สังคมที่กำลังปรับตัว....เปลี่ยนผ่าน!!!

ภาพรวมความเคลื่อนไหวของสังคมไทยที่กำลังเคลื่อนผ่านการเวลาในความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่นั้นน่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะสังคมที่เคลื่อนอยู่ในกระแสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารเชื่อมต่อถึงกันที่เปิดกว้าง การสื่อสารของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีกันทุกคนได้สร้างผลกระทบขึ้นในสังคมหลายมิติทางด้านบวกและด้านลบ

มีข่าวสารประเด็นร้อนปรากฏผ่านสื่อทุกวัน เชื่อมจากบุคคลสู่สาธารณะ-เชื่อมต่อจากสื่อสาธารณะไปถึงบุคคล ไหลเวียนไปมา จนได้เห็นการปรับตัวเปลี่ยนแปลงของสังคมจากการสื่อสารยุคใหม่ ที่มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ต่างไปจากในอดีต

สังคมได้รับรู้หลายเรื่องราวจากสื่อบุคคล ออกมาเขย่ากระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำ-ถึงกลางน้ำ-ปลายน้ำกันแทบทุกวัน รวมทั้งอาชญากรรมที่เคยฝังลึก-บิดเบือน-เชื่อมต่อกับความบิดเบี้ยวพิกลพิการ/คอร์รัปชัน/รีดไถ ต่างถูกเปิดผ่านสื่อบุคคลบ่อยขึ้น-มากขึ้นตลอดเวลาอย่างมีนัยสำคัญ ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากพลังของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ ขณะที่กลุ่มอาชญากรรมทั้งในเครื่องแบบและที่ไม่มีเครื่องแบบ ยังเคยชินเคลื่อนไหวอยู่ในโหมดเดิมๆ แม้จะมีบางกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีก่อปัญหาสร้างความมั่งคั่งร่ำรวย-ที่ต้องไล่จับกันเหนื่อยผุดขึ้นมากทุกขณะก็ตาม!

ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสังคมวันนี้ มีทั้งผลลัพธ์เชิงบวกและเชิงลบ ที่แน่ๆ คือ ผู้คนในสังคมที่อยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงต้องรู้จักที่จะ “เรียนรู้ตลอดชีวิต” ถ้าไม่อยากถูกเบียดขับออกจากสังคมที่อยู่ในกระแสความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าตลอดเวลาอย่างทุกวันนี้!

ด้านบวกของความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของเทคโนโลยีคือ กระบวนการปรับตัวทางสังคมที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ สร้างความเป็นกลาง-ลดอคติจากความสัมพันธ์ของผู้คนและมโนทัศน์แบบชนชั้นลง ปรับไปสู่ความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคมมากขึ้น-เกือบทุกมิติ อีกทั้งการทำผิด-การก่ออาชญากรรมจะถูกเผยให้เห็นมากขึ้น-ง่ายขึ้น นี่คือทิศทางที่สังคมจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงไป!

มาดูด้านบวกและการพัฒนาปรับสร้างโอกาสในการพัฒนาคนกันบ้าง เมื่อวานนี้ได้พบกับ ดร.ธนพล หรือดอกเตอร์คริส คนไทยที่เป็น CEO ของ บ.ไทย แอโรว์สเปซ บริษัทมหาชนที่มีหุ้นส่วนสำคัญอยู่ที่อเมริกา-บริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาด้านอากาศยานที่เรียกว่าเกือบครบวงจร ความก้าวหน้าของ บ.ไทย แอโรว์สเปซ คือการถือสิทธิ์การผลิตบุคลากรป้อนอุตสาหกรรมอากาศยานตามมาตรฐาน ITA EASA และ ICAO ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับผู้คนที่จะทำงานด้านอากาศยาน โดยเฉพาะกลุ่มการบินการคมนาคม ขนส่ง-โลจิสติกส์ทางอากาศทั้งหลายล้วนต้องผ่านมาตรฐานเหล่านี้! ดร.คริสบอกว่า ที่จริงศักยภาพคนไทยด้านอากาศยานในทุกกลุ่มงาน โดยเฉพาะกลุ่ม Cabin Crew หรือพนักงานส่วนต่างๆ ในระบบการเดินอากาศนั้น คนไทยทำงานนี้ได้ดีที่สุด-เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก แต่น่าเสียดายที่เราไม่มีศูนย์ฝึกที่ได้มาตรฐานสากล ที่ผ่านมาจึงต้องเสียเงินส่งไปฝึกที่มาเลเซีย สิงคโปร์!

ดร.คริส ในฐานะคนไทยที่มีประสบการณ์สูงด้านนี้ ไม่ต้องการเปลี่ยนฐานไปอยู่ที่เวียดนามตามที่ผู้ถือหุ้นจากต่างประเทศกดดัน! จึงประสานมาที่สำนักพัฒนาบุคลากรและการศึกษา สกพอ. ซึ่งทางสำนักฯ ก็ติดต่อประสานเชื่อมให้ร่วมงานกับคณะบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อสร้างการพัฒนาคนในอุตสาหกรรมการบินตามมาตรฐานสากลร่วมกัน โดยวางกรอบงาน-ปรับพื้นที่พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านอากาศยานตามมาตรฐาน EASA ITA และ ICAO ขึ้นที่ ม.บูรพา

บ.ไทย แอโรว์สเปซ เป็นฝ่ายจัดอุปกรณ์สนับสนุนการฝึกอบรมทั้งหมด-มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่าร้อยล้านในเบื้องต้น พร้อมจัดผู้เชี่ยวชาญเข้าฝึกอบรมบุคลากร-คณาจารย์ของคณะบริหาร ม.บูรพา ตามเนื้อหางาน-หลักสูตรการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับบุคลากรกลุ่มนี้เป็นฐานการจัดฝึกอบรมระดับสากลที่ไทยยังขาดอยู่ เบื้องต้นจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ และ Emirates เข้ามาฝึกบุคคลและงานตามมาตรฐานการบินสากล

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยบูรพากับ บ.ไทย แอโรว์สเปซ ครั้งนี้ตั้งเป้าจะสร้างความก้าวหน้าใหม่ให้มีศูนย์ฝึกที่มีมาตรฐานระดับโลก วางตำแหน่งแห่งที่จากความพร้อมของศูนย์ให้เป็นศูนย์มาตรฐานผลิตบุคลากรด้านอากาศยานที่อยู่ในระดับ 1 ใน 5 ของเอเชียภายใน 3 ปี! เบื้องต้นจะผลิตบุคลากรตามมาตรฐานสากลปีละราว 2,000 คน ให้ครอบคลุมความเติบโตของอุตสาหกรรมอากาศยานที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน เปิดฝึกอบรมให้กลุ่มบุคลากรจากสายการบินทั่วโลก ที่ต้องการยกระดับความรู้ทักษะ ปรับทักษะใหม่ และเริ่มงานใหม่ ทั้ง 3 กลุ่ม

โดยจะพัฒนาให้ศูนย์นี้ที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นศูนย์สอบมาตรฐานของ EASA และ ICAO ให้กับบุคลากรที่จะเข้าทำงานด้านอากาศยานประจำสายการบินต่างๆ ทั้งกลุ่มสายการบินโดยสารและสายการบินขนส่ง-โลจิสติกส์ทางอากาศ เพื่อมุ่งยกระดับอุตสาหกรรมอากาศยาน ไม่ปล่อยให้เงินไหลออก และมุ่งยกระดับคุณภาพมาตรฐานด้านอากาศยานให้ประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้น โดยจะขยายการพัฒนาบุคลากรให้ครบทุกด้านไปจนถึงการสร้างนักบินในอีก 2 ปีข้างหน้า

อุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงหลายแสนล้านบาทต่อปี หากปรับสร้างความพร้อม-ยกระดับสู่มาตรฐานสากลได้ ก็จะปรับฐานเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ นี่เป็นอีกความก้าวหน้าในการสร้างอนาคต ที่ขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนประสบการณ์สูงในอุตสาหกรรมอากาศยานตัวจริง เสียงจริง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .