เมื่อส่องดูความเคลื่อนไหวในการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่เป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ของประเทศ มุ่งปรับตัวพัฒนาอุตสาหกรรมจากยุคอีสเทิร์นซีบอร์ดต่อยอดสร้างความก้าวหน้าใหม่อยู่อย่างมีนัยสำคัญกับเศรษฐกิจสังคมวันนี้นั้น มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการทำงานและยกระดับท้องถิ่นในพื้นที่พิเศษหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้คน-สังคมท้องถิ่นในพื้นที่ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา!
การเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น 3 จังหวัดเกิดขึ้นเป็นระยะๆ เริ่มแต่ปี 2516 ตามแผนพัฒนาประเทศที่มุ่งเปลี่ยนภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมที่สภาพเศรษฐกิจสังคม 3 จังหวัดและภาคตะวันออกช่วงปี 2519 ถึง 2521 เคยเป็นเมืองเกษตร-ผลไม้-ประมง-ค้าขาย-ท่องเที่ยว ที่ช่วงเวลานั้นกำลังขยายตัวสู่เศรษฐกิจเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว และตั้งแต่ปี 2524 ก็ถูกปรับสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐ โดยเฉพาะระยองและชลบุรี
การปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้น สร้างผลกระทบทางสังคม-เศรษฐกิจ-ทรัพยากรท้องถิ่นขึ้นมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนในท้องถิ่น! เศรษฐกิจ-สังคมท้องถิ่นถูกรุกไล่-เบียดขับเป็นสังคมชายขอบ ฐานทรัพยากรชุมชนท้องถิ่นที่หล่อเลี้ยงผู้คนทุกกลุ่มในชุมชน กลุ่มเล็กกลุ่มน้อย-เกษตรกรรายย่อย-ประมงเรือเล็กในพื้นที่ถูกเบียดขับปิดกั้นจากแหล่งทำกินเดิม พื้นที่หลายแห่งก่อรูปขึ้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรม-ปรับโครงสร้างขยายถนน-สร้างท่าเรือน้ำลึก โรงงาน-ศูนย์ธุรกิจการค้า-ชุมชนบ้านจัดสรรผุดขึ้นทั่ว ขยายชุมชนเปลี่ยนเป็นเมืองเล็ก-ใหญ่แทนชุมชนแบบเดิมตลอดแนวชายฝั่ง!
ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อปัญหา-ความขัดแย้งขึ้นมากมาย ลุกลามข้ามหมู่บ้าน-ตำบล-จังหวัดจนรับรู้ไปทั่วประเทศ! ความขัดแย้งเริ่มตั้งแต่ปีที่เตรียมการโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดต่อเนื่องตลอดมา จากปี 2512 เกิดกรณีการเวนคืนที่ดินโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำมาบประชัน ปี 2527 มีการเผชิญหน้ากันของเจ้าหน้าที่รัฐกับเกษตรกรกรณีปัญหามลภาวะจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปี 2530 หมู่บ้านประมงแหลมฉบังดื้อแพ่งจากการที่ถูกการท่าเรือไล่ที่ ปี 2532 เกิดความขัดแย้งมีการจับกุมผู้บุกรุกพื้นที่ในเขตแควระบบสียัต ปี 2534 นิคมอุตสาหกรรมมีน้ำไม่พอใช้ ปี 2535 เกิดความขัดแย้งกรณีระเบิดหินอุตสาหกรรมโม่หินบนเกาะสีชัง-และการรุกที่สาธารณะ ปี 2537 และปี 2538 เกิดความโกลาหลขัดแย้งแตกแยกกันหลายกรณี อาทิ ประเด็นเรื่องน้ำมันรั่วลงทะเลบริเวณชายหาดระยอง ผู้คนต่อต้านที่ตั้งโรงงานกากอุตสาหกรรมและที่ฝังกลบ หาดพัทยาน้ำเน่าเกินขีดความสามารถในการบำบัด มลพิษจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสร้างผลกระทบชุมชน ปี 2540 และมีการต่อต้านแนวคิดถมทะเลเป็นวงกว้าง ฯลฯ กรณีความขัดแย้งโกลาหลที่ยกขึ้นมากล่าวนี้ ยังมีอีกหลากหลายกรณีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น! ล้วนเป็นผลรวมจากการขาดการบริหารจัดการที่ดีพอ-ขาดการสร้างการมีส่วนร่วม-ขาดการสร้างความเข้าใจ-จนถึงการขัดแย้งกันของการลงทุนในพื้นที่ ฯลฯ
ปัญหาดังกล่าวเหล่านี้เกิดจากวิธีคิด-แนวปฏิบัติจากการดำเนินโครงการที่ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการทำงานแบบสั่งการจากบนลงล่าง สรุปภาพจากการใช้อำนาจของหน่วยงาน-ผู้บริหารองค์กร-และอำนาจรัฐดูถูกดูแคลนคนท้องถิ่น-สังคมท้องถิ่น มองว่าตัวเองเหนือกว่า! เป็นลักษณะการทำงานที่ไม่เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วม ทั้งที่ผู้คน-ชุมชนและท้องถิ่นนั้นเป็นพื้นแผ่นดินแห่งชีวิต เป็นถิ่นกำเนิดและพักพิงของชีวิตที่เกิด และบางคนก็ฝังตัวอยู่กับวิถีชีวิตและชุมชนที่นั่นไปจนตาย!
ความขัดแย้งที่เกิดจากการทำงานที่มองไม่เห็นหัวชุมชน-เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ยึดประโยชน์ผลงานเป็นที่ตั้ง ยัดเหยียดโครงการที่ทึกทักเข้าใจเองว่าดีกว่า-เหนือกว่าคนท้องถิ่น ฯลฯ การทำงานเยี่ยงนี้ล้วนเป็นความน่ารังเกียจที่จุดชนวนความขัดแย้ง-สร้างความรุนแรงขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ กรณีการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมมาบตาพุดกลายเป็นความขัดแย้งแบบตำนานยาวนานขึ้นนั้น เกิดจากการนำโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ยัดลงไปในพื้นที่อย่างขาดการมีส่วนร่วมและการจัดการที่ดี ทำให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นมหากาพย์ในความทรงจำของผู้คนและบ้านเมืองยาวนานหลายทศวรรษ! ส่งผลให้สังคมขาดความเชื่อถือไว้วางใจรัฐ และการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ จนมักเกิดกรณีการต่อต้านขยายตัวไปทั่วประเทศ ที่ผู้คนท้องถิ่นและสังคมโดยรวมเข้าร่วมต่อต้านหลายกรณี อาทิ อภิมหาโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียที่สมุทรปราการที่ต้องปิดโครงการไป-รัฐสูญเปล่านับหมื่นล้าน หรือการที่ผู้คนภาคใต้ที่ต่อต้านโครงการของรัฐหลายโครงการ ล้วนเกิดจากการคิดจากบนลงล่าง-ไม่เคารพรับฟังท้องถิ่น-ไม่เปิดพื้นที่สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมทั้งสิ้น!
ถ้าพิจารณากรณีญี่ปุ่นที่ดำเนินโครงการขนาดใหญ่สร้างบ้านแปงเมืองโยโกฮามา โครงการมินาโตะ มิราอิ มุ่งเปลี่ยนเมืองล้าหลัง-หลับใหล-เป็นเหมือนเมืองร้างจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปี 2497 เมืองที่ไม่มีเศรษฐกิจของตัวเอง-ต้องพึ่งโตเกียวเป็นหลัก! โดยผู้นำ-ผู้บริหารท้องถิ่นโยโกฮามากับรัฐบาลจับมือขับเคลื่อนโครงการมินาโตะ มิราอิ เปลี่ยนโยโกฮามาเป็นมหานครน่าอยู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยว-เมืองการค้า-วัฒนธรรม เริ่มจากการสร้างความเข้าใจกับผู้คนในสังคมชุมชนท้องถิ่นจนเข้าใจร่วมกัน และปั้นสร้างเศรษฐกิจโยโกฮามาขึ้นด้วยการลงทุนจากภายนอก มีการจัดวางพื้นที่แบบมีส่วนร่วมใช้เวลากว่า 10 ปี กำหนดสร้างแลนด์มาร์กขึ้นในปี 2536 และขยายตัวต่อเนื่องปรับสร้างพื้นที่เขตโกดังแดงยุคก่อนสงครามเปลี่ยนเป็นพื้นที่การค้าใหม่ปี 2542 เปิดรับการท่องเที่ยวเมื่อปี 2549 โดยเขตอยู่อาศัยมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบกรีนโยโกฮามา มีการจัดระบบระเบียบเมืองใหม่รับการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ปัจจุบันโยโกฮามาเป็นเมืองเศรษฐกิจท่องเที่ยวสำคัญรับนักท่องเที่ยวปีละ 90 ล้านคน มีผู้อยู่อาศัยราว 4 ล้านคน มีระบบระเบียบจัดการความปลอดภัย-สิ่งแวดล้อมสีเขียว สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการเคารพคนท้องถิ่น-มีส่วนร่วม เกิดเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง-ยั่งยืน-ปลอดภัย-สิ่งแวดล้อมดี-คุณภาพชีวิตดีมาจนทุกวันนี้!
อย่าลืมว่าคนท้องถิ่นมีศักยภาพไม่แพ้คนนอกท้องถิ่นหรือคนในหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่เข้ามาทำงานกับสังคมท้องถิ่น! การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดได้จากการมีส่วนร่วม-มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของในการสร้างความเจริญในชุมชนของพวกเขา ไม่มีใครต้องการทุนที่มุ่งกอบโกยใช้ช่องว่างของการลงทุนโดยไม่เห็นหัวคนในท้องถิ่น เชื่อเหอะ!!!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง
ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า