7 ความเคลื่อนไหวการพัฒนาบุคลากรรับอุตสาหกรรม 4.0 ใน EEC

การพัฒนาบุคลากรยุคใหม่เพื่อยกระดับประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นภารกิจสำคัญของ EEC HDC หรือสำนักพัฒนาบุคลากรและการศึกษา สกพอ. ซึ่งสร้างงานที่ตอบโจทย์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมขึ้นบนฐานความเคลื่อนไหว 7 แกนสำคัญคือ

แกนที่ 1 ปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการจริงของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมที่ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม 4.0 มุ่งเปลี่ยนการศึกษาและการฝึกอบรมที่เคยชินแบบเดิมๆ ที่มีสถาบันการศึกษา-ครู-เป็นแกนในการจัดการศึกษา-พัฒนาบุคลากร สู่การยึดเอาความต้องการจริงด้านทักษะสมรรถนะใหม่-ที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ เป็นแกน เพื่อจัดการศึกษาพัฒนาบุคลากรทั้งเนื้อหาหลักสูตร-กระบวนการ-และผลลัพธ์ ให้สนองตอบความต้องการจริง

แกนที่ 2 ปรับเปลี่ยนการทำงานแบบเฉพาะกลุ่ม-เฉพาะตัวสู่ระบบงานเชื่อมประสานกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือ-พัฒนาบุคลากร ปรับกระบวนการทำงานแบบปิดตัวเอง แก่งแย่ง แข่งขัน ช่วงชิงกันระหว่างสถานศึกษา-ระหว่างคณะ/หน่วยงานสู่การทำงานในรูปแบบเครือข่าย เชื่อมประสานกันขึ้นเป็นภาพจิ๊กซอว์ความร่วมมือ-สร้างความสำเร็จร่วมกันของระบบการศึกษา-สถาบันการศึกษาในทุกเขตพื้นที่ โดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

แกนที่ 3 ปรับสร้างบุคลากรและระบบการศึกษาสู่การจัดการแบบอีอีซีโมเดล A และ B เพื่อตอบโจทย์ความแม่นตรงตามความต้องการบุคลากรในการยกระดับการพัฒนาประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาและการบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่สำนักพัฒนาบุคลากรและการศึกษา สกพอ. หรือ EEC HDC รับผิดชอบ โดยได้พัฒนารูปแบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่ต้องการบุคลากร-ต้องการปรับทักษะ-สมรรถนะใหม่ ตามแนวทางงานของอุตสาหกรรม 4.0

โดย EEC HDC จัดระบบการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาออกเป็น 2 รูปแบบคือ การศึกษา EEC โมเดลแบบ A และ B ส่วนแรกแบบ A เป็นการจัดการศึกษา-การพัฒนาคนแบบเต็มรูปแบบหลักสูตร ปวช. ปวส. และปริญญาตรี โดยจัดให้ผู้ประกอบการกับสถานศึกษาจับมือกันร่วมคัดเลือกผู้เรียนและออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและในสถานประกอบการจริงแบบ 50/50 ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้จากการทำงานจริงและห้องเรียนควบคู่กันไป โดยผู้ประกอบการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และสามารถนำค่าใช้จ่ายไปรับการยกเว้นภาษี-ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่สถานประกอบการนั้นๆ ได้รับ เมื่อจบการศึกษาระดับต่างๆ ก็ได้งานทำทันที สถานประกอบการก็จะได้บุคลากรที่ทำงานตรงตามสายงานตามที่จัดการศึกษาฝึกอบรมไว้

เป็นแนวทางการตอบโจทย์ตรงตามความต้องการจริงในทุกระดับชั้น ทั้งระดับ ปวช. ปวส. หรือปริญญาตรี เหมือนกับที่เยอรมัน ญี่ปุ่น และหลายๆ ประเทศที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมทำสำเร็จมาแล้ว ส่วนอีอีซีโมเดลแบบ B เป็นการฝึกอบรมระยะสั้นที่สถานประกอบการจะทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ร่วมกันออกแบบหลักสูตรเพื่อจัดฝึกอบรมยกระดับสมรรถนะทักษะแบบระยะสั้นให้กลุ่มบุคลากรกลุ่มต่างๆ ให้ตรงกับการปรับฐานการผลิต-การบริการของสถานประกอบการต่างๆ เป็นการฝึกอบรมที่ตรงตามความต้องการจริง-นำไปพัฒนา คุณภาพการทำงานยุคใหม่ได้จริง โดย EEC สนับสนุนค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมระยะสั้นในหลักสูตรที่ผ่านการรับรองให้ร้อยละ 50 ผู้ประกอบการจ่ายร้อยละ 50 และสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนที่ออกไปนั้นไปขอยกเว้นภาษีได้ 2.5 เท่า ซึ่งช่วยให้สถานประกอบการยกระดับขับเคลื่อนสร้างการแข็งขันยุคใหม่ได้อย่างเป็นจริงจากระบบการจัดการนี้

แกนที่ 4 จัดกระบวนการทำงานที่สนับสนุนให้สถานประกอบการเชื่อมประสานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นและผู้นำชุมชน เพื่อเปิดโอกาสช่วยยกระดับความรู้ความเข้าใจให้กับผู้คนในท้องถิ่น EEC HDC ให้ได้ดำเนินงานพัฒนาเชื่อมประสานกับท้องถิ่น ยกระดับความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาประเทศ ผ่านการบริหารจัดการงานพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC และการจัดกิจกรรมเชื่อมประสานสร้างความเข้าใจสนับสนุนกันและกัน ระหว่างท้องถิ่นกับการพัฒนาส่วนอื่นๆ ทั้งสถานศึกษาและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมสร้างความคิด-ความเข้าใจ-ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง หลากหลายรูปแบบ  

แกนที่ 5 สร้างเวทีความร่วมมือ-ปรึกษาหารือ ระหว่างผู้ประกอบการ-สถาบันการศึกษา-หน่วยงานที่มีส่วนร่วมผลิตบุคลากร เปิดเวทีประสานงานกลางในการพัฒนาบุคลากร-ปรับสร้างการศึกษายุคใหม่ ประสานการพัฒนาบุคลากรกับนิคมอุตสาหกรรมที่พร้อมจะทำงานกับสถาบันการศึกษา-ตามต้องการจริง ยกระดับการศึกษาให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

แกนที่ 6 สร้างความร่วมมือแบบยกพื้นที่-ยกนิคม ผลิตบุคลากรร่วมกันระหว่างนิคมอุตสาหกรรมกับสถานศึกษา-ปรับพื้นฐานภาคปฏิบัติสู่แพลตฟอร์ม 4.0 ทั้งภาคการผลิต-ภาคบริการผ่านศูนย์เครือข่ายความเชี่ยวชาญที่ EEC สนับสนุนขึ้นในสถานศึกษาต่างๆ

แกนที่ 7 พัฒนาความรู้ความเข้าใจสู่วงกว้าง-ผ่านกระทรวงอุดมศึกษา/สํานักงานการอาชีวศึกษา ส่งเสริมปรับการศึกษาทิศทางใหม่ให้ประเทศ ร่วมมือกับ CIWIE และกระทรวงศึกษา กระทรวงแรงงาน ฯลฯ จัดปรับการศึกษา-ผลิตสร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์ความต้องการจริง (demand driven) ให้ประเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาวันนี้สู่อนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .