การสร้างคน & การศึกษาใหม่...ที่ต้องฝ่าความคิด-แนวทางเก่า สู่ยุค Future is Now!!! (1)

จะย้อนรอยไปดูการปรับตัวของการศึกษาในการปั้นสร้างทรัพยากรมนุษย์ของบ้านเมืองเรานั้น มีมายาวนาน แอดีตต่โบราณกาลเราใช้วัดเป็นแหล่งสร้างคนสร้างและการศึกษา ต่อมาเมื่อระบบโรงเรียนเข้ามาโดยพวกมิชชันนารี เราก็มีโรงเรียนสามัญชนแรกตั้งขึ้นในปี 2445 ที่วัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี จัดตั้งโดยเจ้าคุณอุบาลีคุณอุปมาจารย์สิริจันทร์ มหาเถระ ต่อมาก็มีการตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาดูและและปรับเป็นกระทรวงศึกษา เมื่อเข้าสู่โลกยุคใหม่ก็มีการจัดทำระบบการศึกษาขึ้นมา จนมีการปฏิรูปการศึกษาล่าสุด ที่ได้แต่ความสูญเปล่าจากการปฏิรูปที่ยาวนานนับ 2 ทศวรรษ

การศึกษาเป็นฐานการพัฒนาคนที่จำเป็นยิ่ง เพื่อปรับตัวให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก ระบบการศึกษาไทยหมกอยู่ใต้ระบบระเบียบของราชการมายาวนานกว่าศตวรรษ  ระบบการศึกษาจึงเคลื่อนไปตามกรอบการกำกับดูแลของราชการ มากกว่าจะขับเคลื่อนไปตามความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงของประเทศ ที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเศรษฐกิจกับสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงปรับตัวไปทุกขณะ!

ต่อมาเมื่อการเมืองมีอิทธิพลครอบงำการบริหารจัดการการศึกษามากขึ้น การศึกษาจึงไร้ทิศทางมีสภาพเหมือนตุ๊กตาล้มลุก ที่เมื่อมีคนให้ความสนใจก็หันไปใส่ใจกันเป็นช่วงๆ พอหมดความสนใจก็ล้มไปกองถูกมองผ่านเลยไป เป็นเช่นนี้เรื่อยมา! ระบบการศึกษาจึงมีกระบวนการผลิตสร้างบุคลากรที่เป็นไปตามการกำหนดของระบบราชการ ยึดสถานศึกษาและความรู้ที่มีอยู่ของครูบาอาจารย์เป็นแกนหลัก มีสภาพเสมือนการยกย่องเชิดชูความรู้ที่ติดตัวครูและสถาบันการศึกษามาแต่อดีต จนดูเหมือนเป็นการศึกษาของอดีต – มากกว่าที่จะมีนัยยะสำคัญในการประดิษฐ์คิดสร้างอนาคต-หรือปรับตัวตามโลกและเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง!

การจัดการศึกษาของประเทศที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเป็นต้นน้ำสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสังคมโลก จะมีกระบวนระบบบริหารจัดการสร้างคนและพัฒนาการศึกษาในทิศทางที่ แตกต่างจากการศึกษาในบ้านเมืองไทยอย่างสิ้นเชิง อาธิ โลกตะวันตกอย่างเยอรมนี ยุโรป อเมริกา ฯการสร้างคนโยระบบการศึกษาจะเชื่อมกับการสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ทิศทาง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นตัวกำกับขับเคลื่อนการศึกษาที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีทิศทางที่สอดคล้องกัน ขณะที่ผลผลิตของผู้คนจากระบบการศึกษาก็จะมีปฏิสัมพันธ์ในการเสริมสร้างความก้าวหน้าให้ประเทศเป็นเนื้อเดียวกันไป! เป็นวงจรที่ความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของผู้คนและประเทศที่สัมพันธ์กันลุ่มลึก เช่นกับในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและสิงคโปร์ หรือแม้มาเลเซีย ก็มีกลไกการบริหารจัดการสร้างคน-สร้างการศึกษาที่สัมพันธ์กันแนบแน่นระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมกับการศึกษา-การสร้างคน-สร้างทรัพยากรมนุษย์ หรือจีนประเทศที่ก้าวหน้าใหม่มีศักยภาพโดดเด่น ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และขจัดความยากจนให้คนกว่า 700 ล้านคนในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาของจีนเป็นเนื้อนาเดียวกับ การสร้างนวัตกรรม ความก้าวหน้า และความแข็งแกร่งทางด้านสังคมเศรษฐกิจของประเทศเองอย่างมีนัยสำคัญ นี่คือการปรับตัวรื้อสร้างการศึกษาในประเทศที่ก้าวหน้าและความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผู้คน-ทรัพยากรมนุษย์และความก้าวหน้าของประเทศ!

ในโครงสร้างทิศทางการปรับตัวการศึกษาของไทยเรา การปฏิรูปการศึกษาที่เคยให้ความสนใจกันที่ผ่านมา ที่ได้ใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษยุคก่อนหน้าโน้น! ผลลัพธ์ที่ได้กลับมีแค่ความสับสนและโครงสร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์ล้ำลึกกับประโยชน์ทางการเมือง! ความก้าวหน้าของระบบการศึกษาและการพัฒนาคนถูกทิ้งหกเหี่ยเรี่ยราด-ให้เป็นอื่นอยู่ข้างทาง ไม่ได้เป็นหัวใจที่มีความสลักสำคัญจริงจังที่ผู้บริหารประเทศ-ผู้บริหารการศึกษาให้ความสำคัญ! ผลประโยชน์ของพ่อค้านักธุรกิจที่ขายเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ทางการศึกษามีบทบาทโดดเด่นมากกว่าผู้บริหารการศึกษา!

นโยบายการศึกษาของประเทศจึงเคลื่อนไหวแบบ “คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่าง” ตลอดมา เอวัง... หลักคิด-หลักความเข้าใจสภาวะการศึกษาหมกอยู่ใต้มรดกความคิด-เคลื่อนไหวที่ส่งต่อมาจากศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน แม้วันนี้ โลกของความก้าวหน้าและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21 ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมหาศาลไกลลิบแล้วก็ตาม นี่คือปัญหาที่ฝังลึกแบบสนิมเกิดแต่เนื้อในตนของระบบการศึกษาไทย! ไม่นับความขัดแย้งชิงดีชิงเด่นทางตำแหน่งหน้าที่ของคนในระบบ-ในหน่วยงานระดับต่างๆ และในระบบการบริหารจัดการที่เคลื่อนอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม และในกระบวนการแสวงประโยชน์จากกลุ่มการค้า-กลุ่มความเชื่อต่างๆ ที่เกาะอยู่กับระบบการศึกษา-ผู้คนที่มีตำแหน่งแห่งที่-มีอิทธิพลกับการบริหารจัดการการศึกษาไทย! นี่คือโครงสร้างที่คร่ำครึผุกร่อนเป็นอุปสรรคขวาหนามที่หนักหนาสาหัสยิ่ง ที่กลุ่มคนซึ่งสำนึก-เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง-รับผิดชอบต่อความก้าวหน้าของผู้คนประเทศ-มีความรู้ความเข้าใจถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากการปรับตัวของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าในโลกใบใหม่ต้องเผชิญอย่างปฏิเสธไม่ได้! ต้องเผชิญทั้งในองค์กรเล็ก ๆ ที่ทำงานอยู่ไปจนถึงในกลุ่มโครงสร้างการบริหารส่วนบน รวมทั้งกับทัศนคติค่านิยมของสังคมที่ยังคงอยู่ในวิธีคิด-ความเชื่อของคนส่วนใหญ่ ที่ยังมีมุมมองความคิดของโลกใบเก่าฝังอยู่ นี่คือภาพสะท้อนบทแรกที่ชี้ให้เห็นอุปสรรคขวากหนามที่กลุ่มความคิดใหม่ที่มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงรื้อสร้างการศึกษาและการพัฒนาคนจะต้องเจอ!!!  (อ่านต่อตอน 2)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .