เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการจัดเวทีเสวนาออนไลน์เรื่องการติดตามสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน 2 ปี โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 65 คน ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายหลังจากที่ประเทศไทยประกาศรับหลักการการชี้แนะด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และได้ประกาศแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน หรือ NAP ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา
ศ.สุรยา เดวา ประธานคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Working Group on Business and Human Rights) กล่าวว่า แผนปฏิบัติการว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน หรือ National Action Plan หรือ NAP นั้นเป็นการทำงานร่วมของคณะ Working Group ของสหประชาชาติ โดยรัฐบาลจำเป็นต้องมีความกระตือรือร้นการเตรียมความพร้อมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยากได้ยินว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยและการผลักดันแผน NAP เป็นไปอย่างไรบ้าง กระบวนการเตรียมความพร้อมของ NAP จำเป็นต้องมีการปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน เน้นกระบวนมากกว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ทั้งด้านสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ศ.สุรยากล่าวว่า ส่วนผลลัพธ์นั้นต้องมีข้อมูลทั้งในประเทศและนอกประเทศ ด้านบทบาทของภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิ์ ก็มีความสำคัญในการติดตามกระบวนการเตรียมการ และต้องมีผู้มีส่วนได้เสียที่มาจากหลายภาคส่วนร่วมกัน เราได้มีการแต่งตั้งคณะติดตามที่มีความอิสระ ทั้งนี้คณะทำงานฯ เชื่อว่าแผน NAP ไม่สมบูรณ์แบบแน่ๆ หลังจาก 2 ปี แต่รัฐบาลควรจะทบทวนแผนและเป็นโอกาสที่ดีในอนาคตว่าจะต้องทำอย่างไร และต้องใช้เวลาและมีขั้นตอนสำคัญ โดยจะต้องมีการปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมจากทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชุมชน และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนจากนโยบายบนกระดาษไปเป็นการปฏิบัติ
หลังจากนั้นมีตัวแทนจากชุมชนต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ สถานการณ์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในรอบปี 2564 และเสนอแนะต่อทิศทางในอนาคต
นายภาคภูมิ แสวงคำ นายกสมาคมพราว (Proud Association) กล่าวว่า ความท้าทายด้านแรงงานข้ามชาติและการเคลื่อนย้ายช่วงการระบาดของโควิด ทำให้แรงงานข้ามชาติถูกจำกัดสิทธิ์มากกว่าปกติ ห้ามเดินทางและต้องมีชั่วโมงการทำงานทดแทนแรงงานที่ติดโควิดมากขึ้น การเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐต่างๆ ทั้งการรักษาและการเข้าถึงการฉีดวัคซีน การคัดกรอง ซึ่งเป็นภาษาไทย
แม้ตอนนี้รัฐบาลผ่อนคลายให้กับแรงงานที่อยู่นอกระบบมากขึ้นแล้ว แต่ประเด็นปัญหาบางอย่างก็เป็นเรื่องความซับซ้อนมาก แม้รัฐบาลไทยจะผ่อนผันกฎหมายควบคุมการเข้าเมือง แต่ในความเป็นจริงคือยังมีการจับกุมและเรียกเก็บเงินเพื่อแลกกับการปล่อยตัว
นางอินทา มะนุการ เลขาสมาพันธ์คนจันท์ต้านเหมืองทอง ตัวแทนจากประเด็นที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สถานการณ์โควิดส่งผลสะเทือนทั้งเรื่องเศรษฐกิจและสุขภาพมาก แต่กรณีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็กลายเป็นข้ออ้างในการควบคุมการเคลื่อนไหวของชุมชนในการคัดค้านโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งโครงการของเอกชนและรัฐ ซึ่งมีการใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ชาวบ้านบางพื้นที่ถือเป็นอุปสรรคสูงมาก
การลุกขึ้นใช้สิทธิของบุคคลก็ยังถูกคุกคามและดำเนินคดี ปัญหาการเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน การคัดลอกสำเนาเอกสารต้องมีค่าใช้จ่ายสูงหลักหมื่น เช่น กรณีผันน้ำยวม-น้ำโขง กลายเป็นภาระของผู้ได้รับผลกระทบต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด กระบวนการทำอีไอเอหรือเอสไอเอยังไม่เป็นอิสระ การพยายามแยกโครงการใหญ่ให้เป็นโครงการย่อย เจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคส่วนประชาชน
นายมุหัมหมัด ล่าเมาะ เลขาฯ กลุ่มรักษ์ถิ่นเกิด ตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า แม้จะมีการประกาศแผน NAP มา 2 ปีแล้ว แต่นักปกป้องสิทธิ์ก็ยังได้รับผลกระทบมากทั้งการข่มขู่ รวมถึงการฟ้องปิดปากและฟ้องร้องดำเนินคดี การพยายามใช้กลไกไกล่เกลี่ย แต่ก็พยายามจะให้นักสิทธิมนุษยชนยอมรับในสิ่งที่ผิดหลักการการปกป้อง
ปัจจุบันสื่อมวลชนถูกดำเนินคดีฟ้องปิดปากเพิ่มขึ้น จุดเริ่มปัญหาทั้งหมดคือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ไม่จริงจัง มาตรฐานการทำอีไอเอไม่เหมือนกัน จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้อง และเมื่อกระบวนการยุติธรรมเข้าสู่ชั้นศาลแล้ว ต้องมีการตรวจสอบและลงพื้นที่ให้เห็นปัญหารอบด้านจริง ไม่ควรดูดเอกสารอย่างเดียว
ขณะที่ น.ส.กรกนก วัฒนภูมิ สมาชิกเครือข่ายติดตามการลงทุนและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน (ETO-Watchs Coalition) กล่าวว่า พบปัญหาการเข้าถึงข้อมูลโครงการผู้พัฒนาโครงการต่างๆ ทั้งบริษัทและธนาคาร และกลไกการเยียวยาหากการลงทุนนั้นสร้างผลกระทบต่อชุมชนจะเป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง กรณีการชาวบ้านที่พม่าฟ้องร้องบริษัทไทยที่ลงทุนในเหมืองของพม่า และชาวบ้านชนะคดีความ แต่ตามหาตัวบริษัทที่จะรับผิดชอบเยียวยาไม่ได้ แต่บริษัทนั้นกลับมาฟ้องปิดปากคดีนักข่าวในประเทศไทย และความรับผิดชอบของบริษัทไทย กรณีอีไอเอข้ามพรมแดน ยังเป็นข้อกังวลต่อมาตรฐานการตรวจสอบ.
สำนักข่าวชายขอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?
การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก
ขบวนการแพทย์ชนบท กับรางวัลแมกไซไซ ปี 2024 ทิศทางพัฒนาระบบสุขภาพไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. คณะผู้แทน”ขบวนการแพทย์ชนบท” ได้เดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2024
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้