ระยอง : มหานครที่กำลังรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงจากโลกเก่าสู่โลกใบใหม่-ที่ขยับขับเคลื่อนวิถีชีวิตสู่โลกดิจิตอลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ด้วยฐานความรู้-ความเข้าใจ-เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ หากไม่ต้องการมีชีวิตเพียงเป็นลูกค้า ผู้ซื้อและใช้เทคโนโลยีที่ออกมาใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา!

ชีวิตบนแพลตฟอร์มดิจิตอลที่ขยายตัวครอบคลุมวิถีชีวิตยุคใหม่ทุกขณะ จำต้องปรับเปลี่ยนความคิด มีการมองโลกมุมใหม่ เข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าที่เกิดจากนวัตกรรมใหม่ เพื่อนำใช้มันอย่างชาญฉลาดในทุกมิติของงานและชีวิต ด้วยว่าคลื่นนวัตกรรม-ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนั้นได้ส่งผลต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต อย่างไม่อาจปฏิเสธได้!

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เคลื่อนไหวในโลกดิจิตอล ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบขาดวิ่นเป็นท่อนๆ ชิ้นๆ ท่อนๆ อย่างหยาบๆ แต่เป็นกระบวนระบบที่เชื่อมกันตั้งแต่การประมวล-เก็บสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่เป็นพื้นฐานการขับเคลื่อนศักยภาพหลากมิติของเทคโนโลยี ที่การเชื่อมประสานข้อมูลถึงกันด้วยโครงข่ายปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จัดการประสานกันด้วยอัลกอริทึมที่ออกแบบสื่อสารสู่การใช้งาน-สร้างผลผลิตและบริการในโลกดิจิตอล รวมทั้งสามารถสร้างผลิตผลตามความต้องการเฉพาะตัว IoT และผลิตสร้างหุ่นยนต์-ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงโลกวันนี้อยู่ทุกขณะ!

การดำรงชีวิตในรอยต่อของโลกเก่ากับโลกใบใหม่ ในความเคลื่อนไหวที่ชีวิต สังคม และเศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วนั้น จำเป็นยิ่งที่ต้องปรับฐานความรู้-ความคิด-ความเข้าใจ เพื่อเข้ามีส่วนร่วมสร้างความก้าวหน้าใหม่-ดึงศักยภาพของเทคโนโลยีเข้าพัฒนาให้ผู้คน-สังคมโดยรวมมีชีวิตที่ดีกว่า ดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดี-ลดการบริโภคเผาผลาญทรัพยากรลง ปรับสร้างความเสมอภาคเป็นธรรมและโอกาสให้เกิดขึ้นตามนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งหนุนการลงทุนใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เพื่อปรับฐานให้สังคมเศรษฐกิจไทยก้าวทันโลก ไม่ถูกทิ้ง!

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้จัดปรับโครงสร้างการสื่อสารคมนาคมและโลจิสติกส์ใหม่ขึ้นอย่างเป็นระบบ พัฒนารถไฟความเร็วสูง เร่งสร้างมหานครการบิน สร้างท่าเรือรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจพาณิชยนาวี ปรับปรุงถนนหนทาง พัฒนาระบบการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรใหม่ ฯลฯ จนปัจจุบันอีอีซีดึงการลงทุนจากต่างประเทศมาได้สูงถึง 1.9 ล้านล้าน!

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จำเป็นที่จะต้องปรับพื้นฐานของเมือง-ท้องถิ่น โดยเฉพาะในระยองและชลบุรี ที่เป็นเขตอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีการลงทุนหนาแน่น! ต้องยกระดับปรับฐานเมือง-ท้องถิ่นออกจากระบบบริหารราชการแบบเก่าๆ ที่วันนี้มันกลายเป็นอุปสรรคในการเติบโตก้าวหน้าของการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างมีนัยสำคัญไปแล้ว!

หากพื้นฐานการบริหารจัดการขององค์กรในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าครั้งใหญ่ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด-วิธีปฏิบัติ ไม่จัดปรับตัวจากระบบราชการเดิมๆ เชื่อมประสานการบริหารจัดการท้องถิ่นและเมืองเข้ากับฐานความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่กำลังไหลบ่าสู่ระบบการผลิต การบริการ การลงทุน และการจัดการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรในคลื่นอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีเป้าหมายในการยกระดับประเทศให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง มุ่งสะสมเรียนรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคใหม่ เพื่อจัดวางตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม เศรษฐกิจ ให้เป็นผู้นำของภูมิภาคอาเซียนอย่างชัดเจนโดดเด่น การปรับตัวเปลี่ยนแปลงจะไปไม่ถึงไหน-จะถูกระบบบริหารจัดการแบบเดิมๆ เป็นปัญหากีดขวางอย่างไม่อาจปฏิเสธได้!

กรณีความห่วงใยนี้ได้มีการหารือกับนายก อบจ.ระยอง และ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พบว่าวันนี้กำลังทุ่มเทปรับตัวอย่างมาก เพื่อใช้โอกาสของการเป็นที่ตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปรับนครระยองสู่การเป็นเมืองสีเขียวและบริหารจัดการแบบดิจิทัลซิตี้ มีการจัดทำโซนนิ่งเขตท่องเที่ยว-สร้างเมืองสีเขียว-จัดปรับการคมนาคมด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งเกาะเสม็ด จัดการท่องเที่ยวเมืองผลไม้ที่เขตตะพง สนับสนุนเขตนวัตกรรมบ้านฉางที่กำลังก่อร่างสร้างเมืองอัจฉริยะ ใช้การสื่อสารแบบ 5G บริหารจัดการสร้างความเปลี่ยนแปลง-ความปลอดภัยในท้องถิ่นบ้านฉาง และเร่งยกระดับจัดปรับการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่นด้วยระบบฐานข้อมูลดิจิตอล แทนความสามารถของคนเล็กคนน้อยที่ทำงานในเทศบาลต่างๆ ผ่านความร่วมมือกับ Data Center ที่เขตนวัตกรรมบ้านฉาง-ซิลิคอน เทคปาร์ค ตามแบบที่ประเทศที่มีความก้าวหน้าในโลกใช้กันอยู่ ฯลฯ มุ่งยกระดับปรับฐานพัฒนานครระยองสู่การเป็นกรีนแอนด์ดิจิตอลซิตี้

การจัดการความเปลี่ยนแปลงนี้ต้องทุ่มเทมาก ตั้งแต่เปลี่ยนความคิด-ความเข้าใจของกลุ่มคนหลักๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มุ่งปรับระบบการบริหารจัดการแบบเดิมที่เน้นความสามารถเฉพาะของบุคคลสู่การใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีกว่า-มีประสิทธิภาพกว่าขึ้นในท้องถิ่น ไม่ว่าเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจัดการจราจรที่ใช้ AI แทนการให้ตำรวจยืนเป่าจราจรอยู่กลางถนน การประมวลข้อมูลแจ้งเตือนภัยพิบัติ-อุบัติภัยทั้งทางบก-น้ำ-อากาศ การจัดทำทะเบียนราษฎรดิจิตอล การให้บริการในท้องถิ่นที่ช่วยให้ผู้คนไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับระบบราชการ รวมถึงการทำแผนรับความก้าวหน้าใหม่ทั้งระยะสั้น-กลาง-และยาว ในแต่ละเขต-แต่ละเมืองให้เป็นทิศทางเดียวกัน-เรียนรู้ปรับตัวไปพร้อมๆ กัน รับมือความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในเขตพัฒนาพิเศษที่เคลื่อนไปข้างหน้าไม่หยุด ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภารกิจที่ต้องอาศัยพลัง-ความร่วมมือ-เครือข่ายที่กว้างขวาง-ฐานความรู้ที่ดีเพียงพอ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ทั้งภาคเอกชนและราชการจับมือปรับตัวก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างทุ่มเททีเดียว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย