เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในกระแสสังคมที่เข้มข้นไปด้วยอำนาจวัตถุนิยม จนสัตว์โลกในยุคสมัย ตกอยู่ภายใต้วัตถุเป็นใหญ่เหนือชีวิต.. มีอิทธิพลบงการให้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย จะสุข.. จะทุกข์ก็ได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่งว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้...
พระพุทธศาสนา.. ให้นิยามชีวิตว่า.. เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของธรรมชาติ ๕ ประการ ที่ผู้ศึกษาธรรมใช้คำว่า ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่รวมเรียกว่า รูป-นาม.. หรือกาย จิต โดยแสดงลักษณะที่ว่า.. ความทุกข์เกิดขึ้น เพราะการเข้าไปยึดถือรูปนามหรือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน.. ซึ่งหากรู้ ละ วาง การยึดถือยึดมั่นในรูปนามหรือขันธ์ ๕ ได้ ก็ย่อมเข้าถึงภาวะหลุดพ้นจากขันธ์ ที่เรียกว่า ขันธวิมุตติ ได้ ที่เรียกธรรมชาติดังกล่าวว่า การดับสิ้นซึ่งกิเลสและกองทุกข์อันเกิดจากการรู้และปล่อยวาง.. ตัดอาลัย ไม่ผูกพันในขันธ์ ๕ อีกต่อไป ดังที่นิยมเรียกลักษณะธรรมดังกล่าวว่า.. พระนิพพาน
พระนิพพาน จึงเป็นธรรมชาติที่พ้นจากขันธ์ ๕ เรียกว่า ขันธวิมุตติ ซึ่งจะมีเฉพาะคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเท่านั้น.. กล่าวถึงขันธวิมุตติและ วิธีการปฏิบัติให้ถึงขันธวิมุตติ!
จริงๆ แล้ว โดยหลักธรรม.. ที่แสดงความเป็นธรรมดาของความทุกข์.. และความดับทุกข์ จะมีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น.. ลัทธิศาสนาลัทธิอื่นๆ ส่วนใหญ่จะพูดเรื่อง ความทุกข์และความสุข..
โดยมีการสรรเสริญเยินยอ เจ้าความสุข.. จนสัตว์โลกมุ่งขวนขวาย ไขว่คว้า แสวงหา แต่ความสุขกัน.. ดังที่เกิด ลัทธิสุขนิยม (โลกนิยม) ขึ้น.. โดยอ้างว่าเป็นหนทางเป็นไปเพื่อความดับทุกข์แท้จริง ด้วยการเสพสุขให้เกินขนาด.. จนเอือมระอาเบื่อหน่ายในความสุขนั้นๆ ไปเอง..
จึงดูเหมือนจะเป็นคำสอนขั้นพื้นฐานในลัทธิต่างๆ.. ที่นำไปสู่ศาสนาสุขนิยมไปโดยปริยาย..
ไม่ว่าทำทาน รักษาศีล.. จึงต้องมีคำว่าเป็นไปเพื่อความสุข.. เพื่อสมบัติบุญทั้งปวง
สัตว์โลก.. จึงมุ่งแสวงหาความสุขเป็นที่ตั้งของชีวิต.. ด้วยสัตว์ทั้งหลายไม่มีใครต้องการความทุกข์ นั้นนับเป็นเรื่องปกติ..
แต่ประเด็นของปัญหา.. แท้จริงเกิดขึ้น เพราะการพาเหรดกันเข้าไปแสวงหาความสุข อย่างไร้ความรู้ความเข้าใจในความจริงของธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้พิจารณาเลยว่า.. แท้จริงของความสุขเป็นอย่างไร เพื่อจะทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งความสุข.. และความสุขที่ต้องการเพื่ออะไรกันแน่!!
ความอีนุงตุงนัง.. โกลาหล จึงเกิดขึ้นในหมู่สัตว์โลกทุกสมัย.. เพราะการเข้าใจคุณค่าความสุขไปตามสภาวะความแตกต่างของธาตุนั้นๆ ที่ตนเองชื่นชอบ.. ที่มีอยู่หลากหลายในโลกนี้
ใครเห็นว่ารูป คือ ความสุข.. ก็แสวงหารูป
ใครเห็นว่าเสียง คือ ความสุข.. ก็แสวงหาเสียง
แม้กลิ่น รส สัมผัส หากใครเห็นว่าเป็นที่มาพบความสุข.. ก็จะนิยมแสวงหาสิ่งนั้นๆ..
คุณค่าความสุข.. รสนิยมที่จะเสพในความสุข จึงแตกต่างกันไปตาม ตัณหา ทิฏฐิ ในจิตของสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะ มนุษยชาติ
พระพุทธศาสนาจึงวางหลักคำสอนที่เป็น สัจธรรม ชี้สวนกระแสชาวโลก.. ที่กำลังตาลีตาเหลือก เร่งขวนขวายหาความสุขว่า.. “แท้จริง สิ่งที่ควรรู้.. เมื่อรู้แล้วมีประโยชน์ ไม่เป็นโทษ คือ การรู้จักความทุกข์ต่างหาก..” โดยนิยามว่า สัตว์โลก คือ สัตว์ทุกข์.. โลก คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้น.. ความทุกข์ที่ดับไป.. นอกจากความทุกข์แล้วนั้น.. ไม่มีอะไรเลย!
การมองดูโลก.. สู่ความจริง.. คือ ความทุกข์ จึงเป็นหลักธรรมที่มนุษยชาติ.. ยากยอมรับ.. ด้วยการให้ค่าความหมายและความเข้าใจที่ต่างกัน ดังที่สัตว์โลกให้นิยามกันเองว่า ในโลกมีความสุขให้แสวงหา.. ที่เรียกว่า โลกธรรม ที่แท้จริงมีทั้งสุขและทุกข์เพื่อความสมดุลของโลก ที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมาภายใต้กฎธรรมชาติ...
การมองดูโลกเพียงด้านเดียว.. จึงเป็นวิสัยทัศน์ของชาวโลก.. ที่เป็นปกติอย่างนี้มานาน
ในวิถีของสัตว์โลก.. จึงก่อเกิดทิฏฐิที่สุดโต่งต่างขั้ว-แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ.. หรือฝ่ายสุข.. และฝ่ายทุกข์
ในขณะที่พุทธศาสนาชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่า โลกไม่ได้มีสุข.. ไม่ได้ไร้ทุกข์ แต่เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งที่กำลังดำเนินไปตามเหตุปัจจัยนั้นเอง อันหาความเป็นตัวตนแท้จริงมิได้เลย
ทุกอย่างของคำว่า สุข.. และทุกข์ในโลก.. จึงเป็นค่าสมมติ ตอบสนองความชอบใจ.. ความไม่ชอบใจของสัตว์โลกเท่านั้นเอง..
พุทธศาสนา จึงบัญญัติความหมายของคำว่า “ทุกข์.. คือ อาการที่ยากจะทนทาน..” จะต้องถูกบีบเค้นบีบคั้น หากไปสวนกระแส.. สภาวธรรมที่ไม่เที่ยงแท้.. แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า อนิจจัง.. ตตาต้กฎธรรมชาติ...ลกาติ
การอยู่กับโลก.. อย่างไม่เข้าใจโลก
การอยู่กับธรรม.. อย่างไม่รู้ธรรม
การมีชีวิต.. อย่างไม่รู้จักการบริหารชีวิต.. จึงทำให้สัตว์โลกสูญเสียโอกาสที่จะรู้ซึ้งถึงนิยามของโลกแท้จริง.. จึงยากที่จะเข้าใจคำว่า “ทุกข์”
“ทุกข์” ในทัศนะของสัตว์โลก จึงถูกแปลไปหลายๆ ความหมาย และมักจะสรุปรวมลงที่ ทุกข์เวทนา
จึงไม่รู้จัก ทุกข์ไตรลักษณ์.. และยากที่จะเข้าใจใน “ทุกข์อริยสัจ ๔”
จึงไม่แปลกที่เรา.. มองทุกข์เป็นตัวตน จึงก่อเกิดค่าวิปลาสทางจิต.. ให้มีทิฏฐิที่เกลียดกลัวความทุกข์.. กันไปอย่างไม่มีประโยชน์ทางธรรมใดๆ เลย
ความไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรม.. ความรู้เห็นผิดไปจากธรรม.. จึงเป็นสภาวะทางจิตใจของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นปกติต่อการไม่รู้แจ้งในธรรมชาติของชีวิต ด้วยอำนาจกิเลสในรูป โมหจิต ที่ปิดบังความจริงที่เรียกว่า สัจธรรม ก่อให้เกิด..
ความหลงผิด.. ความคิดผิด.. และการทำผิด เพราะไม่รู้ว่า.. ทุกข์คืออะไร อะไรคือทุกข์ และอะไรคือตัวทุกข์.. จึงเป็นนิยามของสัตว์โลกทุกสมัย ที่ดำเนินชีวิตไปภายใต้อำนาจกิเลสประกอบอยู่ในกระแสจิตทุกขณะ.. ทำให้มืดมน เศร้าหมอง เร่าร้อน จึงยากจะรู้สาเหตุของความทุกข์.. ไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และยากยิ่งที่จะรู้จักธรรมอันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์อย่างถาวร.. ที่เรียกว่า พระนิพพาน
จึงไม่แปลกที่คนเราจะมุ่งอาศัยวัตถุสิ่งของ.. บุคคล.. ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เป็นที่พึ่งพิง จนลืมพัฒนาจิตใจให้มีปัญญา.. ทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดๆ เพี้ยนๆ ไปจากความจริง ปลอบประโลมใจไปวันๆ.. จนกว่าจะตายจากโลกนี้ไป.. เพราะความไม่เข้าใจในเรื่อง ความทุกข์ว่า.. คืออะไร.!?...
เจริญพร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .
ไม่เลิก MOU 44 ได้สอง-เสียสาม !
คำถามของท่านนายกรัฐมนตรึเมื่อวันก่อนที่ว่าถ้าเราเลิก MOU 2544 แล้วจะ “ได้” อะไร ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเราจะ “ไม่ได้” อะไรเลยละกระมัง จึงสรุปว่าจะไม่เลิกและจะเดินหน้าต่อ
พฤศจิกายน ศาลรธน. รับคำร้องคดี ทักษิณ-พท. ล้มล้างการปกครองฯ
ความคืบหน้าคำร้องคดีสำคัญทางการเมือง กรณีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยสั่งการให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
ความโง่ .. ศัตรูตัวทำลายให้สิ้นศาสนา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ๔-๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนาระดับนานาชาติ ที่นครเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งจัดโดย International Buddhist Confederation / IBC ร่วมกับ
พล.ร.อ.พัลลภ อดีตเสธ.ทร. ผ่ากับดัก MOU 44 บันไดสามขั้น เสี่ยงทำไทย สูญเสียดินแดน
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง