พรรค"พลังประชารัฐ"เป็นอีกหนึ่งพรรคการเมืองที่คาดหวังกับการเลือกตั้งส.ส.เขต กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งครั้งนี้พอสมควร หลังจากเคยเป็นแชมป์ส.ส.เขต กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ที่ครั้งนั้น ได้ส.ส.เขตมากที่สุดจากทุกพรรคการเมืองที่ส่งคนลงสมัคร คือ 12 คน
โดยหนึ่งในผู้สมัครส.ส.เขต กรุงเทพมหานคร พลังประชารัฐ ที่น่าสนใจมีชื่อของ "ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช"หรือที่เรียกกันว่า"ผู้กองมาร์ค"ที่ย้ายมาจากพรรคเพื่อไทยหลังอยู่มาร่วม 13 ปี เพื่อมาทำงานการเมืองกับพลังประชารัฐ และเลือกตั้งรอบนี้ ก็กลับมาลงสมัครส.ส.เขต กทม.พื้นที่เดิมคือ เขตบางซื่อ และเขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี) ซึ่งเคยลงมาแล้วในสังกัดพรรคเพื่อไทย ตอนปี 2562 โดยครั้งนั้นแพ้ผู้สมัครจากพลังประชารัฐไปแค่ 1,182 คะแนนเท่านั้น แต่มาวันนี้ ผู้กองมาร์ค เปลี่ยนพรรค-ย้ายขั้วมาลงพลังประชารัฐ ส่วนโอกาสจะชนะเลือกตั้ง เขามั่นใจว่ามีมากน้อยแค่ไหน ลองติดตามจากบทสัมภาษณ์ครั้งนี้
เราเริ่มต้นการพูดคุยโดยถามถึงว่า ตอนเลือกตั้งปี 2562 เคยลงสมัครส.ส.เขต กทม.เขตเดียวกันนี้แต่เป็นพรรคเพื่อไทย ทำไมการเลือกตั้งรอบนี้จึงย้ายมาพลังประชารัฐ มีเหตุผลอะไรในการเข้าพลังประชารัฐ “ร.ต.อ.วัฒนรักษ์”กล่าวตอบว่า ก่อนหน้านี้อยู่พรรคเพื่อไทย มา13 ปี เคยลงเลือกตั้งในเขตเดียวกันกับเลือกตั้งครั้งนี้ปี 2566 เพียงแต่บริบทต่างๆ ก็เปลี่ยนไป เช่นตอนเลือกตั้งปี 2557(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้โมฆะ) ก็เป็นแค่บางซื่อเขตเดียว แต่ปี 2562 เป็นบางซื่อ-ดุสิตและแขวงนครไชยศรี ส่วนครั้งนี้ที่มาอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ เพราะผมมีความรู้สึกว่า การที่ผมที่มีความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ได้มีโอกาสมานำเสนอนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมกับพลังประชารัฐ ทางหัวหน้าพรรค พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้ความมสำคัญ และหัวหน้าพรรคได้ถ่ายทอดไปยังกรรมการบริหารพรรคว่าอยากให้พรรคพลังประชารัฐ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะอยากให้อากาศสะอาด น้ำในคลอง-ชุมชนต่างๆ บริสุทธิ์ -อยากพัฒนาสัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธุ์ รวมถึงเรื่องที่ดินทำกิน
...หลายปีที่ผ่านมา ผมเห็นเลยว่าพลเอกประวิตร ทำงานเรื่องที่ดินทำกิน เรื่องสปก.4-01 โดยนำพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ เอาพื้นที่ซึ่งใช้ผิดประเภท เอากลับคืนไปให้ชาวบ้าน นำไปให้ชาวบ้านที่ต้องการทำไร่ทำนาที่ต้องการทำไร่ทำนา ได้มีโอกาสนำพื้นที่เหล่านั้นไปใช้งานจริงๆ ไม่ใช่เอาไปให้นายทุนทำรีสอร์ท เพื่อที่จะได้เป็นการเพิ่มที่ดินทำกินให้กับประชาชน
หลังจากผมเสนอนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ทางคณะกรรมการบริหารพรรค และคณะกรรมการร่างนโยบายพรรคก็ให้ความสนใจและได้นำหลายอย่างที่ผมเสนอมาบรรจุเป็นนโยบายของพรรค ผมก็มีความรู้สึกว่า พลังประชารัฐ คือพรรคการเมืองที่ตอบโจทย์ของเรา
-จากที่เคยมีประสบการณ์การเลือกตั้งปี 2562 มองว่าการเลือกตั้งรอบนี้แตกต่างจากปี 2562 อย่างไร เช่นกติกาเลือกตั้ง อะไรต่างๆ จะมีผลกระทบอย่างไร ?
ในเรื่องของการแบ่งเขตเลือกตั้ง เมื่อตอนปี 2562 คือ บางซื่อ-ดุสิต และแขวงนครไชยศรี ในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังคงเป็นเขตและแขวงแบบตอนเลือกตั้งปี 2562 อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ แม้เขตเลือกตั้งจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระบบการเลือกตั้งได้เปลี่ยนจากบัตรใบเดียวเป็นบัตรสองใบ โดยการเลือกตั้งปี2562 ที่ใช้บัตรใบเดียว สมมุติ หากประชาชนรักพรรคการเมืองใด จะชอบผู้สมัครส.ส.คนไหน ก็เลือกได้แค่ใบเดียว แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ปี 2566 ใช้บัตรสองใบ แยกเป็นบัตรลงคะแนนระบบเขตกับบัตรลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ บางคนอาจเลือกพรรคไหน ก็เลือกพรรคการเมืองดังกล่าว ก็แน่นอนว่า เขาชอบผู้สมัครหรืออดีตผู้แทนคนหนึ่ง เขาก็จะเลือกคนดังกล่าว แต่สำหรับผม ก็อยากแนะนำว่า หากชอบผู้สมัครคนไหน และรักพรรคการเมืองใด ก็ขอให้เลือกทั้งคนและพรรค แต่ก็เข้าใจดี เพราะบางคนก็อาจแบ่งบ้าง เช่นระบบเขตก็เลือกผู้สมัครคนหนึ่ง แต่ในบัตรปาร์ตี้ลิสต์ ก็อาจเลือกอีกพรรคการเมืองหนึ่งที่ไม่ใช่พรรคของผู้สมัคร
หากถามว่าระบบดังกล่าวที่เปลี่ยนไป มีเอฟเฟกต์อะไร หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าอาจมีในบางพื้นที่ แต่สำหรับตัวผมเอง ผมก็มีความเชื่อมั่นว่า ในเมื่อตัวผมเองลงพื้นที่ในเขตบางซื่อ-ดุสิต โดยเฉพาะบางซื่อ ลงพื้นที่มา 13 ปีแล้ว และผมก็เกิดและโตในเขตบางซื่อด้วย ผมเป็นคนพื้นที่เลย หากจะให้ผมไปลงเขตอื่น ก็ไม่อยากไป เพราะเกิดที่นี่ โตที่นี่ และหากถามว่าผมจะไปลงระบบปาร์ตี้ลิสต์หรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามีผู้ใหญ่เสนอเหมือนกัน เพราะเห็นว่าเข้าไปร่วมทำนโยบาย และอยากให้ผมเป็นตัวแทนพรรคออกไปร่วมเวทีดีเบตต่างๆ ช่วงหาเสียง ซึ่งบริบทดังกล่าว อาจจะเหมาะสำหรับคนที่ลงระบบบัญชีรายชื่อเพราะไม่ต้องลงพื้นที่ แต่สำหรับผม เห็นว่าผมเกิดและเติบโตในพื้นที่บางซื่อ ผมก็อยากพัฒนาเขตบางซื่อของผม ให้เป็นบ้านน่าอยู่สำหรับทุกคน คือหากประชาชนให้โอกาสผมได้เข้าไปเป็นส.ส. ผมก็ต้องทำงานให้ประชาชนให้ดีพอๆกัน เราต้องพัฒนาในทุกพื้นที่ ทุกเขตที่เราไป ทุกเขตที่เราพักอาศัย ทุกเขตที่เขาเลือกเรามาเป็นผู้แทนราษฎร
สำหรับระบบการเลือกตั้งที่เปลี่ยนจากใบเดียวเป็นสองบัตร ต้องบอกแบบนี้ว่า สำหรับคนกรุงเทพฯ ครึ่งหนึ่งเขาเลือกเพราะกระแสด้วย ที่บริบทอาจไม่เหมือนกับคนภาคอื่นๆ จังหวัดอื่น คือครึ่งหนึ่งเขาอาจเลือกเพราะกระแส ครั้งนี้ที่ใช้ระบบบัตรสองใบ เป็นการพิสูจน์ผู้สมัครที่ลงสมัครในกทม. ที่มี 50 เขต มีส.ส. 33 คน คนที่จะได้รับเลือก 33 คน การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นข้อพิสูจน์ว่า ตัวของเขา มีคนรักจริงๆ เท่าไหร่ เพราะหากคะแนนของบัตรในระบบบัญชีรายชื่อมากกว่าคะแนนที่ผู้สมัครได้รับในการเลือกตั้ง ก็แสดงว่า คนในพื้นที่อาจจะรักเขาน้อยกว่าพรรคการเมืองต้นสังกัด ก็เป็นเครื่องพิสูจน์และเป็นการบ้านของทุกคนที่ลงเลือกตั้งว่า เราจะต้องไปอธิบายให้ประชาชนเข้าใจทั้งนโยบายพรรค และอธิบายตัวตนบุคลิกของคนที่ลงสมัครต่อประชาชน เพราะแต่ละคนก็จะมีบุคลิกที่แตกต่างกันไป เช่นการไปบอกกับประชาชนว่าได้เข้ามาอาสาทำงานให้กับประชาชนอย่างไร
อย่างตัวผมเอง เปิดสำนักงานส่วนตัว อยู่ที่ตรงวงศ์สว่าง ผมเปิดมา 13 ปีผมไม่เคยปิดสำนักงานแม้แต่วันเดียว บางคนมาหาเสียงในพื้นที่ 2-3 เดือน พอหาเสียงเสร็จ ก็ปิดสำนักงานไป แต่ผมเปิดสำนักงานตลอด แสดงความจริงใจมาตลอด 13 ปี สำนักงานในพื้นที่ไม่เคยปิด แม้ไม่ได้เป็นส.ส.แต่ก็ยังเปิดสำนักงานเพื่อคอยช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ที่ผ่านมาก็เป็นผู้ประสาน ทำมาเยอะเช่นการขยายท่อระบายน้ำ ทำทางเดินใหม่ ถนนหนทางก็เทใหม่ ช่วยติดกล้องซีซีทีวี เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเรามีความตั้งใจจริงๆ
ถามย้ำว่า การย้ายจากเพื่อไทยมาพลงประชารัฐ มีผลทางการเมืองอะไรหรือไม่ในการหาเสียงเลือกตั้ง”ร.ต.อ.วัฒนรักษ์”ยอมรับว่า ผลก็มีแน่นอนเนื่องจากว่าผมย้ายมาจากพรรคการเมืองคนละขั้วกันเลย ไม่ใช่พรรคที่อยู่ในขั้วเดียวกัน ก็ทำให้มีประชาชนถามมาค่อนข้างเยอะ ผมก็อธิบายให้เขาฟังว่านโยบายเฟสหนึ่งของพลังประชารัฐ คือเราก้าวข้ามความขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งที่มีอยู่ มันดึงให้ประเทศไทยล้าหลัง อย่างในการลงพื้นที่ไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็มีประชาชนพูดกับผมว่า "ผู้กองประเทศเราพัฒนาขึ้น" ผมก็บอกว่า"ใช่ครับ เราพัฒนาขึ้น แต่จีดีพีเราเพิ่มา 2-3 เปอร์เซนต์ต่อปี ถือว่าเรายังพัฒนาช้า ต้องมีการพัฒนาขึ้นอีก "
ดังนั้น หากยังมีความขัดแย้งอยู่ มันก็จะดึงการพัฒนาเอาไว้ ในเฟสที่หนึ่ง สิ่งที่หัวหน้าพรรค พลเอกประวิตรบอกว่าต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง เราผ่านจุดนั้นมาแล้ว เมื่อตอนนี้เข้าสู่การเลือกตั้งหลังมีการยุบสภา ก็จะเข้าสู่เฟสสอง คือทำทันที ที่พลังประชารัฐจะมีนโยบายอีกหลายเรื่องที่จะออกมา เช่นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องเศรษฐกิจ และยังจะมีอีกหลายนโยบายที่จะออกตามมา อย่างเรื่องของกลุ่มเปราะบางที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการประชารัฐ ที่มีร่วม 14 ล้านกว่าคน พรรคก็มีนโยบายเพิ่มเงินช่วยเหลือเป็นเดือนละ 700 บาท หรือนโยบายเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุ ที่ให้แบบเป็นขั้นบันได คือ 60 ปี เราให้ 3,000 บาท -อายุ 70 ปีเราให้ 4,000 บาท และ 80 ปีขึ้นไปเราให้ 5,000 บาท โดยเหตุที่ให้แบบเป็นขั้นบันไดก็เพราะเวลาที่ประชาชนผู้สูงวัยมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการที่ใช้เงินก็มากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการต้องไปหาแพทย์ ต้องมีค่าเดินทางต่างๆ และเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ การช่วยเหลือตัวเองก็น้อยลงตามไปด้วย พรรคก็เห็นความสำคัญในการต้องเพิ่มเงินดังกล่าว เป็นต้น
แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5
กับแนวทาง ปักกิ่งโมเดล
"ร.ต.อ.วัฒนรักษ์-ผู้กองมาร์ค"ยังกล่าวถึงนโยบายกทม.ของพลังประชารัฐ ว่าสำหรับบริบทของพื้นที่กทม.ด้วยการที่ผมเป็นนักสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่เราจะแก้ ณ วันนี้เลยคือปัญหา ฝุ่น PM 2.5เพราะเป็นปัญหาที่ทุกคนเห็นแล้วว่าเราต้องสูดฝุ่นพิษเข้าไป โดยฝุ่นปกติจะมาในช่วงหน้าหนาว ช่วงอากาศปิด นั่นหมายถึงว่า ในช่วง 4-5 เดือนในรอบ 12 เดือน เราจะเจอกับฝุ่นพิษ PM 2.5
พรรคมีนโยบายการแก้ไขปัญหาทั้งแบบต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ โดยในเบื้องต้น พื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝุ่นเยอะ โดยในกทม.ก็จะมีประมาณ28-29 จุด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในจุดเดิมๆ เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีอากาศปิด การระบายอากาศจึงยาก ซึ่งเกิดจากเรื่องของผังเมือง โดยพื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝุ่นพิษในบริเวณเมือง สิ่งแรกที่เราคิดและอยากทำ เราใช้ ปักกิ่งโมเดล Beijing’s Model คือเราจะตั้งเครื่องฟอกอากาศยักษ์บริเวณตรงนั้นเพื่อดูดพวกฝุ่นพิษ ควันพิษต่างๆ ออกไป
ส่วนนโบบายกลางน้ำ นโยบายของพลังประชารัฐที่ทำมาสองปีแล้วก็คือสนับสนุนเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle เช่นการให้ภาษีนำเข้าศูนย์เปอร์เซนต์ โดยโครงการนี้อยู่ที่สามปี เรามีนโยบายจะต่อให้อีกสามปี เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนไทยใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นเพราะเมื่อไม่มีภาษีนำเข้า ก็ทำให้รถไฟฟ้าในประเทศเราราคาถาถือว่ายังค่อนข้างถูก พอคนใช้รถอีวีมากขึ้น ก็ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็ลดลง เพราะคำนวณกันมาแล้วว่า หกสิบเปอร์เซนต์ของฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์เผาไหม้แบบสันดาปภายในที่ปล่อยควันขาวควันดำ เราต้องมีการตรวจจับ จากปัจจุบันเป็นแค่กองกำกับการของตำรวจ เราอาจมาดูว่าจะขยายให้เป็นระดับกองบังคับการหรือไม่ เพื่อให้ครอบคลุมากขึ้น โดยรถยนต์ที่ปล่อยควันเกินมาตรฐาน เราจะให้มีสายด่วน และมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเพียงพอ ที่อาจต้องทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานครในการตรวจจับแบบจริงจัง และให้มีการปรับสูงๆ เพราะเราไม่ต้องการให้มีการปล่อยควันพิษ
อีกทั้ง เรามีนโยบายเพิ่มจุดชาร์จรถอีวี เพราะหากมีคนใช้รถกัน แต่ไม่มีที่ชาร์จ ก็ทำให้เดินทางไม่ได้ หากจะมาคอยหวังพึ่งบริษัทเอกชนที่หนึ่งปีอาจเพิ่มจุดชาร์จรถอีวีแค่ปีละสองร้อยจุด หรือสามร้อยจุด ที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐ จะเป็นผู้สนับสนุนหลักเพื่อผลักดันให้มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งกรุงเทพและทั่วประเทศเพื่อให้ครอบคลุม แต่แน่นอนว่ากรุงเทพฯและปริมณฑลต้องเพิ่มมากที่สุด เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหาฝุ่นพิษมากที่สุด สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นต้องแก้ไขทันที
นอกจากนี้ในส่วนของรถเมล์ ที่คำนวณมาแล้ว พบว่ารถเมล์ที่วิ่งในปัจจุบันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณสิบเปอร์เซนต์ เรามีนโยบายว่าเราจะให้มีรถเมล์ไฟฟ้า อย่างน้อยภายในสี่ปีหลังจากนี้ให้มีวิ่งประมาณหนึ่งหมื่นคัน เพื่อจะได้ลดรถเมล์เก่าๆที่ปล่อยควันพิษ โดยจะต้องให้มีรถเมล์ไฟฟ้าออกมาวิ่งรับคนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการทำรถเมล์ไฟฟ้า เรามี Know-how ที่ปัจจุบันก็สามารถเป็นผู้ประกอบรถเมล์ไฟฟ้าได้ ก็เป็นการสร้างรายได้และลดมลพิษ
“ร.ต.อ.วัฒนรักษ์-ผู้สมัครส.ส.เขต กทม.พลังประชารัฐ”ยังกล่าวถึงจุดแข็งของพลังประชารัฐในสนามเลือกตั้งกทม.และการชูพลเอกประวิตรเป็นแคนดิเดตนายกฯว่าหัวหน้าพรรคหรือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ถือเป็น symbolic ตัวของนายกรัฐมนตรีอาจไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง เพราะคงไม่มีคนไหนเก่งได้ทุกเรื่อง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง ความมั่นคง ในส่วนของพลเอกประวิตร ท่านเป็นคนใจดี เป็นมือประสาน สามารถประสานได้ทุกทางโดยเฉพาะทั้งห้าบริบทที่กล่าวข้างต้น จึงสามารถนำคนเก่งแต่ละด้านมา โดยปัจจุบันนี้เรามีคนเก่งครบทุกด้าน และเมื่อมีคนเก่งครบทุกด้านแล้ว หน้าที่ของท่านก็คงเป็นเรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งท่านเป็นมือประสาน โดยตรงจุดนี้ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่เชื่อใจว่าพลเอกประวิตรสามารถประสานได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน พรรคการเมือง เราไม่มีความขัดแย้งกับใคร และตอนนี้เราพร้อมที่จะทำทันที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง โดยเฉพาะเน้นย้ำกับกลุ่มบุคคลระดับล่าง-กลาง
ส่วนเรื่องของสังคม พรรคก็มีนโยบายเยียวยามากมาย ที่จะคอยช่วยเหลือและพัฒนา เช่นการพัฒนาเรื่องของบัตรทองให้ดีขึ้น การเพิ่มเตียง-แพทย์เพื่อให้ประชาชนรอคิวน้อยลง ส่วนเรื่องการเมือง พลเอกประวิตรก็ถนัดอยู่แล้วในการไม่ให้มีความขัดแย้งในการให้ทุกคนร่วมจับมือกันเดินหน้าต่อไป
การที่พรรคพลังประชารัฐชูเรื่อง"ก้าวข้ามความขัดแย้ง"เพราะเราต้องการที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศจริงๆ เพราะหากทุกวันนี้เรายังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปจับมือกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งในการตั้งรัฐบาล เพราะเรื่องดังกล่าว ต้องดูหลังการเลือกตั้งว่าแต่ละพรรคการเมืองได้ส.ส.มากี่คน ถึงค่อยคุยกัน แต่ ณ วันนี้หากทุกคนยังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่ การบริหารประเทศก็จะทำได้ล่าช้า
อย่างตัวผมเอง ที่ผ่านมาพยายามผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมา 13 ปีก่อนหน้านี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลยุคไหนก็ไม่เคยผ่าน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ป่า หรือกฎหมายเกี่ยวกับช้างป่า ซึ่งกฎหมายบางฉบับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีการปรับปรุงพัฒนามา 30-40ปี ที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป แต่ยังกฎหมายฉบับเดิมๆ ดังนั้นบริบทของกฎหมายจึงควรเปลี่ยนตามให้ทันยุคสมัย ซึ่งผมก็เคยไปร่วมเป็นกรรมการยกร่างกฎหมายเสนอเข้าไปโดยมีผู้ใหญ่หลายคนร่วมกันพิจารณา โดยพบว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ระยะหลังผ่านในยุคคสช.เพราะว่าในยุครัฐบาลปกติ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใดที่เสนอเข้าไป ก็ไม่เคยผ่าน เพราะเสนอไป อีกฝั่งหนึ่งก็แย้งหมด ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่า การที่มีความขัดแย้ง ต้องยุติได้แล้วในประเทศไทย โดยหลังจากนี้ พลังประชารัฐ จะสื่อสารในการหาเสียงว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรไปบ้างแล้ว
-การเลือกตั้งปี 2562 พลังประชารัฐได้ส.ส.มากที่สุดในกทม. แต่ครั้งนั้นมีพลเอกประยุทธ์เป็นแคนดิเดตนายกฯ แต่ครั้งนี้ พลังประชารัฐ ไม่มีพลเอกประยุทธ์อยู่แล้ว ในฐานะเป็นผู้สมัครส.ส.เขต กทม.หนักใจหรือไม่ที่บริบทการเมืองของพลังประชารัฐวันนี้ไม่เหมือนปี 2562?
ผมว่า factor หลักที่มีผลกระทบ ก็แน่นอนว่า พลเอกประยุทธ์กับพลเอกประวิตร ทั้งลุงตู่และลุงป้อม อยู่ฝั่งเดียวกัน ก็แน่นอนว่า เมื่อทั้งสองท่านแยกพรรคออกไป คะแนนเสียงก็ต้องมีการแบ่งกันออกไปบ้าง บางท่่านที่รักลุงตู่ก็อาจเลือกลุงตู่ บางคนที่รักลุงป้อม ก็จะเลือกลุงป้อม แต่ครั้งนี้ มันคือความสวยงามของประชาธิปไตย และเป็นหน้าที่ของผู้สมัครส.ส.แต่ละเขต ที่ต้องไปอธิบายให้คนเข้าใจ และต้องบอกว่าเหตุใดถึงควรเลือกพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งโดยส่วนตัวผม ไม่มีปัญหาอะไร เพราะผมก็จะบอกว่านี้คือความสวยงามของประชาธิปไตย ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าเราอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ เขาก็จะเข้าใจในบริบทนี้
-เรื่องการตัดคะแนนกันเองของพรรคการเมืองแต่ละขั้วจะมีผลต่อการเลือกตั้งในสนามกทม.หรือไม่ เพราะอย่างฝั่งซีกรัฐบาลอาจมีเยอะกว่าเพราะมีทั้ง พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ส่วนฝ่ายค้านมี เพื่อไทย ก้าวไกล หรืออาจจะมีไทยสร้างไทยเข้ามาด้วย ?
ต้องแบ่งแบบนี้ครับ หากเราแบ่งพื้นที่เป็นกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล หรือในหัวเมืองใหญ่ของแต่ละจังหวัด อันนี้จะแบ่งได้อย่างหนึ่ง แต่หากเป็นต่างจังหวัดโดยทั่วไป ก็จะแบ่งได้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งการที่เราจะไปรณรงค์นโยบายของพรรคให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ เราก็มีสังคมเมืองก็เป็นแบบหนึ่ง สังคมชนบทก็อีกลักษณะหนึ่ง โดยเฉพาะในบริบทของกรุงเทพมหานคร ต้องบอกว่า พรรคที่เราแข่งกัน แต่เราไม่ได้ทะเลาะกันทางการเมืองแต่อย่างใด ในกรุงเทพฯสำหรับเราก็คือ รวมไทยสร้างชาติ กับพลังประชารัฐ ก็คงมีคะแนนในฝั่งของเรา อันนี้ก็จะแบ่งคะแนนกันแน่นอนชัดเจน ขณะที่ในต่างจังหวัด ที่คนชอบเรียกกันว่าบ้านใหญ่ ที่ก็อาจมีบริบทของพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย และพรรคอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในกรุงเทพ คู่แข่งทางการเมือง แต่เราไม่ได้ทะเลาะกัน ก็ต้องมาแย่งคะแนนในก้อนเดียวกัน
การเลือกตั้งครั้งนี้ในพื้นที่กทม.ที่มีส.ส.เขต ได้ 33 คน และยังมีบัตรลงคะแนนระบบบัญชีรายชื่อ ต้องบอกว่าพลังประชารัฐมีการคัดสรรผู้สมัครส.ส.ระบบเขต กทม.ที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะหน้าใหม่ หน้าเก่า เราเข้าใจถึงบริบทว่าแต่ละพื้นที่ของกทม.มีความต้องการอย่างไร เราได้ก้าวข้ามความขัดแย้งไปแล้ว หลังจากนี้การหาเสียงเราจะบอกว่าเราได้ทำอะไรไปบ้างแล้วเช่นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องให้กับคนกลุ่มต่างๆ อย่างไร เราจะแก้ปัญหาสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีอยู่ขณะนี้อย่างไร รวมถึงการพัฒนากฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาายอย่างไร
ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะตอบโจทย์คนกทม.ได้ ซึ่งหากหลังเลือกตั้ง พลังประชารัฐมีจำนวนส.ส.ที่เข้าไปหลังเลือกตั้งทั้งส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อที่มากเพียงพอ วันที่เราเข้าไปทำงานในสภา เราสามารถผลักดันทุกนโยบายที่เราบอกไว้ให้เกิดขึ้นได้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง
ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า