการศึกษาในการขับเคลื่อน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีบทบาทหลักในการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตยุคใหม่ของประเทศให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .