เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือบรรยากาศการเดินทางและใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ที่จะเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 พ.ย.นี้ หลังจากเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรีเป็นเวลา 3 เดือน ไม่รอช้า ‘อาทิตย์เอกเขนก’ จะพาท่านผู้อ่านไปเปิดวาร์ป “เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า” หรือ “คนขับรถไฟฟ้า” สายสีแดงที่เป็นฝาแฝดโปรไฟล์ดี ที่จะมาเล่าถึงประสบการณ์การทำงาน
มารู้จักกับ 2 หนุ่มพี่น้องฝาแฝดโปรไฟล์ดีสุดพรีเมียม “โจ กฤษฏิ์-โจ้ กฤษฎา ลี้เทียน” บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 และ 2 วัย 23 ปี จากคณะศิลปศาสตร์ เอกรัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน เป็น “เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า” หรือ “คนขับรถไฟฟ้า” โจแฝดผู้พี่เล่าให้ฟังว่าคุ้นเคยกับรถไฟ เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ รวมทั้งได้ใช้บริการรถไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็กๆ จึงทำให้เกิดความคุ้นชิน และความรู้สึกอยากขับรถไฟ และตอนที่ใกล้จะจบการศึกษาเห็นมีการเปิดรับสมัครพอดีจึงรีบสมัครทันที
แน่นอนว่าโจ-โจ้ได้เข้าสอบแข่งขันเพื่อเดินตามความฝันในสนามสอบที่มีผู้สมัครกว่า 3,000 คน ซึ่งในตำแหน่งดังกล่าวรับเพียง 6 คนเท่านั้น ถือเป็นรุ่นที่ 3 จากที่ได้เปิดรับสมัคร ทั้งสองคนสามารถสอบผ่านไปได้ โจ้ แฝดผู้น้อง เล่าถึงที่มาที่ไปในการก้าวมาสู่การเป็นคนขับรถไฟฟ้า ตอนที่ได้รับคัดเลือกไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่มหา'ลัยมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้มีโอกาสใช้บริการระบบรถไฟฟ้าของที่นั่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดความรู้สึกอยากลองเป็นคนขับรถไฟฟ้าขึ้นมาทันที
โจ-โจ้เล่าถึงประสบการณ์การเข้าปฏิบัติหน้าที่ในวันแรก รู้สึกตื่นเต้นมากๆ ขณะเดียวกันก็รู้สึกดีใจด้วย โจ้เล่าต่อว่า กว่าจะมาอยู่ในจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถือเป็นการผ่านการสอบที่แข่งขันกันค่อนข้างสูง ก่อนจะเข้าสอบ โจ-โจ้ต้องอ่านหนังสือที่เน้นเกี่ยวกับข้อมูลเจาะลึกลงไปของรถไฟฟ้าสีแดงอย่างหนัก โจ้ก็ฝากถึงน้องๆ รุ่นใหม่ต้องสู้ๆ อย่ายอมแพ้ ถ้าแพ้ตั้งแต่ตอนนี้ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในอนาคต
โจ้ แฝดผู้น้องเล่าต่อว่า ที่ผ่านมาทางบ้านให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อยากให้ทำตามสิ่งที่ต้องการ และตัวเองก็อยากมีประสบการณ์หลังจากเพิ่งเรียนจบ แม้ว่าในช่วงนั้นจะเจอกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนักก็ไม่ได้ย่อท้อ โจและโจ้บอกว่าอยากหาประสบการณ์เพิ่มพูนให้กับตัวเองด้วย มองว่าระบบรางในบ้านเราน่าจะพัฒนาไปได้อีกไกล ปัจจุบันก็ขับรถไฟฟ้าสายสีแดงเส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต หากผู้โดยสารได้เจอหน้าค่าตาทั้งคู่ก็สามารถทักทายได้นะครับ
โจ แฝดผู้พี่กล่าวว่า อยากฝากถึงคนที่กำลังสนใจในอาชีพนี้หรือสนใจทำงานในระบบรถไฟฟ้าว่า ถ้าบริษัทเปิดรับสมัครเข้าทำงาน มีโอกาสให้รีบคว้าโอกาสนั้นไว้ โจกับโจ้ก็ไม่ได้มีพื้นฐานในการขับรถไฟฟ้ามาก่อน แต่ก็สามารถผ่านการทดสอบมาได้ และยังมีพื้นที่อีกมากที่ให้ทุกคนได้แสดงทักษะและความสามารถ หากสนใจทำงานในแวดวงระบบรถไฟฟ้ารีบคว้าโอกาสไว้ครับ
สุดท้ายแล้วแฝดสุดเก่ง โจ-โจ้ ได้ฝากทิ้งท้ายว่า อยากส่งเสริมเรื่องการใช้บริการระบบขนส่งทางราง ขณะนี้มีการพัฒนามากขึ้น และมองว่ายังสามารถพัฒนาไปได้อีกไกลมากๆ จึงอยากเชิญชวนให้คนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้ากันให้มากขึ้น ปัจจุบันมองว่ารถไฟฟ้ามีโครงข่ายเชื่อมต่อสามารถเข้าถึงกับทุกคน ทุกอาชีพ ทุกวัย และค่อนข้างสะดวกสบาย ตรงต่อเวลา และถึงที่หมายได้ทันเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าวันนี้ราคาน้ำมันแพงขึ้น รวมถึงปัญหาการจราจรติดขัด รถไฟฟ้ายังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญในการใช้บริการ จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านหันมาใช้บริการรถไฟฟ้ากันมากๆ นะครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform