ระบบการศึกษาและปฏิบัติการทางการศึกษาวันนี้ กำลังปรับตัวอยู่ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในคลื่นการเปลี่ยนผ่านของภูมิทัศน์ใหม่ ที่ต้องพึ่งพาฐานความรู้แบบดิจิตอลที่โลดแล่นอยู่ในกระแสการสื่อสารที่เปิดกว้างไร้ขีดจำกัด!
การปรับตัว-ปรับระบบเพื่อเปลี่ยนแปลงจากโลกใบเก่าของการศึกษา ต้องการความแม่นยำรวดเร็วเท่าทันนวัตกรรมและมีพลังพอที่จะโลดแล่นในพื้นที่ที่เปิดกว้างในโลกใบใหม่ ซึ่งหากปรับตัวไม่ได้ก็ไม่พ้นที่จะถูกลบเลือน-ทำให้เป็นอื่นไปอย่างไม่อาจปฏิเสธได้!
ถ้าพิจารณาถึงความคิดฝังลึก mindsets และความเคลื่อนไหวหลักๆ ในปัจจุบันของระบบการศึกษาไทยนั้น ต้องบอกว่ายังน่าเป็นห่วง-น่าวิตก ด้วยเหตุว่าความคิด-สำนึก-และภาคปฏิบัติส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในวังวนของกระบวนระบบที่ส่งผ่านมาจากอดีต ที่ถูกตีกรอบบริหารโดยที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกยุคใหม่เลย! มีแต่วาทกรรมแสวงประโยชน์ที่ตื้นเขินเฉพาะหน้าเท่านั้นที่ดิ้นรนเอาตัวรอดไปวันๆ!
การสร้างการศึกษาใหม่หรือความพยายามรื้อสร้างการศึกษาปัจจุบันให้เชื่อมกับความก้าวหน้าใหม่ ที่มีพลวัตเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว-รุนแรงในคลื่นความเคลื่อนไหวของโลกใบใหม่ จึงกลายเป็นเรื่องของการเผชิญภัยที่หนักหนาสาหัสมากทีเดียว!!!
การผูกโยง 3 หล่อหลอมกล่อมเกลามายาวนานของระบบการศึกษากับอำนาจบริหาร ที่มีกฎหมายและระบบระเบียบราชการเป็นเงื่อนปมกำกับกดทับไว้ ทำให้การศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาไม่สนใจความก้าวหน้า-การประดิษฐ์คิดสร้างนวัตกรรมใดๆ เพียงมุ่งสนองอำนาจ-วิ่งหาช่องทางเอาตัวรอดและเติบโตไปตามสายอำนาจก็ถือว่าโอเคแล้ว!!! นี่คือค่านิยม-ความเชื่อที่ฝังมายาวนานจนกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานภายใต้ระบบรัฐราชการ!
การศึกษาและการพัฒนาตัวในระบบการศึกษาตามมโนคติแบบที่ถือปฏิบัติสืบกันมา จึงเน้นการสร้างตัวตนและการใช้วุฒิการศึกษามายกระดับฐานะ-อำนาจตัวเองเป็นสำคัญ ไม่เน้นการเรียนรู้-ตื่นตัว-ค้นคว้า-ไขว่คว้า-รับผิดชอบต่อการสร้างคนและความก้าวหน้าใหม่! นี่คือทัศนคติที่ทำให้การศึกษาตัดขาด-ไม่ปฏิสัมพันธ์กับความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นจริง การบริหารจัดการและการสร้างความตระหนักของบุคลากรทางการศึกษาจึงถูกฝังอยู่ในภูมิทัศน์เก่าๆ เดิมๆ ที่หยุดนิ่ง ให้ความสนใจกับอำนาจและการสั่งการ มากกว่ามุ่งปรับตัวเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ไปกับโลกแวดล้อม จะตื่นบ้างก็เฉพาะแต่ส่วนที่มีผลกระทบกับสถานภาพแบบใดแบบหนึ่งของตนเท่านั้น นี่คือความน่าวิตกที่เป็นวิบากกรรมอันน่าเวทนาของผู้คนในระบบการศึกษา!
ขณะเดียวกัน วิชาการที่ไม่อาจฝ่ากรอบความคิด-ระบบระเบียบที่กำกับกดทับอยู่ก็กลายเป็นความป่วยไข้ ด้วยเหตุว่าการเติบโตของวิชาการมักเป็นความเคลื่อนไหวเติบโตตามเส้นทางอำนาจและพวกพ้อง ที่ไม่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าอย่างเป็นจริง! เมื่อวิชาการต้องนำลงสู่ภาคปฏิบัติ-เผชิญกับความเปลี่ยนแปลง-ความก้าวหน้าที่ต้องอาศัยความรู้นวัตกรรมและทักษะที่จริง ก็ส่งผลให้โลกของวิชาการก้าวไม่ข้าม-ไปต่อไม่ได้-ปรับตัวไม่ทัน ขาดความเข้าใจแก่นแกนของวิธีคิด-กลไกปฏิบัติที่ปฏิสัมพันธ์กันในกระบวนระบบที่โยงกับโลกแวดล้อม-ความก้าวหน้าในโลกที่เป็นจริง! เมื่อวิชาการฝ่าข้ามไปไม่ได้ ก็ต้องเกาะกันอยู่ในโลกเก่าๆ ด้วยกันจนค่อยๆ ผุพัง-สึกกร่อนไป หรือไม่ก็ป่วยไข้-ค่อยๆ ถูกกลืนหายไปในที่สุด นี่คือวิบากกรรมของวิชาการไทย!
และถ้าพูดถึงเรื่อง “ความอยู่รอด” กับ “ความก้าวหน้า” ของการศึกษา ในความเป็นจริงจะพบว่าการบริหารจัดการการศึกษาเชิงสถาบันยังสับสนอยู่มาก สถาบันการศึกษาที่กำลังปรับตัวคงต้องพิจารณาตระหนัก-แยกแยะให้ชัดระหว่างความอยู่รอด ที่อาศัยมรดกชื่อเสียงเก่าๆ กับความก้าวหน้าที่เป็นจริง เพราะสองเรื่องนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ด้วยว่าการอยู่รอดโดยอาศัยมรดกหรือชื่อเสียงเก่าๆ ที่ทำให้พยุงตัวอยู่รอดได้วันนี้อาจจะเป็นเพียงการอยู่รอดที่ไร้อนาคต! แต่การปรับตัวสร้างความก้าวหน้านั้น เป็นมิติที่เชื่อมโยงกับการมีอนาคตและสร้างการอยู่รอดได้จริง! ซึ่งโดยนัยนี้ความอยู่รอดอาจไม่ชี้บอกถึงความมีอนาคต! แต่การสร้างความก้าวหน้าของสถาบันและระบบการศึกษาขึ้นต่างหากจะเป็นคุณค่า-มูลค่าที่สร้างอนาคตและสามารถต่อยอดสร้างความมั่นคงขึ้นจริงได้ นี่คือข้อสังเกตที่ผู้บริหาร-บุคลากรทางการศึกษา-และสถาบันการศึกษาต้องคิดให้กระจ่างชัด!
เมื่อพิจารณาถึงผู้คนหลายฝ่าย-หลายกลุ่ม-และหน่วยงานที่กำลังปลุกปล้ำ ปรับสร้างความก้าวหน้าอยู่ในระบบการศึกษาไทย รวมถึงการปรับตัวของหลายสถาบันการศึกษาที่กำลังรับมือกับความก้าวหน้ายุคใหม่ ล้วนน่าเห็นใจยิ่งว่าต้องผจญภัยอย่างมาก ในการที่จะฝ่าขวากหนามระบบระเบียบที่ปิดกั้นกดทับอยู่อย่างมากมหาศาลในระบบการศึกษาไทย! แต่สภาวะที่อาจจะช่วยผ่อนปรนให้หนักเป็นเบาได้ ก็เกิดจากภูมิทัศน์ใหม่-แลนด์สเคปใหม่ของระบบโครงสร้างการศึกษายุคดิจิทัล ที่โลกของการศึกษายุคเก่าปรับตัวไม่ได้หากขาดความเข้าใจ-ขาดวิธีคิด-ไม่สามารถทิ้งความคิดฝังลึก (mindsets) แบบเก่าได้ ฯลฯ ซึ่งการละวางโลกเก่าไม่ได้-คิดใหม่ไม่ได้ก็จะส่งผลให้การปรับตัว-ปรับความคิด-และเคลื่อนไหวไปในภูมิทัศน์แบบใหม่ไม่ได้แน่ แม้จะมากความคิด-ความเห็น แต่ในทางปฏิบัติ-มีทางเลือกไม่มากนักในโลกของ Digital literacy ที่ต้องการความรู้และทักษะ ต้องปรับความคิด-ความรู้ยกระดับทักษะให้หลุดออกจากโลกใบเก่าขึ้นอย่างเกือบจะสิ้นเชิง แบบราวกับว่าเป็นโลกคนละใบกันเลยทีเดียว นี่คือสภาพที่ผู้คนมากมายกำลังต้องผจญภัยอยู่ในระบบการศึกษาไทยวันนี้!!!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า
วิปริตธรรม .. ในสังคม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง
ธุรกิจคาสิโนถูกกฎหมาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกี่ยวพันผู้มีอำนาจทางการเมือง
เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบของคาสิโนถูกกฎหมายต่อการฆาตกรรมและการข่มขืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้